ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า ธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นการรับโอนหนี้ทางการค้า ซึ่งเป็นการเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจได้ทางหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ามีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดหาหรือผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดปัจจุบันการดำเนินธุรกิจแฟ็กเตอริงยังอยู่ในวงจำกัดเนื่องจากขาดมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นการเฉพาะ จึงทำให้มีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญหลายประการที่ทำให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น ไม่สามารถกำหนดได้ว่าสัญญาแฟ็กเตอริงเป็นสัญญาประการใด ระหว่างสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีอายุความที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องระยะเวลาที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ และเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจแฟ็กเตอริงดำเนินไปได้โดยไม่มีอุปสรรค และเป็นกลไกเสริมระบบเครดิตของประเทศ เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในอันที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องและแหล่งเงินทุน รวมทั้งเพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคจากการที่กฎหมายในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนและมีปัญหาในการตีความกรณีมีการฟ้องคดี
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยาม "ธุรกิจแฟ็กเตอริง" หมายความว่า การที่บริษัทแฟ็กเตอร์ดำเนินการรับโอนหนี้ทางการค้าจากลูกค้า เพื่อทำธุรกรรมกับลูกค้าแต่ละรายอย่างน้อยสองในสี่ธุรกรรมคือ การให้สินเชื่อ การเรียกเก็บหนี้ทางการค้าการบริหารบัญชีลูกหนี้ หรือการค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้
2. กำหนดขอบเขตให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นทางการค้าปกติของตน ที่ได้มีการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและมีทุนจดทะเบียนอันได้ชำระเต็มแล้ว หรือทุนประเดิมไม่น้อยกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแต่ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
3. กำหนดมาตรการส่งเสริมการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง
3.1 บริษัทแฟ็กเตอร์สามารถคิดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่จะต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในสัญญาแฟ็กเตอริง
3.2 แม้ว่าในสัญญาระหว่างลูกค้าและลูกหนี้จะมีข้อกำหนดเรื่องการห้ามโอนหนี้ทางการค้าไว้ แต่ลูกค้าสามารถที่จะโอนหนี้ดังกล่าวให้กับบริษัทแฟ็กเตอร์ได้ ซึ่งการโอนหนี้ดังกล่าวนั้นจะมีผลสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ลูกค้ายังคงมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อลูกหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการนั้นทุกประการ
3.3 สิทธิเรียกร้องตามสัญญาแฟ็กเตอริงนั้นมีอายุความ 5 ปี
3.4 หนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบถึงการโอนหนี้ทางการค้าให้แก่บริษัทแฟ็กเตอร์นั้นมีความหมาย รวมถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออื่นทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถแปลงเสนอเป็นเอกสาร ทั้งนี้หนังสือบอกกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้ไม่จำเป็นต้องมีการลงลายมือชื่อแต่อย่างใด
4. กำหนดมาตรการคุ้มครองลูกค้าและลูกหนี้
4.1 กำหนดให้สัญญาแฟ็กเตอริงจะต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของการทำสัญญาแฟ็กเตอริงระหว่างตนเองกับบริษัทแฟ็กเตอร์
4.2 กำหนดให้บริษัทแฟ็กเตอร์มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนตามสัญญาแฟ็กเตอริงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนที่จะมีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
4.3 การโอนหนี้ทางการค้าตามสัญญาแฟ็กเตอริงจะสามารถใช้บังคับกับลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวการโอนหนี้นั้นให้แก่ลูกหนี้ทราบแล้วตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมายนี้
4.4 หากบริษัทแฟ็กเตอร์เป็นผู้เรียกร้องหนี้ทางการค้าจากลูกหนี้ ลูกหนี้สามารถยกข้อต่อสู้ที่มีต่อลูกค้าตามสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ทางการค้า ขึ้นต่อสู่กับบริษัทแฟ็กเตอร์ได้เสมือนหนึ่งว่าลูกค้าเป็นผู้เรียกร้องหนี้ทางการค้านั้นเอง
4.5 หากลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอื่นใดกับลูกค้าก่อนที่จะมีการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ลูกหนี้ทราบ ลูกหนี้สามารถนำสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบกับสิทธิเรียกร้องในหนี้ทางการค้าของบริษัทแฟ็กเตอร์ได้เช่นกัน
5. เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด หรือกระทำการในลักษณะที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
6. กำหนดให้มีบทลงโทษ สำหรับผู้ถูกเพิกถอนทะเบียนที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการทีนายทะเบียนกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า ธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นการรับโอนหนี้ทางการค้า ซึ่งเป็นการเสริมสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจได้ทางหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ามีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดหาหรือผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดปัจจุบันการดำเนินธุรกิจแฟ็กเตอริงยังอยู่ในวงจำกัดเนื่องจากขาดมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ประกอบกับไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นการเฉพาะ จึงทำให้มีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญหลายประการที่ทำให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงไม่ขยายตัวเท่าที่ควร เช่น ไม่สามารถกำหนดได้ว่าสัญญาแฟ็กเตอริงเป็นสัญญาประการใด ระหว่างสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีอายุความที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องระยะเวลาที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้ และเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจแฟ็กเตอริงดำเนินไปได้โดยไม่มีอุปสรรค และเป็นกลไกเสริมระบบเครดิตของประเทศ เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในอันที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องและแหล่งเงินทุน รวมทั้งเพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคจากการที่กฎหมายในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนและมีปัญหาในการตีความกรณีมีการฟ้องคดี
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดนิยาม "ธุรกิจแฟ็กเตอริง" หมายความว่า การที่บริษัทแฟ็กเตอร์ดำเนินการรับโอนหนี้ทางการค้าจากลูกค้า เพื่อทำธุรกรรมกับลูกค้าแต่ละรายอย่างน้อยสองในสี่ธุรกรรมคือ การให้สินเชื่อ การเรียกเก็บหนี้ทางการค้าการบริหารบัญชีลูกหนี้ หรือการค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้
2. กำหนดขอบเขตให้ใช้บังคับกับนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นทางการค้าปกติของตน ที่ได้มีการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและมีทุนจดทะเบียนอันได้ชำระเต็มแล้ว หรือทุนประเดิมไม่น้อยกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดแต่ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
3. กำหนดมาตรการส่งเสริมการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง
3.1 บริษัทแฟ็กเตอร์สามารถคิดดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่จะต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในสัญญาแฟ็กเตอริง
3.2 แม้ว่าในสัญญาระหว่างลูกค้าและลูกหนี้จะมีข้อกำหนดเรื่องการห้ามโอนหนี้ทางการค้าไว้ แต่ลูกค้าสามารถที่จะโอนหนี้ดังกล่าวให้กับบริษัทแฟ็กเตอร์ได้ ซึ่งการโอนหนี้ดังกล่าวนั้นจะมีผลสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ลูกค้ายังคงมีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อลูกหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการนั้นทุกประการ
3.3 สิทธิเรียกร้องตามสัญญาแฟ็กเตอริงนั้นมีอายุความ 5 ปี
3.4 หนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบถึงการโอนหนี้ทางการค้าให้แก่บริษัทแฟ็กเตอร์นั้นมีความหมาย รวมถึงโทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออื่นทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถแปลงเสนอเป็นเอกสาร ทั้งนี้หนังสือบอกกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้ไม่จำเป็นต้องมีการลงลายมือชื่อแต่อย่างใด
4. กำหนดมาตรการคุ้มครองลูกค้าและลูกหนี้
4.1 กำหนดให้สัญญาแฟ็กเตอริงจะต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของการทำสัญญาแฟ็กเตอริงระหว่างตนเองกับบริษัทแฟ็กเตอร์
4.2 กำหนดให้บริษัทแฟ็กเตอร์มีหน้าที่ต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบถึงการแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนตามสัญญาแฟ็กเตอริงล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบสี่วันก่อนที่จะมีการแก้ไข เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
4.3 การโอนหนี้ทางการค้าตามสัญญาแฟ็กเตอริงจะสามารถใช้บังคับกับลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวการโอนหนี้นั้นให้แก่ลูกหนี้ทราบแล้วตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมายนี้
4.4 หากบริษัทแฟ็กเตอร์เป็นผู้เรียกร้องหนี้ทางการค้าจากลูกหนี้ ลูกหนี้สามารถยกข้อต่อสู้ที่มีต่อลูกค้าตามสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้ทางการค้า ขึ้นต่อสู่กับบริษัทแฟ็กเตอร์ได้เสมือนหนึ่งว่าลูกค้าเป็นผู้เรียกร้องหนี้ทางการค้านั้นเอง
4.5 หากลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอื่นใดกับลูกค้าก่อนที่จะมีการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ลูกหนี้ทราบ ลูกหนี้สามารถนำสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักกลบกับสิทธิเรียกร้องในหนี้ทางการค้าของบริษัทแฟ็กเตอร์ได้เช่นกัน
5. เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงไม่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด หรือกระทำการในลักษณะที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
6. กำหนดให้มีบทลงโทษ สำหรับผู้ถูกเพิกถอนทะเบียนที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการทีนายทะเบียนกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-