แท็ก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรี
กรมศุลกากร
ทำเนียบรัฐบาล--26 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ให้บริการตามขั้นตอนการส่งออก ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมศุลกากร จัดส่งบุคลากรเข้าปฏิบัติการในศูนย์ฯ โดยดำเนินการในรูปแบบเต็มคณะที่สามารถให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จภายในศูนย์ฯ โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการเพื่อปรับปรุงในการจัดตั้งและดำเนินการของศูนย์ต่อไปด้วย
โครงการดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 พัฒนารูปแบบ วิธีการ และสร้างมาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทย
1.2 ลดขั้นตอนและข้อจำกัดด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งออก
1.3 เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าผักและผลไม้ในประเทศ
1.4 พัฒนาตลาดกลางผักและผลไม้ไทยให้สามารถเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป้าหมาย
จัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกในระยะเริ่มต้น 1 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นในเชิงเศรษฐกิจการค้าหรือเพื่อเป็นการกระตุ้นการแข่งขัน อาจส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
3. รูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ฯ
ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ และจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จแก่ผู้ส่งออก ผู้ค้า และเกษตรกร ในรูปแบบ One Stop Service โดยแบ่งการดำเนินงานให้บริการออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.1 หน่วยงานให้บริการภาครัฐ มีหน้าที่ให้บริการตรวจสอบสินค้าและออกเอกสารสำคัญในการส่งออกประกอบด้วย หน่วยงานตรวจสอบโรคพืชและแมลง กรมวิชาการเกษตร หน่วยงานตรวจสอบสารปนเปื้อนและสารพิษตกค้าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน่วยงานรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ หน่วยงานตรวจปล่อยสินค้า กรมศุลกากร
3.2 หน่วยงานให้บริการภาคเอกชน มีหน้าที่บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออก โดยจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่จำเป็นไว้บริการในเบื้องต้น
4. สินค้าที่จะใช้บริการในศูนย์ฯ
สินค้าที่สามารถใช้บริการในศูนย์ ได้แก่ ผักสด ผักแช่เย็นและแช่แข็ง ผลไม้สด ผลไม้แช่เย็นและแช่แข็งไม้ดอกไม้ประดับ และอาหารเบ็ดเตล็ดชนิดอื่น ๆ เช่น อาหารกลุ่มเครื่องเทศ เป็นต้น
5. หลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์ฯ
5.1 เป็นตลาดกลางผักและผลไม้ในการส่งเสริมของกรมการค้าภายใน ที่มีตลาดภายในรองรับและสามารถกระจายสินค้าที่เหลือหรือตกค้างจากการส่งออก โดยมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ไร่ และมีสภาพการคมนาคมสะดวกต่อการขนส่ง และมีระยะทางใกล้จุดส่งออกที่สำคัญ (ท่าอากาศยานดอนเมือง) และมีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป
5.2 ตลาดกลางในการส่งเสริมฯ (ผู้จัดตั้งศูนย์ฯ) ต้องจัดหาสถานที่และอาคารปฏิบัติการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานแก่ภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 3,500 ตารางเมตร โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
5.3 ผู้จัดตั้งศูนย์ฯ สามารถใช้เครื่องหมายการค้า Perishable One Stop Service Export Center, POSSEC ซึ่งกรมการค้าภายในจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายต่อไป
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน (เจ้าของโครงการ) ประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการด้านการส่งออกอย่างครบวงจรภายในศูนย์ฯ
6.2 กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน) จัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2544 เพื่อจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยงานบริการภาครัฐที่เกี่ยวข้องภายในศูนย์ฯ
6.3 กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน) จัดตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก" ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี สมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้แห่งประเทศไทย และตัวแทนผู้ส่งออก โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ประกาศเชิญชวนเอกชนที่มีความพร้อม แจ้งความจำนงในการเข้ารับคัดเลือกเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ฯ
2) พิจารณาคัดเลือก และประกาศผลการคัดเลือกเอกชนที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์ฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการศูนย์
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์เพื่อส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการภายในศูนย์ฯ
สำหรับการบริการของหน่วยราชการในศูนย์ฯ เป็นไปในรูปแบบกึ่งเอกชนเมื่อศูนย์ฯ ดำเนินการไปได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในหน่วยงานบริการของภาครัฐและอื่น ๆ ผู้ดำเนินการศูนย์ฯจะเป็นผู้รับผิดชอบ และให้อยู่ในบัญชีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของศูนย์ฯ หรือตามความเหมาะสมตามแผนปฏิบัติงาน
7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับจากวันที่เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการ
8. งบประมาณค่าใช้จ่าย
ใช้เงินงบประมาณโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวน 27.3 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และอื่นๆ ตามความจำเป็น ในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยงานบริการของภาครัฐในศูนย์ฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ให้บริการตามขั้นตอนการส่งออก ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมศุลกากร จัดส่งบุคลากรเข้าปฏิบัติการในศูนย์ฯ โดยดำเนินการในรูปแบบเต็มคณะที่สามารถให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จภายในศูนย์ฯ โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการเพื่อปรับปรุงในการจัดตั้งและดำเนินการของศูนย์ต่อไปด้วย
โครงการดังกล่าวมีหลักเกณฑ์และสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 พัฒนารูปแบบ วิธีการ และสร้างมาตรฐานในการส่งออกสินค้าเกษตรไทย
1.2 ลดขั้นตอนและข้อจำกัดด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งออก
1.3 เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าผักและผลไม้ในประเทศ
1.4 พัฒนาตลาดกลางผักและผลไม้ไทยให้สามารถเป็นแหล่งรวบรวมและกระจายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป้าหมาย
จัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกในระยะเริ่มต้น 1 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือปริมณฑล ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นในเชิงเศรษฐกิจการค้าหรือเพื่อเป็นการกระตุ้นการแข่งขัน อาจส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
3. รูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ฯ
ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฯ และจัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อให้บริการอย่างเบ็ดเสร็จแก่ผู้ส่งออก ผู้ค้า และเกษตรกร ในรูปแบบ One Stop Service โดยแบ่งการดำเนินงานให้บริการออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
3.1 หน่วยงานให้บริการภาครัฐ มีหน้าที่ให้บริการตรวจสอบสินค้าและออกเอกสารสำคัญในการส่งออกประกอบด้วย หน่วยงานตรวจสอบโรคพืชและแมลง กรมวิชาการเกษตร หน่วยงานตรวจสอบสารปนเปื้อนและสารพิษตกค้าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน่วยงานรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ หน่วยงานตรวจปล่อยสินค้า กรมศุลกากร
3.2 หน่วยงานให้บริการภาคเอกชน มีหน้าที่บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออก โดยจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่จำเป็นไว้บริการในเบื้องต้น
4. สินค้าที่จะใช้บริการในศูนย์ฯ
สินค้าที่สามารถใช้บริการในศูนย์ ได้แก่ ผักสด ผักแช่เย็นและแช่แข็ง ผลไม้สด ผลไม้แช่เย็นและแช่แข็งไม้ดอกไม้ประดับ และอาหารเบ็ดเตล็ดชนิดอื่น ๆ เช่น อาหารกลุ่มเครื่องเทศ เป็นต้น
5. หลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์ฯ
5.1 เป็นตลาดกลางผักและผลไม้ในการส่งเสริมของกรมการค้าภายใน ที่มีตลาดภายในรองรับและสามารถกระจายสินค้าที่เหลือหรือตกค้างจากการส่งออก โดยมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ไร่ และมีสภาพการคมนาคมสะดวกต่อการขนส่ง และมีระยะทางใกล้จุดส่งออกที่สำคัญ (ท่าอากาศยานดอนเมือง) และมีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาต่อไป
5.2 ตลาดกลางในการส่งเสริมฯ (ผู้จัดตั้งศูนย์ฯ) ต้องจัดหาสถานที่และอาคารปฏิบัติการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานแก่ภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 3,500 ตารางเมตร โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
5.3 ผู้จัดตั้งศูนย์ฯ สามารถใช้เครื่องหมายการค้า Perishable One Stop Service Export Center, POSSEC ซึ่งกรมการค้าภายในจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายต่อไป
6. วิธีการดำเนินงาน
6.1 กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน (เจ้าของโครงการ) ประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ให้บริการด้านการส่งออกอย่างครบวงจรภายในศูนย์ฯ
6.2 กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน) จัดทำคำของบประมาณประจำปีงบประมาณ 2544 เพื่อจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยงานบริการภาครัฐที่เกี่ยวข้องภายในศูนย์ฯ
6.3 กระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน) จัดตั้ง "คณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก" ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานได้แก่ กรมการค้าภายใน กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการค้าต่างประเทศ กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี สมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้แห่งประเทศไทย และตัวแทนผู้ส่งออก โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) ประกาศเชิญชวนเอกชนที่มีความพร้อม แจ้งความจำนงในการเข้ารับคัดเลือกเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ฯ
2) พิจารณาคัดเลือก และประกาศผลการคัดเลือกเอกชนที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งศูนย์ฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการศูนย์
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์เพื่อส่งมอบแก่หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการภายในศูนย์ฯ
สำหรับการบริการของหน่วยราชการในศูนย์ฯ เป็นไปในรูปแบบกึ่งเอกชนเมื่อศูนย์ฯ ดำเนินการไปได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในหน่วยงานบริการของภาครัฐและอื่น ๆ ผู้ดำเนินการศูนย์ฯจะเป็นผู้รับผิดชอบ และให้อยู่ในบัญชีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของศูนย์ฯ หรือตามความเหมาะสมตามแผนปฏิบัติงาน
7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระยะเวลาโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 15 ปี นับจากวันที่เริ่มเปิดดำเนินการให้บริการ
8. งบประมาณค่าใช้จ่าย
ใช้เงินงบประมาณโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2544 จำนวน 27.3 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และอื่นๆ ตามความจำเป็น ในการสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยงานบริการของภาครัฐในศูนย์ฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-