ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรื่องการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้แจ้งหน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติต่อไป
การตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชกฤษฎีกา หรือร่างกฎกระทรวงฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีหรือตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี ซึ่งเมื่อตรวจพิจารณาเสร็จแล้วสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดทำร่างกฎหมายและลดการซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องสอบถามความเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอีก ในการจัดทำร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขเล็กน้อยเฉพาะถ้อยคำและผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่มาร่วมพิจารณาเห็นชอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแจ้งข้อเท็จจริงนี้ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ทราบ สำหรับกรณีมีการแก้ไขเล็กน้อย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งเป็นหนังสือ เพื่อให้เป็นหลักฐานยืนยันการเห็นชอบในการแก้ไขด้วย
2. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้เป็นหลักฐานยืนยันการเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติม
3. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีความเห็นแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งโดยปกติสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณาเพื่อให้เกิดข้อยุติกันได้โดยเป็นผลดีแก่การบริหารราชการแผ่นดินและสอดคล้องกับหลักนิติศาสตร์ แต่หากไม่เกิดข้อยุติได้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยืนยันเป็นหนังสือ เพื่อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อมูลที่สมบูรณ์พร้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปได้
อนึ่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านร่างกฎหมายเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามแนวทางการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับในการพิจารณาร่างกฎหมายมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมให้ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ อยู่แล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วนอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่างทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเรื่องการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นชอบแล้ว ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้แจ้งหน่วยงานของรัฐทราบและถือปฏิบัติต่อไป
การตรวจพิจารณาร่างกฎหมาย ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชกฤษฎีกา หรือร่างกฎกระทรวงฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีหรือตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี ซึ่งเมื่อตรวจพิจารณาเสร็จแล้วสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดทำร่างกฎหมายและลดการซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องสอบถามความเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอีก ในการจัดทำร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขเล็กน้อยเฉพาะถ้อยคำและผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่มาร่วมพิจารณาเห็นชอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะแจ้งข้อเท็จจริงนี้ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ทราบ สำหรับกรณีมีการแก้ไขเล็กน้อย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งเป็นหนังสือ เพื่อให้เป็นหลักฐานยืนยันการเห็นชอบในการแก้ไขด้วย
2. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้เป็นหลักฐานยืนยันการเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติม
3. ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่มีความเห็นแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งโดยปกติสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณาเพื่อให้เกิดข้อยุติกันได้โดยเป็นผลดีแก่การบริหารราชการแผ่นดินและสอดคล้องกับหลักนิติศาสตร์ แต่หากไม่เกิดข้อยุติได้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะขอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องยืนยันเป็นหนังสือ เพื่อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีข้อมูลที่สมบูรณ์พร้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปได้
อนึ่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านร่างกฎหมายเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามแนวทางการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับในการพิจารณาร่างกฎหมายมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมให้ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ อยู่แล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว โดยให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกแห่งเมื่อได้รับร่างกฎหมายที่ตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ให้แจ้งความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร่งด่วนอย่างช้าไม่เกิน 15 วัน ทั้งกรณีที่มีความเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือกรณีที่มีความเห็นแตกต่างทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและช่วยให้การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นไปโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-