ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปพิจารณาแก้ไขร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ให้สอดคล้องกับร่างระเบียบในเรื่องนี้ต่อไป
ร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. …. เป็นการดำเนินการเพื่อรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 โดยในการยกร่างระเบียบฯ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งร่างระเบียบดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดชั้นความลับเป็นสามชั้น คือ ชั้นลับที่สุด ลับมาก และลับ
2. คงบทบาทขององค์การรักษาความปลอดภัย (สำนักข่าวกรองแห่งชาติสำหรับกรณีของพลเรือน และศูนย์รักษาความปลอดภัยสำหรับกรณีของทหาร) ในการให้คำแนะนำทางเทคนิคการรักษาความลับแก่หน่วยงานต่าง ๆ
3. เน้นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในการวางมาตรการรักษาความลับและในกรณีจำเป็นอาจกำหนดมาตรการที่แตกต่างไปจากระเบียบนี้ได้ ถ้ามาตรการนั้นมีประสิทธิภาพเช่นกัน
4. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอิสระในการกำหนดชั้นความลับ และสามารถที่จะมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือราชการส่วนภูมิภาคได้ตามความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการเรื่องความรับผิดชอบของหน่วยงาน
5. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดชั้นความลับเป็นการชั่วคราวได้ และผู้บังคับบัญชาสามารถที่จะปรับชั้นความลับได้ตามความเหมาะสมในภายหลัง
6. กำหนดระบบการทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐอย่างน้อยต้องจัดให้มีทะเบียนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับโดยแยกเป็นสามทะเบียน
7. หน่วยงานของรัฐต้องจำแนกข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจนว่าข้อมูลข่าวสารใดเปิดเผยได้หรือเปิดเผยไม่ได้เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของเรื่องพิจารณากำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารที่ได้จัดทำเกินกว่ายี่สิบปีและกำหนดชั้นความลับใหม่เป็นรายชิ้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบถึงการกำหนดให้เป็นข้อมูลข่าวสารลับต่อไป โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน หากพ้นกำหนดหกเดือนไปแล้วให้ถือว่ามีการยกเลิกชั้นความลับแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มิได้มีการกำหนดให้เป็นข้อมูลข่าวสารลับได้
9. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารที่จัดทำขึ้นภายในยี่สิบปีให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน เมื่อครบหกเดือนแล้ว ถ้ายังไม่มีการกำหนดชั้นความลับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือน หน่วยงานของรัฐอาจขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นรายกรณีไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับไปพิจารณาแก้ไขร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2517 ให้สอดคล้องกับร่างระเบียบในเรื่องนี้ต่อไป
ร่างระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. …. เป็นการดำเนินการเพื่อรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 โดยในการยกร่างระเบียบฯ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งร่างระเบียบดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดชั้นความลับเป็นสามชั้น คือ ชั้นลับที่สุด ลับมาก และลับ
2. คงบทบาทขององค์การรักษาความปลอดภัย (สำนักข่าวกรองแห่งชาติสำหรับกรณีของพลเรือน และศูนย์รักษาความปลอดภัยสำหรับกรณีของทหาร) ในการให้คำแนะนำทางเทคนิคการรักษาความลับแก่หน่วยงานต่าง ๆ
3. เน้นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในการวางมาตรการรักษาความลับและในกรณีจำเป็นอาจกำหนดมาตรการที่แตกต่างไปจากระเบียบนี้ได้ ถ้ามาตรการนั้นมีประสิทธิภาพเช่นกัน
4. กำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีอิสระในการกำหนดชั้นความลับ และสามารถที่จะมอบหมายหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือราชการส่วนภูมิภาคได้ตามความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการเรื่องความรับผิดชอบของหน่วยงาน
5. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดชั้นความลับเป็นการชั่วคราวได้ และผู้บังคับบัญชาสามารถที่จะปรับชั้นความลับได้ตามความเหมาะสมในภายหลัง
6. กำหนดระบบการทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐอย่างน้อยต้องจัดให้มีทะเบียนเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารลับโดยแยกเป็นสามทะเบียน
7. หน่วยงานของรัฐต้องจำแนกข้อมูลข่าวสารให้ชัดเจนว่าข้อมูลข่าวสารใดเปิดเผยได้หรือเปิดเผยไม่ได้เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของเรื่องพิจารณากำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารที่ได้จัดทำเกินกว่ายี่สิบปีและกำหนดชั้นความลับใหม่เป็นรายชิ้น และแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบถึงการกำหนดให้เป็นข้อมูลข่าวสารลับต่อไป โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน หากพ้นกำหนดหกเดือนไปแล้วให้ถือว่ามีการยกเลิกชั้นความลับแล้ว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มิได้มีการกำหนดให้เป็นข้อมูลข่าวสารลับได้
9. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสารที่จัดทำขึ้นภายในยี่สิบปีให้แล้วเสร็จภายในหกเดือน เมื่อครบหกเดือนแล้ว ถ้ายังไม่มีการกำหนดชั้นความลับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามมาตรา 20 (1) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหกเดือน หน่วยงานของรัฐอาจขอขยายระยะเวลาในการดำเนินการต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นรายกรณีไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-