ทำเนียบรัฐบาล--16 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 (ยกเลิกความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 (กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน) มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ดังนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะตามที่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือ
6) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
2.2 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ดังนี้
1) นิติบุคคลตาม 1) ถึง 5) ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตหรือเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่า 10% ของบริษัทตาม6) จะต้องสามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินสำรองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น
2) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุริกจที่ปรึกษาการลงทุนในเรื่องวิธีการและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การกำกับดูแลบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุน วิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบ วิธีการและระยะเวลาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน หลักปฏิบัติในการจัดทำและจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การเก็บรักษาความลับของลูกค้า แผนงานที่แสดงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
3) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาการลงทุน
2.3 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม 1) ถึง 5) และผู้ขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทฯ ยื่นคำขอภายในระยะเวลา และตามแบบพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด
2.4 กำหนดให้บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ตามแบบที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
2.5 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน การดำเนินงานสินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.6 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
1) คำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ คำขอละ 10,000 บาท จากเดิมที่กำหนดไว้คำขอละ 500 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 20 เท่า)
2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ปีละ 25,000 บาท (เดิมกำหนดไว้ 50 ล้านบาท โดยจะแบ่งชำระเป็นปี ๆ ละเท่า ๆ กัน ไม่เกิน 5 ปี ก็ได้ ซึ่งเท่ากับปีละ 10 ล้านบาท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 (ยกเลิกความในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ. 2535 (กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน) มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 กำหนดผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ดังนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
2) บริษัทเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3) บริษัทหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4) บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะตามที่รัฐมนตรีตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด หรือ
6) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
2.2 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต ดังนี้
1) นิติบุคคลตาม 1) ถึง 5) ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตหรือเป็นผู้ถือหุ้นมากกว่า 10% ของบริษัทตาม6) จะต้องสามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินสำรองได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินนั้น
2) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะมีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุริกจที่ปรึกษาการลงทุนในเรื่องวิธีการและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ การกำกับดูแลบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุน วิธีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทราบ วิธีการและระยะเวลาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน หลักปฏิบัติในการจัดทำและจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การเก็บรักษาความลับของลูกค้า แผนงานที่แสดงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และระบบการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
3) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแสดงได้ว่าจะมีความพร้อมด้านบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านที่ปรึกษาการลงทุน
2.3 กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม 1) ถึง 5) และผู้ขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทฯ ยื่นคำขอภายในระยะเวลา และตามแบบพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่คณะกรรมการ ก.ล.ต.ประกาศกำหนด
2.4 กำหนดให้บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ตามแบบที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
2.5 กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน การดำเนินงานสินทรัพย์ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.6 กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้
1) คำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ คำขอละ 10,000 บาท จากเดิมที่กำหนดไว้คำขอละ 500 บาท (อัตราค่าธรรมเนียมใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 20 เท่า)
2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ ปีละ 25,000 บาท (เดิมกำหนดไว้ 50 ล้านบาท โดยจะแบ่งชำระเป็นปี ๆ ละเท่า ๆ กัน ไม่เกิน 5 ปี ก็ได้ ซึ่งเท่ากับปีละ 10 ล้านบาท)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ม.ค. 2544--
-สส-