คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการ ครั้งที่ กพบ.3/2544 รวม 2 เรื่อง มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT)
เห็นชอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือตามกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่องสงขลา - ปินัง - เมดาน ซึ่งกำหนดรูปแบบความร่วมมือสามฝ่ายเป็น 6 รูปแบบ พร้อมกำหนด lead country คือ
รูปแบบที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวพื้นที่สะพานเศรษฐกิจ สงขลา - ปีนัง - เมดานประเทศนำ : มาเลเซีย หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รูปแบบที่ 2 การริเริ่มพัฒนาโครงการตลาดกลางขายส่งสินค้าชายแดน ประเทศนำ : มาเลเซีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การคลังสินค้า
รุปแบบที่ 3 การดำเนินระบบตลาดเสรี เช่น เขตโทรคมนาคมพิเศษ เป็นต้น ประเทศนำ : ไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน
รูปแบบที่ 4 การพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยว ประเทศนำ : ไทย หน่วยงาน ไทยที่เกี่ยวข้อง : การท่องเที่ยว
รูปแบบที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบสหสาขา ประเทศนำ : อินโดนีเซีย หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง : คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์กับประเทศเพื่อนบ้าน
รูปแบบที่ 6 การพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องแนวพื้นที่สะพานเศรษฐกิจ ประเทศนำ : อินโดนีเซีย หน่วยงาน ไทยที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.1 เห็นชอบผลการประชุมไตรภาคีระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 และในส่วนของกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่อง สงขลา - ปีนัง - เมดาน ในยุทธศาสตร์ร่วมมือทั้ง 6 รูปแบบที่ประเทศไทยรับเป็น lead country ในรูปแบบที่ 3 การดำเนินระบบตลาดเสรี ซึ่งระยะแรกเน้นเขตโทรคมนาคมพิเศษโดยให้ความสำคัญกับการให้บริการและราคาบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่ IMT - GT และรูปแบบที่ 4 การพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ IMT - GT มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบรูปแบบที่ 3 และรูปแบบที่ 4 ตามลำดับ ในการประสานงานกับอินโดนีเซีย และมาเลเซียในการจัดประชุมเตรียมรายละเอียดแผนงาน และแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติต่อไป
1.2 การแปลงแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมอบหมายให้ สพบ.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และทำความตกลงเกี่ยวกับการประมาณการค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะแผนงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2545 กับสำนักงบประมาณในรายละเอียดต่อไป พร้อมทั้งรับข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ กพบ. ไปดำเนินการด้วย
2. แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)ในการพัฒนาและก่อสร้างเส้นทางเชียงของ (เชียงราย) - ห้วยทราย - (สปป.ลาว) - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น - เชียงรุ้ง(จีน) - คุนหมิง และแผนการใช้กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้านภายใต้แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) โดยเห็นควรจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และอนุกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ กรมทางหลวง กรมวิเทศสหการ สำนักเศรษฐกิจการคลังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สพบ./สศช. และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินและจำนวนเงินที่เหมาะสมในการเพิ่มเงินกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (สชพ.) ตามความจำเป็นเพื่อสนับสนุนโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงของอนุภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
1. แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย (IMT - GT)
เห็นชอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือตามกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่องสงขลา - ปินัง - เมดาน ซึ่งกำหนดรูปแบบความร่วมมือสามฝ่ายเป็น 6 รูปแบบ พร้อมกำหนด lead country คือ
รูปแบบที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแนวพื้นที่สะพานเศรษฐกิจ สงขลา - ปีนัง - เมดานประเทศนำ : มาเลเซีย หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รูปแบบที่ 2 การริเริ่มพัฒนาโครงการตลาดกลางขายส่งสินค้าชายแดน ประเทศนำ : มาเลเซีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร องค์การคลังสินค้า
รุปแบบที่ 3 การดำเนินระบบตลาดเสรี เช่น เขตโทรคมนาคมพิเศษ เป็นต้น ประเทศนำ : ไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน
รูปแบบที่ 4 การพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยว ประเทศนำ : ไทย หน่วยงาน ไทยที่เกี่ยวข้อง : การท่องเที่ยว
รูปแบบที่ 5 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบสหสาขา ประเทศนำ : อินโดนีเซีย หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง : คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากรมนุษย์กับประเทศเพื่อนบ้าน
รูปแบบที่ 6 การพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องแนวพื้นที่สะพานเศรษฐกิจ ประเทศนำ : อินโดนีเซีย หน่วยงาน ไทยที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.1 เห็นชอบผลการประชุมไตรภาคีระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 และในส่วนของกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่อง สงขลา - ปีนัง - เมดาน ในยุทธศาสตร์ร่วมมือทั้ง 6 รูปแบบที่ประเทศไทยรับเป็น lead country ในรูปแบบที่ 3 การดำเนินระบบตลาดเสรี ซึ่งระยะแรกเน้นเขตโทรคมนาคมพิเศษโดยให้ความสำคัญกับการให้บริการและราคาบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในพื้นที่ IMT - GT และรูปแบบที่ 4 การพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ IMT - GT มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสาร และโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบรูปแบบที่ 3 และรูปแบบที่ 4 ตามลำดับ ในการประสานงานกับอินโดนีเซีย และมาเลเซียในการจัดประชุมเตรียมรายละเอียดแผนงาน และแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติต่อไป
1.2 การแปลงแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมอบหมายให้ สพบ.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และทำความตกลงเกี่ยวกับการประมาณการค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะแผนงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2545 กับสำนักงบประมาณในรายละเอียดต่อไป พร้อมทั้งรับข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ กพบ. ไปดำเนินการด้วย
2. แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)ในการพัฒนาและก่อสร้างเส้นทางเชียงของ (เชียงราย) - ห้วยทราย - (สปป.ลาว) - หลวงน้ำทา - บ่อเต้น - เชียงรุ้ง(จีน) - คุนหมิง และแผนการใช้กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้านภายใต้แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) โดยเห็นควรจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และอนุกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ กรมทางหลวง กรมวิเทศสหการ สำนักเศรษฐกิจการคลังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สพบ./สศช. และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินและจำนวนเงินที่เหมาะสมในการเพิ่มเงินกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (สชพ.) ตามความจำเป็นเพื่อสนับสนุนโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้านดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงของอนุภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-