ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไตรมาสที่สอง และให้ความเห็นชอบการเพิ่มกรอบการเบิกจ่ายลงทุนปีงบประมาณ 2543 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานไตรมาสที่สองของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ผลประกอบการ ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจในภาพรวมดำเนินการได้ดีกว่าเป้าหมาย คือ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9,583 ล้านบาท หรือร้อยละ 68.8 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลกำไรจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (5,058 ล้านบาท) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (883 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (1,702 ล้านบาท) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (702 ล้านบาท) การประปานครหลวง (574 ล้านบาท) และโรงงานยาสูบ (476 ล้านบาท) สาเหตุสำคัญเนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งสามารถลดต้นทุนการผลิต และบางแห่งมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปีคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะมีผลกำไรสุทธิ 73,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายประมาณ 13,155 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 21.7
1.2 การเบิกจ่ายลงทุน ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจในภาพรวมสามารถเบิกจ่ายได้ 49,441 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.4
ทั้งนี้ คาดหมายว่าทั้งปีจะสามารถเบิกจ่ายได้ 202,198 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 16,129 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก บทม. (ต่ำกว่าเป้าหมาย 9,320 ล้านบาท) เพราะความล่าช้าของงานออกแบบและก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร เนื่องจาก บทม. ได้ให้บริษัทที่ออกแบบทบทวนแบบก่อสร้างเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ภายในกรอบงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคา คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนมกราคม 2544 ซึ่งมีผลให้งานอื่นที่เกี่ยวข้องล่าช้าไปด้วย และกรณีของ ทอท. (ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,286 ล้านบาท) เนื่องจากผลการคัดเลือกผู้รับจ้างออกแบบควบคู่กับการก่อสร้างโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานกรุงเทพ สูงกว่างบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างขออนุมัติปรับลดโครงการตามขั้นตอนเพื่อให้การลงทุนเกิดประโยชน์สูงสุด โดยยังคงรักษาวัตถุประสงค์หลักของโครงการเพื่อรองรับปริมาณจราจรและผู้โดยสารได้จนถึงปี 2547 ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
1.3 การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหา RI ได้จำนวน 33,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 10,912 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 48.6 โดยมีรัฐวิสาหกิจสำคัญที่สามารถจัดหา RI สูงกว่าเป้าหมายมาก ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (3,298 ล้านบาท) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (3,235 ล้านบาท) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2,486 ล้านบาท) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (2,045 ล้านบาท) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (1,343 ล้านบาท) ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญจากการที่รัฐวิสาหกิจเลื่อนการนำส่งรัฐไปในไตรมาส 3 และ 4 เป็นสำคัญ
อนึ่ง ประมาณว่า เมื่อสิ้นปีรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะสามารถจัดหา RI ได้ประมาณ 125,135 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายประมาณ 9,679 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.4 สาเหตุสำคัญ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณว่าจะมีเงินสดรับจากการขายหุ้นบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ในเดือนกันยายน 2543
2. ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนในปี 2543 เป็นจำนวน 242,847 ล้านบาท หรือมีฐานะขาดดุลโดยรวมประมาณร้อยละ 2.6 ของ GDP โดยมีเป้าหมายการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) จำนวน 106,908 ล้านบาท
3. ให้ความเห็นชอบการเพิ่มเติมงบประมาณลงทุนปี 2543 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยมีวงเงินดำเนินการเพิ่มขึ้นจาก 20,411 ล้านบาท เป็น 34,332 ล้านบาท วงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 17,973 ล้านบาท เป็น30,493 ล้านบาท และมีเป้าหมายการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ลดลงจาก 19,476 ล้านบาท เป็น 10,928ล้านบาท
4. ให้ความเห็นชอบการขยายวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายปี 2543 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้วงเงินลงทุนดำเนินการและเบิกจ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพิ่มขึ้นจาก 33,849 ล้านบาท เป็น 45,849 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไตรมาสที่สอง และให้ความเห็นชอบการเพิ่มกรอบการเบิกจ่ายลงทุนปีงบประมาณ 2543 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. รับทราบผลการดำเนินงานไตรมาสที่สองของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 ผลประกอบการ ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจในภาพรวมดำเนินการได้ดีกว่าเป้าหมาย คือ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9,583 ล้านบาท หรือร้อยละ 68.8 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลกำไรจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (5,058 ล้านบาท) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (883 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (1,702 ล้านบาท) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (702 ล้านบาท) การประปานครหลวง (574 ล้านบาท) และโรงงานยาสูบ (476 ล้านบาท) สาเหตุสำคัญเนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งสามารถลดต้นทุนการผลิต และบางแห่งมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปีคาดว่ารัฐวิสาหกิจจะมีผลกำไรสุทธิ 73,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายประมาณ 13,155 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 21.7
1.2 การเบิกจ่ายลงทุน ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจในภาพรวมสามารถเบิกจ่ายได้ 49,441 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.4
ทั้งนี้ คาดหมายว่าทั้งปีจะสามารถเบิกจ่ายได้ 202,198 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 16,129 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก บทม. (ต่ำกว่าเป้าหมาย 9,320 ล้านบาท) เพราะความล่าช้าของงานออกแบบและก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร เนื่องจาก บทม. ได้ให้บริษัทที่ออกแบบทบทวนแบบก่อสร้างเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ภายในกรอบงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคา คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนมกราคม 2544 ซึ่งมีผลให้งานอื่นที่เกี่ยวข้องล่าช้าไปด้วย และกรณีของ ทอท. (ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,286 ล้านบาท) เนื่องจากผลการคัดเลือกผู้รับจ้างออกแบบควบคู่กับการก่อสร้างโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยานกรุงเทพ สูงกว่างบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างขออนุมัติปรับลดโครงการตามขั้นตอนเพื่อให้การลงทุนเกิดประโยชน์สูงสุด โดยยังคงรักษาวัตถุประสงค์หลักของโครงการเพื่อรองรับปริมาณจราจรและผู้โดยสารได้จนถึงปี 2547 ภายในวงเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
1.3 การจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ในไตรมาสสอง รัฐวิสาหกิจสามารถจัดหา RI ได้จำนวน 33,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 10,912 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 48.6 โดยมีรัฐวิสาหกิจสำคัญที่สามารถจัดหา RI สูงกว่าเป้าหมายมาก ได้แก่ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (3,298 ล้านบาท) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (3,235 ล้านบาท) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2,486 ล้านบาท) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (2,045 ล้านบาท) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (1,343 ล้านบาท) ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญจากการที่รัฐวิสาหกิจเลื่อนการนำส่งรัฐไปในไตรมาส 3 และ 4 เป็นสำคัญ
อนึ่ง ประมาณว่า เมื่อสิ้นปีรัฐวิสาหกิจในภาพรวมจะสามารถจัดหา RI ได้ประมาณ 125,135 ล้านบาทสูงกว่าเป้าหมายประมาณ 9,679 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.4 สาเหตุสำคัญ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณว่าจะมีเงินสดรับจากการขายหุ้นบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ในเดือนกันยายน 2543
2. ให้ความเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนในปี 2543 เป็นจำนวน 242,847 ล้านบาท หรือมีฐานะขาดดุลโดยรวมประมาณร้อยละ 2.6 ของ GDP โดยมีเป้าหมายการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) จำนวน 106,908 ล้านบาท
3. ให้ความเห็นชอบการเพิ่มเติมงบประมาณลงทุนปี 2543 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยมีวงเงินดำเนินการเพิ่มขึ้นจาก 20,411 ล้านบาท เป็น 34,332 ล้านบาท วงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 17,973 ล้านบาท เป็น30,493 ล้านบาท และมีเป้าหมายการจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) ลดลงจาก 19,476 ล้านบาท เป็น 10,928ล้านบาท
4. ให้ความเห็นชอบการขยายวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายปี 2543 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 12,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้วงเงินลงทุนดำเนินการและเบิกจ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพิ่มขึ้นจาก 33,849 ล้านบาท เป็น 45,849 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 พฤษภาคม 2543--
-สส-