คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาว ตามที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5(คกก. 5) แล้ว และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับเงินงบประมาณดำเนินการตามโครงการฯ ปี พ.ศ. 2544 - 2545 เพิ่มเติมจำนวน173.48 ล้านบาท นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ โดยให้รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาด้วยคือ งบประมาณเพื่อดำเนินโครงการฯ เพิ่มเติมจำนวน 173.48 ล้านบาท นั้น ควรจัดสรรตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาจัดลำดับความสำคัญและใช้จ่ายเงินด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีส่วนร่วมสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า การผลิตอ้อยในปี 2542/43 พบการระบาดของหนอนกออ้อยในภาคตะวันออกเฉียงหนือและภาคตะวันออกในพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ และในปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาวอย่างรุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่น ๆ โดยมีพื้นที่ระบาดของหนอนกออ้อย 775,028 ไร่ และพื้นที่ระบาดของโรคใบขาว 178,745 ไร่ รวมพื้นที่ระบาดทั้งสิ้น 953,773 ไร่ จึงทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงจากเดิมที่คาดว่าในปีการผลิต 2543/44 จะได้ผลผลิตประมาณ 52.08 ล้านตัน ขณะนี้คาดว่าจะได้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบ 48.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าที่ต้องสูญเสียประมาณ 2,328 ล้านบาท ถ้าหากไม่ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวอย่างจริงจังก็จะเกิดการแพร่ระบาดก่อให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าปริมาณอ้อยลดลงเหลือ 40 ล้านตัน จะทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ประมาณ 4,920 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งโครงการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวมีรายละเอียด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาว และเพื่อให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยทั้งในเขตที่มีการระบาดและนอกเขตการระบาดรู้ถึงวิธีการป้องกันและการกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาว
2. เป้าหมายการดำเนินการ ได้กำหนดให้มีการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวในเขตที่มีการระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อย 26 จังหวัด พื้นที่ 953,773 ไร่ และควบคุมไม่ให้มีการระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อยที่อยู่นอกเขตการระบาด
3. แนวทางในการดำเนินการ จะสำรวจพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว แล้วแยกประเภทการระบาดเพื่อกำหนดวิธีการป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง จากนั้นผลิตและขยายแตนเบียนและศัตรูธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อนำไปปล่อยในแปลงอ้อย ตลอดจนให้เกษตรกรใช้พันธุ์อ้อยที่ปลอดโรคใบขาวและหนอนกออ้อยและพันธุ์ต้านทาน โดยให้เกษตรกรทำแปลงขยายพันธุ์อ้อยเองปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชบำรุงดินเพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว อบรมเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหา และรู้วิธีการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวที่ถูกต้อง ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารการระบาดและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบและปฏิบัติได้ทันท่วงที โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็น ดังนี้
1. การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วิธีตัดวงจรศัตรูพืชนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างจริงจังให้มากขึ้น ซึ่งจะได้ผลดีและเป็นการประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ไปในการแก้ไขปัญหานี้เกือบทุกปีด้วย
2. ในการส่งเสริมการใช้พันธุ์อ้อยพันธุ์หลัก ควรมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในการทดแทนพันธุ์อ้อยที่ด้อยคุณภาพและจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่เกษตรกร
3. โดยที่ปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวมีลักษณะการเกิดขึ้นเป็นวัฏจักร การป้องกันและการแก้ไขปัญหาจึงควรที่จะพิจารณาภาพรวมในเชิงของการจัดการด้วย เช่น การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ การให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระด้านงบประมาณของรัฐโดยรวม
4. การดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์พืชต่าง ๆ ที่ดีนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรจะได้มีการกำหนดวิธีการในการประเมินผลการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นระบบด้วย เพื่อให้ทราบชัดเจนว่าที่ผ่านมาได้ผลมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ยังมีผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายประเภทที่ผลผลิตต่อไร่ยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า การผลิตอ้อยในปี 2542/43 พบการระบาดของหนอนกออ้อยในภาคตะวันออกเฉียงหนือและภาคตะวันออกในพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ และในปัจจุบันได้เกิดการแพร่ระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาวอย่างรุนแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่น ๆ โดยมีพื้นที่ระบาดของหนอนกออ้อย 775,028 ไร่ และพื้นที่ระบาดของโรคใบขาว 178,745 ไร่ รวมพื้นที่ระบาดทั้งสิ้น 953,773 ไร่ จึงทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงจากเดิมที่คาดว่าในปีการผลิต 2543/44 จะได้ผลผลิตประมาณ 52.08 ล้านตัน ขณะนี้คาดว่าจะได้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบ 48.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าที่ต้องสูญเสียประมาณ 2,328 ล้านบาท ถ้าหากไม่ดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวอย่างจริงจังก็จะเกิดการแพร่ระบาดก่อให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าปริมาณอ้อยลดลงเหลือ 40 ล้านตัน จะทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ประมาณ 4,920 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งโครงการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวมีรายละเอียด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาว และเพื่อให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยทั้งในเขตที่มีการระบาดและนอกเขตการระบาดรู้ถึงวิธีการป้องกันและการกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาว
2. เป้าหมายการดำเนินการ ได้กำหนดให้มีการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวในเขตที่มีการระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อย 26 จังหวัด พื้นที่ 953,773 ไร่ และควบคุมไม่ให้มีการระบาดในพื้นที่ปลูกอ้อยที่อยู่นอกเขตการระบาด
3. แนวทางในการดำเนินการ จะสำรวจพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว แล้วแยกประเภทการระบาดเพื่อกำหนดวิธีการป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้อง จากนั้นผลิตและขยายแตนเบียนและศัตรูธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อนำไปปล่อยในแปลงอ้อย ตลอดจนให้เกษตรกรใช้พันธุ์อ้อยที่ปลอดโรคใบขาวและหนอนกออ้อยและพันธุ์ต้านทาน โดยให้เกษตรกรทำแปลงขยายพันธุ์อ้อยเองปลูกพืชหมุนเวียนหรือพืชบำรุงดินเพื่อตัดวงจรการระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาว อบรมเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหา และรู้วิธีการป้องกันกำจัดหนอนกออ้อยและโรคใบขาวที่ถูกต้อง ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารการระบาดและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบและปฏิบัติได้ทันท่วงที โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารเผยแพร่ เป็นต้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็น ดังนี้
1. การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้วิธีตัดวงจรศัตรูพืชนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรอย่างจริงจังให้มากขึ้น ซึ่งจะได้ผลดีและเป็นการประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้ไปในการแก้ไขปัญหานี้เกือบทุกปีด้วย
2. ในการส่งเสริมการใช้พันธุ์อ้อยพันธุ์หลัก ควรมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในการทดแทนพันธุ์อ้อยที่ด้อยคุณภาพและจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่เกษตรกร
3. โดยที่ปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวมีลักษณะการเกิดขึ้นเป็นวัฏจักร การป้องกันและการแก้ไขปัญหาจึงควรที่จะพิจารณาภาพรวมในเชิงของการจัดการด้วย เช่น การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ การให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระด้านงบประมาณของรัฐโดยรวม
4. การดำเนินการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์พืชต่าง ๆ ที่ดีนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรจะได้มีการกำหนดวิธีการในการประเมินผลการดำเนินการในเรื่องเหล่านี้อย่างเป็นระบบด้วย เพื่อให้ทราบชัดเจนว่าที่ผ่านมาได้ผลมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ยังมีผลผลิตทางการเกษตรอีกหลายประเภทที่ผลผลิตต่อไร่ยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-