ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งเป็นการรวบรวมและปรับปรุงจากหลักการของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่กำหนดเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และร่างพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงรายละเอียด แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" "ธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์" "รัฐมนตรี"
2. คงบทบัญญัติในส่วนแรกของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่กำหนดเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดเป็นหมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มบทบัญญัติกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการในการลงลายมือชื่อ การเก็บรักษาต้นฉบับหรือการกระทำใดในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานให้เป็นกรณีที่เชื่อถือได้และมีผลทางกฎหมาย เพื่อที่จะสามารถกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทางเทคนิคที่จะยอมรับความถูกต้องของวิธีการที่กระทำได้
3. เพิ่มหมวด 2 การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดในลักษณะเป็นบทบัญญัติกลางที่สามารถนำไปปรับใช้กับการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความเห็นรวมถึงการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ด้วย ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นในการตราพระราชกฤษฎีกาว่า การใดมีความจำเป็นต้องควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจ รวมทั้งพิจารณาระดับการควบคุมดูแลว่าควรจะเป็นการแจ้งให้ทราบหรือการอนุญาตซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติต่อไป
4. เพิ่มหมวด 3 ให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้พิจารณาให้มีการพัฒนาด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำกับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานธุรการ
5. เพิ่มหมวด 4 บทกำหนดโทษ โดยกำหนดให้มีทั้งโทษจำคุกและปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งเป็นการรวบรวมและปรับปรุงจากหลักการของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่กำหนดเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และร่างพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงรายละเอียด แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มบทนิยามคำว่า "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์" "ธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์" "รัฐมนตรี"
2. คงบทบัญญัติในส่วนแรกของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ที่กำหนดเฉพาะเรื่องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดเป็นหมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มบทบัญญัติกำหนดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการในการลงลายมือชื่อ การเก็บรักษาต้นฉบับหรือการกระทำใดในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานให้เป็นกรณีที่เชื่อถือได้และมีผลทางกฎหมาย เพื่อที่จะสามารถกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทางเทคนิคที่จะยอมรับความถูกต้องของวิธีการที่กระทำได้
3. เพิ่มหมวด 2 การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดในลักษณะเป็นบทบัญญัติกลางที่สามารถนำไปปรับใช้กับการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความเห็นรวมถึงการรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ด้วย ทั้งนี้ โดยให้คณะกรรมการธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นในการตราพระราชกฤษฎีกาว่า การใดมีความจำเป็นต้องควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจ รวมทั้งพิจารณาระดับการควบคุมดูแลว่าควรจะเป็นการแจ้งให้ทราบหรือการอนุญาตซึ่งจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ปฏิบัติต่อไป
4. เพิ่มหมวด 3 ให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้พิจารณาให้มีการพัฒนาด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำกับการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานธุรการ
5. เพิ่มหมวด 4 บทกำหนดโทษ โดยกำหนดให้มีทั้งโทษจำคุกและปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-