คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการ ดังนี้
1.ให้อพยพราษฎรบ้านหางฮุง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ ออกจากพื้นที่เดิม และให้ดำเนินการกันพื้นที่ว่างบริเวณแปลงจัดสรรที่เหลือจากการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิ์ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เพื่อรองรับราษฎรที่จะอพยพต่อไป
2. ให้มีการสำรวจ ตรวจสอบ ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านดง และบ้านห้วยเป็ด หมู่ที่ 1 ตำบลแม่เมาะ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเคยอยู่ในแผนการอพยพราษฎรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาก่อน โดยให้ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางและแผนงานสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร
3. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ และดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรตามข้อ 1 และการดำเนินการในข้อ 2
4. ให้ถือเป็นนโยบายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสำรวจตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับหรือเคยได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
5. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งรับผิดชอบงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ตามข้อ 1-4
เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2531 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการขยายเหมืองแม่เมาะ และอพยพราษฎรบ้านหางฮุง จำนวน 442 ครัวเรือน (จำนวนครึ่งหมู่บ้าน) ออกจากพื้นที่ ไปอยู่ ณ แปลงอพยพบ้านท่าปะตุ่น - นาแขม หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และยังคงเหลือราษฎรอยู่ในหมู่บ้านเดิม จำนวน 414 ครัวเรือน (จำนวน 983 คน) ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสัญญาว่าจะอพยพราษฎรส่วนที่เหลือตามไปในภายหลัง พร้อมทั้งได้นำราษฎรไปดูพื้นที่ที่จะใช้ในการอพยพ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างในท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกแผนการขยายเหมืองแม่เมาะและแผนการอพยพ โดยแจ้งว่า ในพื้นที่บริเวณบ้านหางฮุง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ มีปริมาณถ่านหินไม่เพียงพอที่จะดำเนินการ ประกอบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการขยายเหมืองไปยังบริเวณใกล้บ้านหางฮุงในปี พ.ศ. 2549 (ระยะห่างประมาณ 500 เมตร) ซึ่งอาจเกิดผลกระทบด้านมลภาวะ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ราษฎรไม่พอใจและ ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องขอ ให้มีการอพยพตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องดังกล่าว รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งรับผิดชอบงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะ ได้เดินทางไปร่วมปรึกษาหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของราษฎรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2544 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งผลของการประชุมฯ ได้ข้อสรุปตามที่คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1.ให้อพยพราษฎรบ้านหางฮุง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ ออกจากพื้นที่เดิม และให้ดำเนินการกันพื้นที่ว่างบริเวณแปลงจัดสรรที่เหลือจากการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกเอกสิทธิ์ให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ เพื่อรองรับราษฎรที่จะอพยพต่อไป
2. ให้มีการสำรวจ ตรวจสอบ ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านดง และบ้านห้วยเป็ด หมู่ที่ 1 ตำบลแม่เมาะ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเคยอยู่ในแผนการอพยพราษฎรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาก่อน โดยให้ได้ข้อสรุปเป็นแนวทางและแผนงานสำหรับการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร
3. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบ และดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรตามข้อ 1 และการดำเนินการในข้อ 2
4. ให้ถือเป็นนโยบายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสำรวจตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับหรือเคยได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
5. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งรับผิดชอบงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ ตามข้อ 1-4
เนื่องจากในช่วงปี พ.ศ. 2531 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการขยายเหมืองแม่เมาะ และอพยพราษฎรบ้านหางฮุง จำนวน 442 ครัวเรือน (จำนวนครึ่งหมู่บ้าน) ออกจากพื้นที่ ไปอยู่ ณ แปลงอพยพบ้านท่าปะตุ่น - นาแขม หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และยังคงเหลือราษฎรอยู่ในหมู่บ้านเดิม จำนวน 414 ครัวเรือน (จำนวน 983 คน) ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสัญญาว่าจะอพยพราษฎรส่วนที่เหลือตามไปในภายหลัง พร้อมทั้งได้นำราษฎรไปดูพื้นที่ที่จะใช้ในการอพยพ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างในท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ และต่อมาในปี พ.ศ. 2539 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกแผนการขยายเหมืองแม่เมาะและแผนการอพยพ โดยแจ้งว่า ในพื้นที่บริเวณบ้านหางฮุง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ มีปริมาณถ่านหินไม่เพียงพอที่จะดำเนินการ ประกอบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการขยายเหมืองไปยังบริเวณใกล้บ้านหางฮุงในปี พ.ศ. 2549 (ระยะห่างประมาณ 500 เมตร) ซึ่งอาจเกิดผลกระทบด้านมลภาวะ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ราษฎรไม่พอใจและ ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องขอ ให้มีการอพยพตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องดังกล่าว รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดซึ่งรับผิดชอบงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะ ได้เดินทางไปร่วมปรึกษาหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของราษฎรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2544 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งผลของการประชุมฯ ได้ข้อสรุปตามที่คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-