ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือ กำหนดให้กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนกิจการของกองทุนฯ ให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการให้กู้ยืมตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
อนึ่ง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นกองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 กองทุนฯ ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ คือ การให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ โดยจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 1 ของเงินต้นที่ผู้กู้ชำระเงินคืนให้กับกองทุนฯ
ปัญหาที่ขอให้มีการเสนอแก้ไข คือ ในปัจจุบันกองทุนฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นหน่วยภาษีตามคำนิยามในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนฯ จึงไม่มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ดีดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 1 ที่กองทุนฯ ได้รับจากผู้กู้ยืม ถือเป็นการประกอบกิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่เนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของกองทุนฯ ที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของนักเรียน นักศึกษาที่มีรายได้น้อย ให้สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร กองทุนฯ จึงได้เสนอขอให้มีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายได้ที่ต้องเสียภาษีข้างต้น
ทั้งนี้ การกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยเหลือให้กองทุนฯ มีเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงานได้มากขึ้น อันจะส่งผลต่อเนื่องในการช่วยเหลือจำนวนครอบครัวนักเรียน นักศึกษาที่มีรายได้น้อยให้สามารถศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้มากขึ้น และในส่วนของภาครัฐ จะเป็นการช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐ ให้สามารถกระจายไปสู่ผู้มีรายได้น้อยในสังคมได้มากขึ้น และการปรับปรุงข้อกฎหมายในครั้งนี้ จะมีความสูญเสียรายได้ทางภาษีเพียงเล็กน้อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือ กำหนดให้กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนกิจการของกองทุนฯ ให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการให้กู้ยืมตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
อนึ่ง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นกองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 กองทุนฯ ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ คือ การให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ โดยจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 1 ของเงินต้นที่ผู้กู้ชำระเงินคืนให้กับกองทุนฯ
ปัญหาที่ขอให้มีการเสนอแก้ไข คือ ในปัจจุบันกองทุนฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคล แต่ไม่เป็นหน่วยภาษีตามคำนิยามในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนฯ จึงไม่มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่างไรก็ดีดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 1 ที่กองทุนฯ ได้รับจากผู้กู้ยืม ถือเป็นการประกอบกิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กองทุนฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่เนื่องจากลักษณะการดำเนินงานของกองทุนฯ ที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของนักเรียน นักศึกษาที่มีรายได้น้อย ให้สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร กองทุนฯ จึงได้เสนอขอให้มีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายได้ที่ต้องเสียภาษีข้างต้น
ทั้งนี้ การกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยเหลือให้กองทุนฯ มีเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารงานได้มากขึ้น อันจะส่งผลต่อเนื่องในการช่วยเหลือจำนวนครอบครัวนักเรียน นักศึกษาที่มีรายได้น้อยให้สามารถศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้มากขึ้น และในส่วนของภาครัฐ จะเป็นการช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาของภาครัฐ ให้สามารถกระจายไปสู่ผู้มีรายได้น้อยในสังคมได้มากขึ้น และการปรับปรุงข้อกฎหมายในครั้งนี้ จะมีความสูญเสียรายได้ทางภาษีเพียงเล็กน้อย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-