คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด โดยรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ผ่านกระบวนการทางศาลอื่นที่มิใช่ศาลล้มละลายในกรณีดังต่อไปนี้
1.1 กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้อื่น
1.2 กรณีสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่รับโอนมาตาม 1.1 ให้แก่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน
1.3 การจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหรือระหว่างลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นกับเจ้าหนี้อื่นไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเดิมหรือเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดใหม่
1.4 กรณีลูกหนี้โอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดนั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
2. ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ดังต่อไปนี้
2.1 การจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
2.2 การจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเดิมหรือเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดใหม่
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัด ให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านกระบวนการทางศาลอื่นที่มิใช่ศาลล้มละลาย ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเช่นเดียวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มิได้ผ่านกระบวนการทางศาล และเพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัด ให้การจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดของลูกหนี้ให้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและให้กับเจ้าหนี้อื่น ตามที่ศาลล้มละลายได้มีคำสั่งให้ประนอมหนี้หรือฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เช่นเดียวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ในการปลดหนี้หรือประนอมหนี้ ตามที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย รวมทั้งเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กล่าวคือ ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดสำหรับกรณีลูกหนี้โอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนนั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
การดำเนินการดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจะยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ทั้ง 3 ฉบับ และออกประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 4 ฉบับ คือ
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้กฎหมายที่ดิน)
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายอาคารชุด)
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายที่ดิน)
4. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายอาคารชุด)
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 3 ฉบับ ที่ให้ยกเลิกดังกล่าว
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นดังนี้ โดยปกติการปรับโครงสร้างหนี้และการที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้อื่น มักจะมีกำหนดระยะเวลาระหว่าง 3 - 5 ปี แต่ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 4 ฉบับ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 อาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนอสังหาริมทรัพย์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้เมื่อพ้นระยะเวลาสิ้นสุดการบังคับใช้ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงควรพิจารณากำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับปัญหาจากกรณีดังกล่าวด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด โดยรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ผ่านกระบวนการทางศาลอื่นที่มิใช่ศาลล้มละลายในกรณีดังต่อไปนี้
1.1 กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้อื่น
1.2 กรณีสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดที่รับโอนมาตาม 1.1 ให้แก่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน
1.3 การจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้ของสถาบันการเงินกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินหรือระหว่างลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นกับเจ้าหนี้อื่นไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเดิมหรือเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดใหม่
1.4 กรณีลูกหนี้โอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดนั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
2. ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุด เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ดังต่อไปนี้
2.1 การจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
2.2 การจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเดิมหรือเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดใหม่
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัด ให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านกระบวนการทางศาลอื่นที่มิใช่ศาลล้มละลาย ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเช่นเดียวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มิได้ผ่านกระบวนการทางศาล และเพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัด ให้การจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดของลูกหนี้ให้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและให้กับเจ้าหนี้อื่น ตามที่ศาลล้มละลายได้มีคำสั่งให้ประนอมหนี้หรือฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เช่นเดียวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ในการปลดหนี้หรือประนอมหนี้ ตามที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย รวมทั้งเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กล่าวคือ ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดสำหรับกรณีลูกหนี้โอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เพื่อนำเงินที่ได้จากการโอนนั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
การดำเนินการดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจะยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ทั้ง 3 ฉบับ และออกประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 4 ฉบับ คือ
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้กฎหมายที่ดิน)
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายอาคารชุด)
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายที่ดิน)
4. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ออกตามกฎหมายอาคารชุด)
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 เช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 3 ฉบับ ที่ให้ยกเลิกดังกล่าว
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นดังนี้ โดยปกติการปรับโครงสร้างหนี้และการที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน หรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้อื่น มักจะมีกำหนดระยะเวลาระหว่าง 3 - 5 ปี แต่ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 4 ฉบับ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2544 อาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีที่มีการโอนอสังหาริมทรัพย์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้เมื่อพ้นระยะเวลาสิ้นสุดการบังคับใช้ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงควรพิจารณากำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อรองรับปัญหาจากกรณีดังกล่าวด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-