แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) เสนอ เกี่ยวกับสถานภาพอุบัติเหตุจราจรทางบกและแนวทางแก้ไข ดังนี้
1. รับทราบสถานภาพการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ผ่านมา
2. หลักการให้จัดสรรงบกลางฯ แก่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามโครงการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 957 โครงการ รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลโครงการฯ คิดเป็นวงเงินรวม 200,103,836 บาท ในปีงบประมาณ 2544
3. หลักการซึ่งสอดคล้องกับมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ดังนี้
3.1 มอบ สจร. ทำหน้าที่หน่วยกลางวางแผน แก้ไขอุปสรรค และติดตามประเมินผลให้สามารถป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยร่วมกับคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการควบคุมป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบก แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3.2 ให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) คณะกรรมการดำเนินงานป้องกันอุบัติภัย คณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ รวมทั้งคณะกรรมการดังกล่าวระดับจังหวัด เร่งรัดการดำเนินการ และให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคณะดังกล่าวติดตามผลการดำเนินงานตามมติของ คจร. และแจ้ง สจร. เพื่อประมวลผลเสนอ คจร. เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินงานควบคุมป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบกทุก 4 เดือน และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
4. ให้หน่วยงานของรัฐร่วมมือกันและสนธิความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อควบคุม ป้องกัน ป้องปราม เร่งรัดและกวดขันการดำเนินการตามยุทธวิธี โดยชักชวนให้ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนร่วมด้วย ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็นให้มากขึ้น
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. รับทราบและเห็นชอบในหลักการตามที่ สจร. เสนอ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการฯ ให้ สจร. เสนอตั้งหรือปรับแผนงบประมาณ โดยให้เริ่มดำเนินการโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
2. ให้ สจร. ไปประสานกับคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร ให้เพิ่มผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวทุกคณะด้วย
3. ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดให้มีป้าย เครื่องหมาย อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรือจุดล่อแหลมดังกล่าวด้วย
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) รายงานสถานภาพการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุการจราจรทางบก สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อปี 2538 สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุการจราจร โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อควบคุมองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ คน ถนน และยานพาหนะ กำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงร้อยละ 30 ภายในปี 2543 และกำหนดยุทธวิธีเพื่อการดำเนินการด้านต่าง ๆ รวม 14 ยุทธวิธี
2. จากสถิติอุบัติเหตุด้านการจราจรทางบกในช่วงเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละปีมีอุบัติเหตุจราจรทางบกเกิดขึ้นเป็นจำนวนสูงมาก ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย และสามารถคำนวณเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้นับเป็นมูลค่ามหาศาล เช่น ในปี พ.ศ. 2543 มีผู้เสียชีวิต 11,988 ราย ผู้บาดเจ็บสาหัส 12,502ราย ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 40,609 ราย มูลค่าทรัพย์สินเสียหายรวม 1,242.20 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้น 105,476.89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (12 - 16 เมษายน 2544) มีผู้ประสบอุบัติเหตุรวม 29,848 ราย มีผู้เสียชีวิต 489 ราย ผู้บาดเจ็บ29,359 ราย ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีถึง 3.1 เท่า และคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ้น 28,134 ล้านบาท
3. ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกมีหลายหน่วยงานแต่การประสานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในองค์รวมยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ทั้งนี้ ในส่วนของคณะกรรมการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้นหลายชุด
4. การดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ผ่านมา สจร. ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและหาทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกตามทรัพยากรที่พอจะเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะได้มีการเน้นย้ำการดำเนินการในเทศกาลต่าง ๆ ที่มีวันหยุดติดต่อหลายวันและประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยว และเฉลิมฉลองหนาแน่น รวม 6 กิจกรรม โดยในปี 2544 ได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในหลายรูปแบบมาเป็นลำดับ เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรทางบกดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. รับทราบสถานภาพการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ผ่านมา
2. หลักการให้จัดสรรงบกลางฯ แก่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามโครงการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 957 โครงการ รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลโครงการฯ คิดเป็นวงเงินรวม 200,103,836 บาท ในปีงบประมาณ 2544
3. หลักการซึ่งสอดคล้องกับมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ดังนี้
3.1 มอบ สจร. ทำหน้าที่หน่วยกลางวางแผน แก้ไขอุปสรรค และติดตามประเมินผลให้สามารถป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยร่วมกับคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการควบคุมป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบก แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3.2 ให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) คณะกรรมการดำเนินงานป้องกันอุบัติภัย คณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติ รวมทั้งคณะกรรมการดังกล่าวระดับจังหวัด เร่งรัดการดำเนินการ และให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการคณะดังกล่าวติดตามผลการดำเนินงานตามมติของ คจร. และแจ้ง สจร. เพื่อประมวลผลเสนอ คจร. เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการดำเนินงานควบคุมป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจราจรทางบกทุก 4 เดือน และเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
4. ให้หน่วยงานของรัฐร่วมมือกันและสนธิความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อควบคุม ป้องกัน ป้องปราม เร่งรัดและกวดขันการดำเนินการตามยุทธวิธี โดยชักชวนให้ภาคเอกชน ชุมชนและประชาชนร่วมด้วย ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็นให้มากขึ้น
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. รับทราบและเห็นชอบในหลักการตามที่ สจร. เสนอ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับงบประมาณเพื่อดำเนินการตามโครงการฯ ให้ สจร. เสนอตั้งหรือปรับแผนงบประมาณ โดยให้เริ่มดำเนินการโครงการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ทั้งนี้ ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
2. ให้ สจร. ไปประสานกับคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจร ให้เพิ่มผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวทุกคณะด้วย
3. ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการจัดให้มีป้าย เครื่องหมาย อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หรือจุดล่อแหลมดังกล่าวด้วย
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) รายงานสถานภาพการดำเนินงานแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุการจราจรทางบก สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อปี 2538 สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุการจราจร โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อควบคุมองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ คน ถนน และยานพาหนะ กำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงร้อยละ 30 ภายในปี 2543 และกำหนดยุทธวิธีเพื่อการดำเนินการด้านต่าง ๆ รวม 14 ยุทธวิธี
2. จากสถิติอุบัติเหตุด้านการจราจรทางบกในช่วงเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละปีมีอุบัติเหตุจราจรทางบกเกิดขึ้นเป็นจำนวนสูงมาก ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย และสามารถคำนวณเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้นับเป็นมูลค่ามหาศาล เช่น ในปี พ.ศ. 2543 มีผู้เสียชีวิต 11,988 ราย ผู้บาดเจ็บสาหัส 12,502ราย ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 40,609 ราย มูลค่าทรัพย์สินเสียหายรวม 1,242.20 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้น 105,476.89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.16 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (12 - 16 เมษายน 2544) มีผู้ประสบอุบัติเหตุรวม 29,848 ราย มีผู้เสียชีวิต 489 ราย ผู้บาดเจ็บ29,359 ราย ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีถึง 3.1 เท่า และคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสิ้น 28,134 ล้านบาท
3. ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกมีหลายหน่วยงานแต่การประสานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในองค์รวมยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ทั้งนี้ ในส่วนของคณะกรรมการได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้นหลายชุด
4. การดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ผ่านมา สจร. ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและหาทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกตามทรัพยากรที่พอจะเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะได้มีการเน้นย้ำการดำเนินการในเทศกาลต่าง ๆ ที่มีวันหยุดติดต่อหลายวันและประชาชนมีการเดินทางกลับภูมิลำเนา ท่องเที่ยว และเฉลิมฉลองหนาแน่น รวม 6 กิจกรรม โดยในปี 2544 ได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในหลายรูปแบบมาเป็นลำดับ เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรทางบกดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-