แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รายงานผลการรณรงค์ประหยัดน้ำมันตามโครงการ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" เนื่องในวัน Car Free Day เพิ่มเติม และเห็นชอบแผนการรณรงค์ประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง ของปีงบประมาณ 2544 สรุปได้นี้
1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
สพช. ได้รายงานผลการรณรงค์ตามโครงการ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" ให้คณะรัฐมนตรีได้ทราบแล้ว ในครั้งการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 โดยเป็นการรายงานในส่วนของการวัดผลด้านการจราจร การใช้บริการรถสาธารณะ และคุณภาพอากาศ ซึ่งหลังจากวันที่ 22 กันยายน 2543 สพช. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อโครงการฯ ของประชาชนในกรุงเทพฯ จำนวน 1,200 คน สรุปได้ดังนี้
1.1 กลุ่มผู้เข้าร่วมรณรงค์
1) มีผู้จอดรถไว้บ้านและใช้การเดินทางด้วยวิธีอื่น ร้อยละ 36.7
2) วิธีที่ใช้ในการเดินทางมากที่สุดคือ รถประจำทาง ร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ Car Pool ร้อยละ 15.7
3) ร้อยละ 71.9 ของผู้เข้าร่วมรณรงค์ เห็นว่าควรทำการรณรงค์ในลักษณะนี้เพราะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้รู้จักประหยัด ร้อยละ 13.4 เห็นว่าเป็นการลดจำนวนรถบนถนน
4) ร้อยละ 70.2 ของผู้ร่วมรณรงค์ ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง
5) อุปสรรคเนื่องจากรถประจำทางแน่นมาก และใช้เวลามากในการเดินทาง
6) ผู้เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 94.3 จะร่วมรณรงค์ในครั้งต่อไปด้วย เพราะเป็นการประหยัดเงินช่วยชาติ
7) ผู้เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 70.2 จะใช้วิธีการเดินทางเดิมที่ใช้ในวันที่ 22 กันยายน 2543 ในการเดินทางต่อไป และร้อยละ 26.1 ไม่ใช้วิธีเดิมอีก เพราะไม่สะดวกและเสียเวลาในการเดินทางไปมาก
1.2 กลุ่มผู้ไม่เข้าร่วมรณรงค์
มีผู้ไม่เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 63.3 โดยให้เหตุผลว่า (1) จำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวสำหรับทำธุรกิจร้อยละ 37 (2) บ้านอยู่ไกลต้องใช้รถ ร้อยละ 32.3 (3) ไม่สะดวกเสียเวลา ร้อยละ 12.3 และ (4) ต้องใช้รถในการรับส่งลูก ร้อยละ 10.6
ความเห็นทั่วไป 1) ควรรณรงค์ไม่ใช้รถส่วนตัวเดือนละหนึ่งวัน 2) ให้ สพช. ทำการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น 3) ให้ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้ดีขึ้น 4) เพิ่มระบบขนส่งมวลชนในซอย 5) ขยายรถไฟฟ้าสู่ชานเมือง 6) จัดหาที่จอดรถ เพื่อให้ความสะดวกต่อผู้ต้องการใช้รถส่วนตัวมาต่อรถขนส่งมวลชน 7) ผลักดันนโยบายใช้รถโรงเรียนและรถรับส่งพนักงานให้มากขึ้น ฯลฯ
2. แผนรณรงค์ประหยัดน้ำมัน ปีงบประมาณ 2544
จากผลการประเมินและการสำรวจความเห็นของประชาชนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปได้ว่าการรณรงค์ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" หรือวัน Car Free Day ครั้งแรกของประเทศไทย ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สพช. จึงมีความเห็นว่า การรณรงค์ในลักษณะเช่นนี้ควรจะทำบ่อยครั้งขึ้นและขยายผลไปให้ทั่วประเทศ และได้จัดทำแผนรณรงค์ประหยัดน้ำมัน ปีงบประมาณ 2544 สรุปได้ดังนี้
2.1 นำวิธีการประหยัดน้ำมันหลัก 6 วิธี มาเป็นประเด็นในการรณรงค์ตลอดทั้งปี เพื่อช่วยกันรณรงค์ประหยัดน้ำมัน โดยจัดให้มีกิจกรรมประหยัดน้ำมัน 1 วิธี มารณรงค์อย่างหนัก ทุก ๆ 2 เดือน ดังนี้
เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน รักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพดี เช่น Tune Up ตรวจวัดลมยางและดูแลไส้กรองอากาศให้สะอาด เป็นต้น
เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม ใช้จักรยาน และเดินเท้า
เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม ใช้โทรศัพท์ โทรสาร E-mail แทนการเดินทาง
เดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม วางแผนการเดินทางและขับรถอย่างถูกวิธีเพื่อประหยัดน้ำมัน
เดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม Car Pool
เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน "จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" เป็นการรวมวิธีประหยัดน้ำมันทุกวิธี ซึ่งรวมถึงการใช้รถสาธารณะด้วย
2.2 ทุก ๆ วันที่ 22 ของทุกเดือน จะรณรงค์เรียกร้องให้ทุกคน "จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน"
ทั้งนี้ สพช.ได้เริ่มรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 และจะดำเนินการต่อไป ควบคู่ไปกับแผนการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ปี 2543 ภายใต้โครงการ "นี่สิบ้านหาร 2" ซึ่งจะสิ้นสุดลงในประมาณเดือนมกราคม 2544 และ สพช. จะนำแผนรณรงค์ประหยัดน้ำมันปีงบประมาณ 2544 เสนอให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ภายในเดือนตุลาคม 2543 และคาดว่าจะสามารถเริ่มรณรงค์ตามแผนดังกล่าวได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุด สพช. คณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง" ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สพช. สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก กรุงเทพมหานคร กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ กรมการปกครอง กรมกิจการพลเรือนทหารบก ตำรวจจราจร กรมควบคุมมลพิษ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ ประมาณ 3-4 ท่าน เพื่อร่วมกันกำหนดแผนรณรงค์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดจนประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีการปฏิบัติตามแผนฯ และให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทราบหรือพิจารณาเป็นระยะ ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รายงานผลการรณรงค์ประหยัดน้ำมันตามโครงการ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" เนื่องในวัน Car Free Day เพิ่มเติม และเห็นชอบแผนการรณรงค์ประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง ของปีงบประมาณ 2544 สรุปได้นี้
1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
สพช. ได้รายงานผลการรณรงค์ตามโครงการ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" ให้คณะรัฐมนตรีได้ทราบแล้ว ในครั้งการประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 โดยเป็นการรายงานในส่วนของการวัดผลด้านการจราจร การใช้บริการรถสาธารณะ และคุณภาพอากาศ ซึ่งหลังจากวันที่ 22 กันยายน 2543 สพช. ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อโครงการฯ ของประชาชนในกรุงเทพฯ จำนวน 1,200 คน สรุปได้ดังนี้
1.1 กลุ่มผู้เข้าร่วมรณรงค์
1) มีผู้จอดรถไว้บ้านและใช้การเดินทางด้วยวิธีอื่น ร้อยละ 36.7
2) วิธีที่ใช้ในการเดินทางมากที่สุดคือ รถประจำทาง ร้อยละ 44.8 รองลงมา คือ Car Pool ร้อยละ 15.7
3) ร้อยละ 71.9 ของผู้เข้าร่วมรณรงค์ เห็นว่าควรทำการรณรงค์ในลักษณะนี้เพราะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้รู้จักประหยัด ร้อยละ 13.4 เห็นว่าเป็นการลดจำนวนรถบนถนน
4) ร้อยละ 70.2 ของผู้ร่วมรณรงค์ ไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง
5) อุปสรรคเนื่องจากรถประจำทางแน่นมาก และใช้เวลามากในการเดินทาง
6) ผู้เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 94.3 จะร่วมรณรงค์ในครั้งต่อไปด้วย เพราะเป็นการประหยัดเงินช่วยชาติ
7) ผู้เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 70.2 จะใช้วิธีการเดินทางเดิมที่ใช้ในวันที่ 22 กันยายน 2543 ในการเดินทางต่อไป และร้อยละ 26.1 ไม่ใช้วิธีเดิมอีก เพราะไม่สะดวกและเสียเวลาในการเดินทางไปมาก
1.2 กลุ่มผู้ไม่เข้าร่วมรณรงค์
มีผู้ไม่เข้าร่วมรณรงค์ ร้อยละ 63.3 โดยให้เหตุผลว่า (1) จำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวสำหรับทำธุรกิจร้อยละ 37 (2) บ้านอยู่ไกลต้องใช้รถ ร้อยละ 32.3 (3) ไม่สะดวกเสียเวลา ร้อยละ 12.3 และ (4) ต้องใช้รถในการรับส่งลูก ร้อยละ 10.6
ความเห็นทั่วไป 1) ควรรณรงค์ไม่ใช้รถส่วนตัวเดือนละหนึ่งวัน 2) ให้ สพช. ทำการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น 3) ให้ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้ดีขึ้น 4) เพิ่มระบบขนส่งมวลชนในซอย 5) ขยายรถไฟฟ้าสู่ชานเมือง 6) จัดหาที่จอดรถ เพื่อให้ความสะดวกต่อผู้ต้องการใช้รถส่วนตัวมาต่อรถขนส่งมวลชน 7) ผลักดันนโยบายใช้รถโรงเรียนและรถรับส่งพนักงานให้มากขึ้น ฯลฯ
2. แผนรณรงค์ประหยัดน้ำมัน ปีงบประมาณ 2544
จากผลการประเมินและการสำรวจความเห็นของประชาชนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปได้ว่าการรณรงค์ "22 กันยา จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" หรือวัน Car Free Day ครั้งแรกของประเทศไทย ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ สพช. จึงมีความเห็นว่า การรณรงค์ในลักษณะเช่นนี้ควรจะทำบ่อยครั้งขึ้นและขยายผลไปให้ทั่วประเทศ และได้จัดทำแผนรณรงค์ประหยัดน้ำมัน ปีงบประมาณ 2544 สรุปได้ดังนี้
2.1 นำวิธีการประหยัดน้ำมันหลัก 6 วิธี มาเป็นประเด็นในการรณรงค์ตลอดทั้งปี เพื่อช่วยกันรณรงค์ประหยัดน้ำมัน โดยจัดให้มีกิจกรรมประหยัดน้ำมัน 1 วิธี มารณรงค์อย่างหนัก ทุก ๆ 2 เดือน ดังนี้
เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน รักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพดี เช่น Tune Up ตรวจวัดลมยางและดูแลไส้กรองอากาศให้สะอาด เป็นต้น
เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม ใช้จักรยาน และเดินเท้า
เดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม ใช้โทรศัพท์ โทรสาร E-mail แทนการเดินทาง
เดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม วางแผนการเดินทางและขับรถอย่างถูกวิธีเพื่อประหยัดน้ำมัน
เดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม Car Pool
เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน "จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน" เป็นการรวมวิธีประหยัดน้ำมันทุกวิธี ซึ่งรวมถึงการใช้รถสาธารณะด้วย
2.2 ทุก ๆ วันที่ 22 ของทุกเดือน จะรณรงค์เรียกร้องให้ทุกคน "จอดรถไว้บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน"
ทั้งนี้ สพช.ได้เริ่มรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพดีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 และจะดำเนินการต่อไป ควบคู่ไปกับแผนการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ปี 2543 ภายใต้โครงการ "นี่สิบ้านหาร 2" ซึ่งจะสิ้นสุดลงในประมาณเดือนมกราคม 2544 และ สพช. จะนำแผนรณรงค์ประหยัดน้ำมันปีงบประมาณ 2544 เสนอให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ภายในเดือนตุลาคม 2543 และคาดว่าจะสามารถเริ่มรณรงค์ตามแผนดังกล่าวได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเกิดประโยชน์สูงสุด สพช. คณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการประหยัดน้ำมันในสาขาขนส่ง" ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สพช. สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก กรุงเทพมหานคร กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ กรมการปกครอง กรมกิจการพลเรือนทหารบก ตำรวจจราจร กรมควบคุมมลพิษ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ ประมาณ 3-4 ท่าน เพื่อร่วมกันกำหนดแผนรณรงค์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ตลอดจนประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีการปฏิบัติตามแผนฯ และให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ให้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทราบหรือพิจารณาเป็นระยะ ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-