6. งบประมาณรายจ่ายฯ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ว่าในปี พ.ศ.2544 การจัดสรรภาษีอากร เงินอุดหนุนและรายได้คืนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้รัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ที่ประมาณการรายได้ของรัฐบาลเท่ากับ 805,000.0 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะเท่ากับ 161,000.0 บาท และจากประมาณการรายได้ที่ท้องถิ่นจะจัดเก็บได้จำนวน 98,962.5 ล้านบาท ดังนั้นงบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 62,037.5 ล้านบาท แต่ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2544 นี้ได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้นจำนวน 73,038.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 21.4 ของรายได้รัฐบาล
โดยสรุปแล้ว งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 910,000.0 ล้านบาทนี้ เป็นงบประมาณที่ตอบสนองต่อทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ซึ่งกำหนดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยปรับให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2544 ซึ่งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายภาครัฐเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้านคนและสังคมต่อเนื่องไปอีก ตามทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2544 ที่เน้นความสำคัญ 3 เรื่อง คือ
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ
สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนองตอบทิศทางที่กล่าว ดังตารางต่อไปนี้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำแนกตามทิศทางการจัดสรรงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาททิศทางการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณ สัดส่วนต่องบประมาณรวม 257,363.0 28.31. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน2. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน3. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ 61,348.4160,619.035,395.6 6.717.73.9
14. เรื่อง รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ราย 2 สัปดาห์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ราย 2 สัปดาห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม 2543 (ณ วันที่ 15 มีนาคม 2543) มีจำนวน 300,992.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.00 ของวงเงินงบประมาณ (860,000 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับปีงบประมาณก่อน ปรากฏว่ามีอัตราการเบิกจ่ายสูงกว่าร้อยละ 3.77
15. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงการจัดประโยชน์จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์การเก็บค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าซึ่งเป็นหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้เช่า ดังนี้
1. ระยะเวลาการให้เช่า กรณีที่หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า ซึ่งแต่เดิมทำสัญญาเช่าระยะสั้นปีต่อปีหรือระยะเวลาสามปี ให้กำหนดระยะเวลาการให้เช่าใหม่ เป็นสัญญาเช่าระยะยาวสูงสุดตามที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันคือ 30 ปี เพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าที่จะได้สิทธิในการใช้ที่ดินตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าสามารถวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินในระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนงานของหน่วยงาน ส่วนการให้เช่าที่ดินแก่เอกชนนั้นระยะเวลาการให้เช่าจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้เช่าเป็นราย ๆ ไป และในกรณีที่หน่วยงานผู้เช่าไม่สามารถเช่าตลอดสัญญาได้ ก็สามารถกำหนดในสัญญาให้หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้สถานที่ต่อจนครบตามสัญญาได้
2. กำหนดค่าเช่ารายปีให้สัมพันธ์กับมูลค่าของที่ดินที่ให้เช่า โดยอิงราคาประเมินที่ดินของทางราชการเป็นฐานและกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
2.1 กรณีหน่วยราชการเป็นผู้เช่า เดิมสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ขอกำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินทางราชการ แต่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า หากดำเนินการปรับค่าเช่าในคราวเดียวกันเช่นนั้น ก็จะเป็นภาระแก่เงินงบประมาณของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาทบทวนการปรับปรุงค่าเช่าใหม่ โดยให้เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.2 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไปทุกปีเป็นร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5 จนถึงร้อยละ 2.0 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ดี ราคาประเมินของทางราชการที่นำมาคำนวณดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นราคาประเมินก่อนที่กรมที่ดินจะมีการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ที่ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2543 เมื่อมีการปรับราคาประเมินที่ดินลงแล้ว โดยภาพรวมของประเทศเฉลี่ยแล้วจะลดลงจากเดิมประมาณร้อยละ 15 - 20 ภาระค่าเช่าก็จะลดลงอีก
2.2 กรณีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาประเมินทางราชการ
2.3 กรณีเอกชนเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. การชำระค่าเช่า ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ล่วงหน้าทุกปีตลอดสัญญาเช่า
4. ให้ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างหน่วยราชการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปัจจุบันทั้งหมดทุกรายสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 30 กันยายน 2543 และจะทำสัญญาเช่ากันใหม่เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 คือวันที่ 1 ตุลาคม 2543
5. หากส่วนราชการใดมีความประสงค์จะซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้มีการเจรจาภายหลังการทำสัญญาตามข้อ 4 ซึ่งเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ไปแล้ว
6. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หมายความถึง การเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าอาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าที่ดินและ/หรืออาคารในส่วนภูมิภาค แต่เกณฑ์การปรับปรุงค่าเช่าดังกล่าวจะใช้กับการเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน และจะทำการปรับส่วนอื่น ๆ ในลำดับต่อไป
16. เรื่อง รายงานกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. งบการเงินสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542
สินทรัพย์รวม 42,301.56 ล้านบาท
หนี้สินรวม 40,444.04 ล้านบาท
ส่วนของทุน 1,857.52 ล้านบาท
รายได้รวม 450.55 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายรวม 109.58 ล้านบาท
รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 340.98 ล้านบาท
หมายเหตุ
1.1 จากจำนวนสินทรัพย์รวม 42,301.56 ล้านบาท เป็นเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์สูงถึง 40,246.92 ล้านบาท เนื่องจาก ปรส.ต้องสำรองเงินในการบริหารสภาพคล่อง เพื่อการชำระคืนให้กับสถาบันการเงินที่ขายสินทรัพย์และบางส่วนรอการพิจารณาลงทุน
1.2 จากจำนวนหนี้สินรวม 40,444.04 ล้านบาท เป็นเงินรับแทนสถาบันการเงินจากการจำหน่ายสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และดอกเบี้ยรวม 40,289.71 ล้านบาท ซึ่ง ปรส.จะต้องทยอยชำระคืนให้กับสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งต่อไป
2. รายงานกิจการ
2.1 สรุปผลการจำหน่ายสินทรัพย์ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 186,544.58 ล้านบาท แบ่งเป็น
- มูลค่าสินทรัพย์หลักที่จำหน่ายได้ 152,171.53 ล้านบาท
- มูลค่าสินทรัพย์รองที่จำหน่ายได้ 34,373.05 ล้านบาท รวม 186,544.58 ล้านบาท
2.2 ปรส.ได้ทำการลดขนาดของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2542 เปรียบเทียบกับวันที่ 8 ธันวาคม 2540 มีรายการที่สำคัญ ดังนี้
- จำนวนพนักงานของสถาบันการเงิน ทั้ง 56 แห่ง ลดลงจาก 8,816 คน เหลือ 1,959 คน หรือลดลงร้อยละ 78
- พื้นที่ทำการของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ลดลงจาก 193,970 ตารางเมตร เหลือ 36,019 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ 81
- ค่าเช่าและค่าบริการรายเดือนลดลงเดือนละ 62.28 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 88 ของค่าใช้จ่ายเดิม
2.3 ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2542 ปรส.ไห้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น 27,548 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 24,398.77 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ 749 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 1,940.40 ล้านบาท
- พิจารณาการหักกลบลบหนี้ 630 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 5,080.24 ล้านบาท
- พิจารณาคำขอปลดปลอดจำนองหลักทรัพย์ค้ำประกัน 404 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 1,166.16 ล้านบาท
- อนุมัติคำขอชำระหนี้ปิดบัญชีโดยผ่อนผันการคิดดอกเบี้ย 1,727 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 6,125.53 ล้านบาท
- ช่วยเหลือผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์รายย่อย โดยร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในการปลดจำนองหลักประกัน 24,009 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท
2.4 คณะกรรมการ ปรส. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรเงินคืน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทน ปรส. ผู้เชี่ยวชาญทางบัญชี และผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนรวม 8 คน และที่ปรึกษาอนุกรรมการอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยยอดหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ของเจ้าหนี้แต่ละราย และทำการจัดสรรเงินคืนให้เจ้าหนี้ต่อไป
3. รายงานของผู้สอบบัญชีอิสระ ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 รายได้ค่าใช้จ่ายและกระแสเงินสด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดขององค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตโดยไม่เป็นเงื่อนไขในการแสดงความเห็นว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ดำเนินการชำระบัญชีและขายสินทรัพย์ของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งเป็นไปตามอำนาจที่พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ได้ให้ไว้ ในขั้นตอนการชำระบัญชี องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินควรพิจารณาดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีต่อไป
17. เรื่อง การขอให้นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์กร เทียบเท่าตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายสิริวัฒน์ฯ ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อันอาจทำให้เกิดปัญหาการบริหารงานภายใน ธอส. ประกอบกับบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริหารระดับสูงจะต้องอุทิศอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อร้องเรียนบางเรื่องได้ถูกเผยแพร่ออกไปทางสื่อมวลชน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ ธอส.
ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์กร เทียบเท่ากรรมการผู้จัดการ โดยให้มีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง เท่าเดิม ไปพลางก่อน จนกว่าผลการตรวจสอบสวนจะแล้วเสร็จ โดยกระทรวงการคลังจะแต่งตั้งให้รองกรรมการผู้จัดการรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการไปพลางก่อน
18. เรื่อง แต่งตั้ง
1. ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายรุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ออกไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2543 - 15 มิถุนายน 2544
2. กรรมการอื่นในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้แต่งตั้ง นายธวัชชัย ขยันยิ่ง เลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการเกษตรกรในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร แทน นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ที่ได้ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
3. กรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้ง พันตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ ผู้กำกับการฝ่ายองค์การตำรวจสากล กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แทน นายสาริน สกุลรัตนะ ที่ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชุดใหม่ จำนวน 8 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดสี่ปีตามวาระ ในวันที่ 17 มีนาคม 2543 แล้ว ดังนี้ 1) นายจุมพล ธรรมจรีย์ 2) นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ 3) นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ 4) นายสมยศ เชื้อไทย 5) พันตำรวจเอก รัฐวิทย์ แสนทวีสุข 6) นายชาญวิทย์ สุวรรณะบุณย์ 7) นายโชคชัย อักษรนันท์ และ 8) นายรุจิระ บุนนาค ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
5. อนุมัติให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้ นางสาวเจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษา 10 ชช) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา มีกำหนดเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป หรือเมื่อสำนักงานเป็นอันยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมครบ 3 ปี โดยให้ออกจากราชการไว้ก่อน และไม่ให้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม แต่ให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
6. ข้าราชการการเมืองลาออกจากราชการและแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ 45/2543 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง โดยให้แต่งตั้ง นายอรุณ ศรีจรูญ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล ) สืบแทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ที่ลาออกจากราชการไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
7. ประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้แก่ พลเอกวิโรจน์ แสงสนิท เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 1) นายเสถียร วงศ์วิเชียร 2) นายประเสริฐ สมะลาภา 3) นายจงอาชว์ โพธิสุนทร 4) นายรพี อสัมภินพงศ์ 5) นายอนันต์ วงศ์พานิช 6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานวิภา อินทรทัต 7) นายสมชาติ พรรณพัฒน์ 8) นายประสาน ตันประเสริฐ และ 9) นายถาวร จุณณานนท์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ว่าในปี พ.ศ.2544 การจัดสรรภาษีอากร เงินอุดหนุนและรายได้คืนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีจำนวนคิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้รัฐบาลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ที่ประมาณการรายได้ของรัฐบาลเท่ากับ 805,000.0 ล้านบาท เงินจำนวนนี้จะเท่ากับ 161,000.0 บาท และจากประมาณการรายได้ที่ท้องถิ่นจะจัดเก็บได้จำนวน 98,962.5 ล้านบาท ดังนั้นงบประมาณที่รัฐบาลอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 62,037.5 ล้านบาท แต่ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2544 นี้ได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งสิ้นจำนวน 73,038.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 21.4 ของรายได้รัฐบาล
โดยสรุปแล้ว งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำนวน 910,000.0 ล้านบาทนี้ เป็นงบประมาณที่ตอบสนองต่อทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ซึ่งกำหนดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 โดยปรับให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปี 2544 ซึ่งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายภาครัฐเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจและลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจด้านคนและสังคมต่อเนื่องไปอีก ตามทิศทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2544 ที่เน้นความสำคัญ 3 เรื่อง คือ
1. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ
สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนองตอบทิศทางที่กล่าว ดังตารางต่อไปนี้
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 จำแนกตามทิศทางการจัดสรรงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาททิศทางการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณ สัดส่วนต่องบประมาณรวม 257,363.0 28.31. การกระตุ้นเศรษฐกิจ การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน2. การพัฒนาศักยภาพคน สังคม ชุมชน และคุณภาพชีวิตเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน3. การปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการภาครัฐ 61,348.4160,619.035,395.6 6.717.73.9
14. เรื่อง รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ราย 2 สัปดาห์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ราย 2 สัปดาห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม 2543 (ณ วันที่ 15 มีนาคม 2543) มีจำนวน 300,992.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.00 ของวงเงินงบประมาณ (860,000 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับปีงบประมาณก่อน ปรากฏว่ามีอัตราการเบิกจ่ายสูงกว่าร้อยละ 3.77
15. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนการปรับปรุงการจัดประโยชน์จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์การเก็บค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าซึ่งเป็นหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้เช่า ดังนี้
1. ระยะเวลาการให้เช่า กรณีที่หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า ซึ่งแต่เดิมทำสัญญาเช่าระยะสั้นปีต่อปีหรือระยะเวลาสามปี ให้กำหนดระยะเวลาการให้เช่าใหม่ เป็นสัญญาเช่าระยะยาวสูงสุดตามที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันคือ 30 ปี เพื่อประโยชน์แก่ผู้เช่าที่จะได้สิทธิในการใช้ที่ดินตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้เช่าสามารถวางแผนการใช้ประโยชน์จากที่ดินในระยะยาวให้สอดคล้องกับแผนงานของหน่วยงาน ส่วนการให้เช่าที่ดินแก่เอกชนนั้นระยะเวลาการให้เช่าจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และผู้เช่าเป็นราย ๆ ไป และในกรณีที่หน่วยงานผู้เช่าไม่สามารถเช่าตลอดสัญญาได้ ก็สามารถกำหนดในสัญญาให้หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้สถานที่ต่อจนครบตามสัญญาได้
2. กำหนดค่าเช่ารายปีให้สัมพันธ์กับมูลค่าของที่ดินที่ให้เช่า โดยอิงราคาประเมินที่ดินของทางราชการเป็นฐานและกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้
2.1 กรณีหน่วยราชการเป็นผู้เช่า เดิมสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ขอกำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินทางราชการ แต่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า หากดำเนินการปรับค่าเช่าในคราวเดียวกันเช่นนั้น ก็จะเป็นภาระแก่เงินงบประมาณของประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาทบทวนการปรับปรุงค่าเช่าใหม่ โดยให้เริ่มต้นที่ร้อยละ 0.2 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 และเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไปทุกปีเป็นร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5 จนถึงร้อยละ 2.0 ของราคาประเมินที่ดินทางราชการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ดี ราคาประเมินของทางราชการที่นำมาคำนวณดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นราคาประเมินก่อนที่กรมที่ดินจะมีการปรับปรุงราคาประเมินใหม่ที่ประกาศใช้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2543 เมื่อมีการปรับราคาประเมินที่ดินลงแล้ว โดยภาพรวมของประเทศเฉลี่ยแล้วจะลดลงจากเดิมประมาณร้อยละ 15 - 20 ภาระค่าเช่าก็จะลดลงอีก
2.2 กรณีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 3 ของราคาประเมินทางราชการ
2.3 กรณีเอกชนเป็นผู้เช่า กำหนดค่าเช่ารายปีในอัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ให้เช่า
3. การชำระค่าเช่า ให้หน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ล่วงหน้าทุกปีตลอดสัญญาเช่า
4. ให้ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างหน่วยราชการเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในปัจจุบันทั้งหมดทุกรายสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 30 กันยายน 2543 และจะทำสัญญาเช่ากันใหม่เมื่อเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 คือวันที่ 1 ตุลาคม 2543
5. หากส่วนราชการใดมีความประสงค์จะซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้มีการเจรจาภายหลังการทำสัญญาตามข้อ 4 ซึ่งเริ่มต้นในเดือนตุลาคม 2543 ไปแล้ว
6. การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หมายความถึง การเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าอาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การเช่าที่ดินและ/หรืออาคารในส่วนภูมิภาค แต่เกณฑ์การปรับปรุงค่าเช่าดังกล่าวจะใช้กับการเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน และจะทำการปรับส่วนอื่น ๆ ในลำดับต่อไป
16. เรื่อง รายงานกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. งบการเงินสำหรับงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542
สินทรัพย์รวม 42,301.56 ล้านบาท
หนี้สินรวม 40,444.04 ล้านบาท
ส่วนของทุน 1,857.52 ล้านบาท
รายได้รวม 450.55 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายรวม 109.58 ล้านบาท
รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 340.98 ล้านบาท
หมายเหตุ
1.1 จากจำนวนสินทรัพย์รวม 42,301.56 ล้านบาท เป็นเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์สูงถึง 40,246.92 ล้านบาท เนื่องจาก ปรส.ต้องสำรองเงินในการบริหารสภาพคล่อง เพื่อการชำระคืนให้กับสถาบันการเงินที่ขายสินทรัพย์และบางส่วนรอการพิจารณาลงทุน
1.2 จากจำนวนหนี้สินรวม 40,444.04 ล้านบาท เป็นเงินรับแทนสถาบันการเงินจากการจำหน่ายสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และดอกเบี้ยรวม 40,289.71 ล้านบาท ซึ่ง ปรส.จะต้องทยอยชำระคืนให้กับสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งต่อไป
2. รายงานกิจการ
2.1 สรุปผลการจำหน่ายสินทรัพย์ จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 186,544.58 ล้านบาท แบ่งเป็น
- มูลค่าสินทรัพย์หลักที่จำหน่ายได้ 152,171.53 ล้านบาท
- มูลค่าสินทรัพย์รองที่จำหน่ายได้ 34,373.05 ล้านบาท รวม 186,544.58 ล้านบาท
2.2 ปรส.ได้ทำการลดขนาดของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2542 เปรียบเทียบกับวันที่ 8 ธันวาคม 2540 มีรายการที่สำคัญ ดังนี้
- จำนวนพนักงานของสถาบันการเงิน ทั้ง 56 แห่ง ลดลงจาก 8,816 คน เหลือ 1,959 คน หรือลดลงร้อยละ 78
- พื้นที่ทำการของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ลดลงจาก 193,970 ตารางเมตร เหลือ 36,019 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ 81
- ค่าเช่าและค่าบริการรายเดือนลดลงเดือนละ 62.28 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 88 ของค่าใช้จ่ายเดิม
2.3 ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2542 ปรส.ไห้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปแล้วทั้งสิ้น 27,548 ราย คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 24,398.77 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ 749 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 1,940.40 ล้านบาท
- พิจารณาการหักกลบลบหนี้ 630 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 5,080.24 ล้านบาท
- พิจารณาคำขอปลดปลอดจำนองหลักทรัพย์ค้ำประกัน 404 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 1,166.16 ล้านบาท
- อนุมัติคำขอชำระหนี้ปิดบัญชีโดยผ่อนผันการคิดดอกเบี้ย 1,727 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 6,125.53 ล้านบาท
- ช่วยเหลือผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์รายย่อย โดยร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในการปลดจำนองหลักประกัน 24,009 ราย คิดเป็นจำนวนเงิน 10,000 ล้านบาท
2.4 คณะกรรมการ ปรส. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรเงินคืน ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทน ปรส. ผู้เชี่ยวชาญทางบัญชี และผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนรวม 8 คน และที่ปรึกษาอนุกรรมการอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยยอดหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ของเจ้าหนี้แต่ละราย และทำการจัดสรรเงินคืนให้เจ้าหนี้ต่อไป
3. รายงานของผู้สอบบัญชีอิสระ ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 รายได้ค่าใช้จ่ายและกระแสเงินสด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดขององค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตโดยไม่เป็นเงื่อนไขในการแสดงความเห็นว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้ดำเนินการชำระบัญชีและขายสินทรัพย์ของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการที่ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งเป็นไปตามอำนาจที่พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ได้ให้ไว้ ในขั้นตอนการชำระบัญชี องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินควรพิจารณาดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 แล้วแต่กรณีต่อไป
17. เรื่อง การขอให้นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้นายสิริวัฒน์ พรหมบุรี พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์กร เทียบเท่าตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายสิริวัฒน์ฯ ไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อันอาจทำให้เกิดปัญหาการบริหารงานภายใน ธอส. ประกอบกับบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริหารระดับสูงจะต้องอุทิศอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อร้องเรียนบางเรื่องได้ถูกเผยแพร่ออกไปทางสื่อมวลชน ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความน่าเชื่อถือของกิจการ ธอส.
ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาองค์กร เทียบเท่ากรรมการผู้จัดการ โดยให้มีอัตราเงินเดือนขั้นต่ำ-ขั้นสูง เท่าเดิม ไปพลางก่อน จนกว่าผลการตรวจสอบสวนจะแล้วเสร็จ โดยกระทรวงการคลังจะแต่งตั้งให้รองกรรมการผู้จัดการรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการไปพลางก่อน
18. เรื่อง แต่งตั้ง
1. ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้ขยายเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายรุ่ง แก้วแดง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ออกไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2543 - 15 มิถุนายน 2544
2. กรรมการอื่นในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้แต่งตั้ง นายธวัชชัย ขยันยิ่ง เลขานุการคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการเกษตรกรในคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร แทน นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ที่ได้ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
3. กรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้ง พันตำรวจเอก วิสนุ ปราสาททองโอสถ ผู้กำกับการฝ่ายองค์การตำรวจสากล กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ แทน นายสาริน สกุลรัตนะ ที่ถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชุดใหม่ จำนวน 8 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดสี่ปีตามวาระ ในวันที่ 17 มีนาคม 2543 แล้ว ดังนี้ 1) นายจุมพล ธรรมจรีย์ 2) นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ 3) นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ 4) นายสมยศ เชื้อไทย 5) พันตำรวจเอก รัฐวิทย์ แสนทวีสุข 6) นายชาญวิทย์ สุวรรณะบุณย์ 7) นายโชคชัย อักษรนันท์ และ 8) นายรุจิระ บุนนาค ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
5. อนุมัติให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้ นางสาวเจือจันทร์ จงสถิตอยู่ ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (นักวิชาการศึกษา 10 ชช) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา มีกำหนดเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป หรือเมื่อสำนักงานเป็นอันยุบเลิกเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมครบ 3 ปี โดยให้ออกจากราชการไว้ก่อน และไม่ให้รับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม แต่ให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
6. ข้าราชการการเมืองลาออกจากราชการและแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ 45/2543 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง โดยให้แต่งตั้ง นายอรุณ ศรีจรูญ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล ) สืบแทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ที่ลาออกจากราชการไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
7. ประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ในการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้แก่ พลเอกวิโรจน์ แสงสนิท เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย 1) นายเสถียร วงศ์วิเชียร 2) นายประเสริฐ สมะลาภา 3) นายจงอาชว์ โพธิสุนทร 4) นายรพี อสัมภินพงศ์ 5) นายอนันต์ วงศ์พานิช 6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มานวิภา อินทรทัต 7) นายสมชาติ พรรณพัฒน์ 8) นายประสาน ตันประเสริฐ และ 9) นายถาวร จุณณานนท์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2543 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--