คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการประเภทโรงแรม ประจำปี 2544 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ
เนื่องจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครอง ดูแล ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบกิจการให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุและโรคอันเนื่องจากการทำงานตามที่กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน 17 ฉบับได้กำหนด ซึ่งรวมถึงเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงแรมหลายครั้ง แต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้าง ตลอดจนผู้เข้าพักอาศัยในโรงแรมเป็นอย่างมากและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าพักในโรงแรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ประเทศไทยได้ประกาศให้ปี 2541 - 2542 เป็นปีการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดทำโครงการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการประเภทโรงแรม เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการพักอาศัยอยู่ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ให้เกิดความอบอุ่นและมั่นใจยิ่งขึ้น อันเป็นการสนับสนุนปีการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างและการสูญเสียทรัพย์สินของนายจ้าง
ผลการดำเนินการตามโครงการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการประเภทโรงแรม ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 จนถึงปี 2543 มีโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภูมิภาคเข้าร่วมโครงการและผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามเงื่อนไขที่กฎหมายแรงงานกำหนด รวม 36 แห่ง สรุปได้ดังนี้ ปี 2541 มีโรงแรมผ่านการรับรองมาตรฐาน จำนวน 120 แห่ง ปี 2542 มีโรงแรมผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จำนวน 89 แห่ง ปี 2543 มีโรงแรมผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จำนวน 151 แห่ง
ทั้งนี้ โรงแรมที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานดังกล่าว จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณแผ่นป้ายทองเหลืองและธงสัญลักษณ์ จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีระยะเวลาในการรับรองครั้งละ 2 ปี และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสถานทูตไทยทั่วโลก รวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำหรับในปี 2544 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เร่งขยายผลการดำเนินงานโครงการฯ ตามบัญชาของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นางลดาวัลลิ์วงศ์ศรีวงศ์) โดย
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบกิจการโรงแรมที่เคยผ่านการรับรองและหมดอายุใบรับรองแล้ว รวมทั้งโรงแรมอื่น ๆ ให้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น
2. จัดประชุมสัมมนาชี้แจงรายละเอียดของโครงการแก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรมที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
3. ตรวจสอบ แนะนำ การปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยของสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยมีแนวทางหลักในการตรวจสอบ แนะนำ โดยการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดระบบเส้นทางหนีไฟ การจัดระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การจัดระบบอุปกรณ์ดับเพลิง การจัดระบบการจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด การจัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้แก่ลูกจ้าง และการจัดฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ผลการดำเนินงานในปี 2544 มีสถานประกอบการประเภทโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภูมิภาค27 จังหวัด สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 390 แห่ง และผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยจำนวน 254 แห่ง รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการประเภทโรงแรมที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยทั้งสิ้น จำนวน 614 แห่ง
ผลที่ได้รับ
1. สถานประกอบการประเภทโรงแรมมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยถูกต้องตามกฎหมายและได้มาตรฐานสากลเพิ่มมากขึ้น ทำให้นายจ้าง ลูกจ้าง นักท่องเที่ยวผู้เข้ามาใช้บริการในโรงแรมและชุมชนบริเวณใกล้เคียงมีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
2. สามารถสนับสนุนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก มีการเผยแพร่ชื่อเสียงในด้านความปลอดภัยของโรงแรมที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยวไปทั่วโลก
3. เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานภาครัฐ จากมาตรการบังคับใช้กฎหมายมาเป็นมาตรการจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยระบบไตรภาคี และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารงานของภาครัฐต่อภาคเอกชน
4. เกิดความร่วมมือในการทำงานที่ดีร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบกิจการ
5. นายจ้าง ลูกจ้าง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในที่พักอาศัยและในชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
เนื่องจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครอง ดูแล ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบกิจการให้มีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุและโรคอันเนื่องจากการทำงานตามที่กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน 17 ฉบับได้กำหนด ซึ่งรวมถึงเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงแรมหลายครั้ง แต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้าง ตลอดจนผู้เข้าพักอาศัยในโรงแรมเป็นอย่างมากและส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าพักในโรงแรมและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ประเทศไทยได้ประกาศให้ปี 2541 - 2542 เป็นปีการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้จัดทำโครงการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการประเภทโรงแรม เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการพักอาศัยอยู่ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ให้เกิดความอบอุ่นและมั่นใจยิ่งขึ้น อันเป็นการสนับสนุนปีการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างและการสูญเสียทรัพย์สินของนายจ้าง
ผลการดำเนินการตามโครงการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการประเภทโรงแรม ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 จนถึงปี 2543 มีโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภูมิภาคเข้าร่วมโครงการและผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามเงื่อนไขที่กฎหมายแรงงานกำหนด รวม 36 แห่ง สรุปได้ดังนี้ ปี 2541 มีโรงแรมผ่านการรับรองมาตรฐาน จำนวน 120 แห่ง ปี 2542 มีโรงแรมผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จำนวน 89 แห่ง ปี 2543 มีโรงแรมผ่านการรับรองตามมาตรฐาน จำนวน 151 แห่ง
ทั้งนี้ โรงแรมที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานดังกล่าว จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณแผ่นป้ายทองเหลืองและธงสัญลักษณ์ จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีระยะเวลาในการรับรองครั้งละ 2 ปี และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังสถานทูตไทยทั่วโลก รวมทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำหรับในปี 2544 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เร่งขยายผลการดำเนินงานโครงการฯ ตามบัญชาของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นางลดาวัลลิ์วงศ์ศรีวงศ์) โดย
1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบกิจการโรงแรมที่เคยผ่านการรับรองและหมดอายุใบรับรองแล้ว รวมทั้งโรงแรมอื่น ๆ ให้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น
2. จัดประชุมสัมมนาชี้แจงรายละเอียดของโครงการแก่ผู้ประกอบกิจการโรงแรมที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
3. ตรวจสอบ แนะนำ การปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยของสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยมีแนวทางหลักในการตรวจสอบ แนะนำ โดยการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การจัดระบบเส้นทางหนีไฟ การจัดระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การจัดระบบอุปกรณ์ดับเพลิง การจัดระบบการจัดเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด การจัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้แก่ลูกจ้าง และการจัดฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ผลการดำเนินงานในปี 2544 มีสถานประกอบการประเภทโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภูมิภาค27 จังหวัด สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 390 แห่ง และผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยจำนวน 254 แห่ง รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการประเภทโรงแรมที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการป้องกันและระงับอัคคีภัยทั้งสิ้น จำนวน 614 แห่ง
ผลที่ได้รับ
1. สถานประกอบการประเภทโรงแรมมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยถูกต้องตามกฎหมายและได้มาตรฐานสากลเพิ่มมากขึ้น ทำให้นายจ้าง ลูกจ้าง นักท่องเที่ยวผู้เข้ามาใช้บริการในโรงแรมและชุมชนบริเวณใกล้เคียงมีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
2. สามารถสนับสนุนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก มีการเผยแพร่ชื่อเสียงในด้านความปลอดภัยของโรงแรมที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยวไปทั่วโลก
3. เป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานภาครัฐ จากมาตรการบังคับใช้กฎหมายมาเป็นมาตรการจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยระบบไตรภาคี และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารงานของภาครัฐต่อภาคเอกชน
4. เกิดความร่วมมือในการทำงานที่ดีร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบกิจการ
5. นายจ้าง ลูกจ้าง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในที่พักอาศัยและในชุมชนของตนเองได้เป็นอย่างดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-