ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เกี่ยวกับการลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเองทั้งหมด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเลรองรับความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ และเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศโดยได้เร่งดำเนินการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ให้สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ที่สุด (Post Panamax Size) ให้แล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าแรก (ท่าเทียบเรือ C3) โดยมีขีดความสามารถรองรับตู้สินค้าได้ไม่น้อยกว่า 600,000 TEU ภายในต้นปี 2543 แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งหมด จำนวน 10,092.465 ล้านบาท เฉพาะค่าก่อสร้างท่าเทียบเรือ C 3 จะมีมูลค่ารวม 692.682 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการลงทุนเครื่องมือของเอกชนผู้เช่าในช่วง 3 ปีแรกประมาณ 1,989.3 ล้านบาท หากให้เอกชนเช่าดำเนินการ 30 ปี จะต้องลงทุนเครื่องมือทั้งโครงการประมาณ 5,226.9 ล้านบาท ดังนั้น กทท. จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และ กทท. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของ กทท. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543ณ กระทรวงคมนาคม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สรรหาเอกชนเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นชอบในหลักการให้เอกชนเช่าบริหารและเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของท่าเรือแหลมฉบังเอง ทั้งนี้ เนื่องจาก
1) โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งเพิ่มทางเลือกการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก
2) การให้เอกชนเช่าบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการให้บริการขนถ่ายตู้สินค้าของเอกชนรายอื่น ๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว
3) การให้เอกชนเป็นผู้จัดหาเครื่องมือเองจะคล่องตัวกว่า กทท. เป็นผู้จัดหา และเป็นการลดภาระการลงทุนของ กทท. และการก่อหนี้ของภาครัฐ
4) สำหรับกรณีที่เห็นว่า การให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเอง จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ทำให้การเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ C 3 ล่าช้ากว่าที่ กทท. เป็นผู้ดำเนินการจัดหาเองเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน นั้น ในขณะนี้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจกำลังดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับระยะเวลาในการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานฯ อยู่ โดยจะลดระยะเวลาได้ประมาณ 1 - 3 เดือน และระยะเวลาขั้นตอนในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ฯ คาดว่าเอกชนสามารถดำเนินการได้เร็วกว่า กทท. ดังนั้น การที่ กทท. หรือเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ฯ เห็นว่า ระยะเวลาที่จะเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ C 3 อาจแตกต่างกันไม่มาก ประกอบกับในขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ให้ กทท. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543 ไปล่วงหน้าแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เกี่ยวกับการลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเองทั้งหมด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางทะเลรองรับความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ และเพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศโดยได้เร่งดำเนินการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ให้สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ที่สุด (Post Panamax Size) ให้แล้วเสร็จสามารถเปิดให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าแรก (ท่าเทียบเรือ C3) โดยมีขีดความสามารถรองรับตู้สินค้าได้ไม่น้อยกว่า 600,000 TEU ภายในต้นปี 2543 แต่เนื่องจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 มีมูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งหมด จำนวน 10,092.465 ล้านบาท เฉพาะค่าก่อสร้างท่าเทียบเรือ C 3 จะมีมูลค่ารวม 692.682 ล้านบาท โดยมีมูลค่าการลงทุนเครื่องมือของเอกชนผู้เช่าในช่วง 3 ปีแรกประมาณ 1,989.3 ล้านบาท หากให้เอกชนเช่าดำเนินการ 30 ปี จะต้องลงทุนเครื่องมือทั้งโครงการประมาณ 5,226.9 ล้านบาท ดังนั้น กทท. จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และ กทท. เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของ กทท. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543ณ กระทรวงคมนาคม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สรรหาเอกชนเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นชอบในหลักการให้เอกชนเช่าบริหารและเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนสินค้า สำหรับประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 ของท่าเรือแหลมฉบังเอง ทั้งนี้ เนื่องจาก
1) โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งเพิ่มทางเลือกการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก
2) การให้เอกชนเช่าบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ C 3 จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการให้บริการขนถ่ายตู้สินค้าของเอกชนรายอื่น ๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว
3) การให้เอกชนเป็นผู้จัดหาเครื่องมือเองจะคล่องตัวกว่า กทท. เป็นผู้จัดหา และเป็นการลดภาระการลงทุนของ กทท. และการก่อหนี้ของภาครัฐ
4) สำหรับกรณีที่เห็นว่า การให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ยกขนตู้สินค้าเอง จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ทำให้การเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ C 3 ล่าช้ากว่าที่ กทท. เป็นผู้ดำเนินการจัดหาเองเป็นระยะเวลาประมาณ 7 เดือน นั้น ในขณะนี้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจกำลังดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับระยะเวลาในการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมงานฯ อยู่ โดยจะลดระยะเวลาได้ประมาณ 1 - 3 เดือน และระยะเวลาขั้นตอนในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ฯ คาดว่าเอกชนสามารถดำเนินการได้เร็วกว่า กทท. ดังนั้น การที่ กทท. หรือเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ฯ เห็นว่า ระยะเวลาที่จะเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ C 3 อาจแตกต่างกันไม่มาก ประกอบกับในขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ให้ กทท. ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543 ไปล่วงหน้าแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-