แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเสนอ มติที่ประชุม
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินในประเทศ
1.1 เห็นชอบให้มีการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 เพื่อกันแหล่ง
ถ่านหินเวียงแหงและแหล่งสะบ้าย้อยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าไปพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิต
ไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีการเปิดประมูล แต่ให้ กฟผ. คืนแหล่งงาว และแหล่งสินปุนให้แก่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวง
อุตสาหกรรม เพื่อนำไปเปิดประมูลต่อไป
1.2 เห็นชอบให้กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ให้เอกชนเข้ามาเปิด
ประมูลการขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ในพื้นที่ที่สำรวจพบว่าถ่านหินเบื้องต้นตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. 2510
2. ราคาจำหน่ายไฟฟ้าให้ประเทศเพื่อนบ้าน
เห็นชอบในหลักการให้ราคาจำหน่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ที่จำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในแต่ละจุดเท่ากับอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟภ. จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้
ไฟฟ้าในประเทศตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ารวมกับค่าชดเชยรายได้ต่อหน่วยจำหน่ายของ กฟภ.
ทั้งนี้ กฟภ. และ กฟผ. มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถเจรจาและกำหนดรูปแบบราคาจำหน่ายไฟฟ้าใน
ลักษณะที่อาจแตกต่างจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศไทยได้ภายใต้หลักการดังกล่าว เช่น อาจกำหนดเป็นอัตราคงที่
(Flat Rate) เป็นต้น
3. ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและหนี้สินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3.1 เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและหนี้สินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของ
คณะทำงานศึกษาการแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในระยะยาว
3.2 เห็นชอบการใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" และมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณานโยบาย
พลังงานเป็นผู้พิจารณาทางเลือกการดำเนินการในการใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" หรือ การปรับราคาโดยอัตโนมัติ
4. แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และแผนแม่บทระบบท่อก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3
4.1 เห็นชอบแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนการก่อสร้างระบบท่อ
โดยมีโครงการที่จะอนุมัติในช่วงปี 2544 - 2554 จำนวน 8 โครงการ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 93,060 ล้านบาท
(ณ อัตราแลกเปลี่ยน 45 บาท/เหรียญสหรัฐ)
4.2 เห็นชอบให้ใช้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามข้อ 4.1 เป็นกรอบของการพิจารณาใน
รายละเอียดของโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554 โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มี
ประเด็นนโยบายพิเศษ โดยมีโครงการที่จะขออนุมัติดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554 ดังนี้ คือ
โครงการ กำหนดแล้วเสร็จ
1. โครงการการติดตั้ง Compressor ที่กาญจนบุรี พ.ศ. 2546
2. โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล พ.ศ. 2547
3. โครงการการติดตั้ง Compressor ที่ราชบุรี พ.ศ. 2547
4. โครงการก่อสร้างแท่นผลิตแห่งใหม่ (ERP2) พร้อมติดตั้ง Compressor พ.ศ. 2548
และวางท่อส่งก๊าซฯ จาก ERP2 ไปยัง KP.475
5. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จาก KP.475 ไปยัง ERP- บางปะกง พ.ศ. 2548
6. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย | มาเลเซีย พ.ศ. 2549/2552
7. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จาก KP.475 ไปยังจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2551
8. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 3 ไปยังอำเภอทับสะแก พ.ศ. 2553
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.3 เห็นชอบกับขั้นตอนการนำเสนอ และอนุมัติโครงการ ดังนี้
1) ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เสนอรายละเอียดของโครงการแต่ละโครงการที่จะ
ดำเนินการในช่วงปี 2544 - 2554 ดังกล่าวข้างต้น ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) โดยให้ สศช. รับพิจารณาเฉพาะโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทตามข้อ 4.1
2) ให้ ปตท. จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อขอความเห็นชอบไปยังสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
3) หากไม่มีประเด็นนโยบายที่สำคัญและเป็นโครงการที่กำหนดให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการเอง
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ
4) หากเป็นโครงการที่มีประเด็นนโยบายที่สำคัญให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยผ่าน
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4.4 ให้กระทรวงการคลังรับไปจัดหาเงินกู้และค้ำประกันหนี้ให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทำ
ความตกลงกับกระทรวงการคลังถึงวิธีการจัดหาเงินกู้ดังกล่าว
5. การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศ
5.1 เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท
ไทยออยส์ จำกัด ในระยะสั้นในลักษณะ Technical Synergy
5.2 เห็นชอบแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด โดยให้ ปตท. ถอนตัวออกจากการเป็นผู้ถือหุ้น
ในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด โดยขายหุ้นให้แก่ประชาชน/นักลงทุน หรือ กระทรวงการคลังเมื่อโอกาสเอื้ออำนวย
5.3 เห็นชอบให้กรมสรรพสามิตเร่งรัดการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 101 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ
ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543 ซึ่งกำลังดำเนินการ
อยู่ให้มีการบังคับใช้โดยเร็ว
5.4 มอบหมายให้ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน
แห่งชาติ ร่วมกับโรงกลั่นน้ำมัน รับไปดำเนินการพิจารณาการขยายประเภทวัตถุดิบที่นำเข้ามากลั่น โดยไม่ต้องเสียภาษีให้มี
ขอบเขตครอบคลุมประเภทของวัตถุดิบกว้างขวางขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินในประเทศ
1.1 เห็นชอบให้มีการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 เพื่อกันแหล่ง
ถ่านหินเวียงแหงและแหล่งสะบ้าย้อยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าไปพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการผลิต
ไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีการเปิดประมูล แต่ให้ กฟผ. คืนแหล่งงาว และแหล่งสินปุนให้แก่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวง
อุตสาหกรรม เพื่อนำไปเปิดประมูลต่อไป
1.2 เห็นชอบให้กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ให้เอกชนเข้ามาเปิด
ประมูลการขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ในพื้นที่ที่สำรวจพบว่าถ่านหินเบื้องต้นตามมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. 2510
2. ราคาจำหน่ายไฟฟ้าให้ประเทศเพื่อนบ้าน
เห็นชอบในหลักการให้ราคาจำหน่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ที่จำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในแต่ละจุดเท่ากับอัตราค่าไฟฟ้าที่ กฟภ. จำหน่ายให้แก่ผู้ใช้
ไฟฟ้าในประเทศตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้ารวมกับค่าชดเชยรายได้ต่อหน่วยจำหน่ายของ กฟภ.
ทั้งนี้ กฟภ. และ กฟผ. มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถเจรจาและกำหนดรูปแบบราคาจำหน่ายไฟฟ้าใน
ลักษณะที่อาจแตกต่างจากโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศไทยได้ภายใต้หลักการดังกล่าว เช่น อาจกำหนดเป็นอัตราคงที่
(Flat Rate) เป็นต้น
3. ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและหนี้สินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
3.1 เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวและหนี้สินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของ
คณะทำงานศึกษาการแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวในระยะยาว
3.2 เห็นชอบการใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" และมอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณานโยบาย
พลังงานเป็นผู้พิจารณาทางเลือกการดำเนินการในการใช้ระบบราคา "กึ่งลอยตัว" หรือ การปรับราคาโดยอัตโนมัติ
4. แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และแผนแม่บทระบบท่อก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3
4.1 เห็นชอบแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544 - 2554 ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนการก่อสร้างระบบท่อ
โดยมีโครงการที่จะอนุมัติในช่วงปี 2544 - 2554 จำนวน 8 โครงการ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 93,060 ล้านบาท
(ณ อัตราแลกเปลี่ยน 45 บาท/เหรียญสหรัฐ)
4.2 เห็นชอบให้ใช้แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามข้อ 4.1 เป็นกรอบของการพิจารณาใน
รายละเอียดของโครงการในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554 โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติในระดับนโยบายอีก ยกเว้นโครงการที่มี
ประเด็นนโยบายพิเศษ โดยมีโครงการที่จะขออนุมัติดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554 ดังนี้ คือ
โครงการ กำหนดแล้วเสร็จ
1. โครงการการติดตั้ง Compressor ที่กาญจนบุรี พ.ศ. 2546
2. โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล พ.ศ. 2547
3. โครงการการติดตั้ง Compressor ที่ราชบุรี พ.ศ. 2547
4. โครงการก่อสร้างแท่นผลิตแห่งใหม่ (ERP2) พร้อมติดตั้ง Compressor พ.ศ. 2548
และวางท่อส่งก๊าซฯ จาก ERP2 ไปยัง KP.475
5. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จาก KP.475 ไปยัง ERP- บางปะกง พ.ศ. 2548
6. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย | มาเลเซีย พ.ศ. 2549/2552
7. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จาก KP.475 ไปยังจังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2551
8. โครงการท่อส่งก๊าซฯ จากท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 3 ไปยังอำเภอทับสะแก พ.ศ. 2553
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.3 เห็นชอบกับขั้นตอนการนำเสนอ และอนุมัติโครงการ ดังนี้
1) ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เสนอรายละเอียดของโครงการแต่ละโครงการที่จะ
ดำเนินการในช่วงปี 2544 - 2554 ดังกล่าวข้างต้น ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) โดยให้ สศช. รับพิจารณาเฉพาะโครงการที่อยู่ในแผนแม่บทตามข้อ 4.1
2) ให้ ปตท. จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อขอความเห็นชอบไปยังสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
3) หากไม่มีประเด็นนโยบายที่สำคัญและเป็นโครงการที่กำหนดให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการเอง
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ
4) หากเป็นโครงการที่มีประเด็นนโยบายที่สำคัญให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยผ่าน
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
4.4 ให้กระทรวงการคลังรับไปจัดหาเงินกู้และค้ำประกันหนี้ให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยทำ
ความตกลงกับกระทรวงการคลังถึงวิธีการจัดหาเงินกู้ดังกล่าว
5. การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันของประเทศ
5.1 เห็นชอบแนวทางความร่วมมือระหว่างบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท
ไทยออยส์ จำกัด ในระยะสั้นในลักษณะ Technical Synergy
5.2 เห็นชอบแนวทางในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด โดยให้ ปตท. ถอนตัวออกจากการเป็นผู้ถือหุ้น
ในบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด โดยขายหุ้นให้แก่ประชาชน/นักลงทุน หรือ กระทรวงการคลังเมื่อโอกาสเอื้ออำนวย
5.3 เห็นชอบให้กรมสรรพสามิตเร่งรัดการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 101 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ
ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543 ซึ่งกำลังดำเนินการ
อยู่ให้มีการบังคับใช้โดยเร็ว
5.4 มอบหมายให้ กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงาน
แห่งชาติ ร่วมกับโรงกลั่นน้ำมัน รับไปดำเนินการพิจารณาการขยายประเภทวัตถุดิบที่นำเข้ามากลั่น โดยไม่ต้องเสียภาษีให้มี
ขอบเขตครอบคลุมประเภทของวัตถุดิบกว้างขวางขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-