ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการเจรจาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงิน รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมาย สำหรับโครงการดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้เจรจาในรายละเอียดของสัญญาเงินกู้ดังกล่าว พร้อมกับปรับขอบเขตและวงเงินจาก 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้อนุมัติแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2543 (ครั้งที่ 1) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ธนาคารพัฒนาเอเชียตกลงให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในรูปเงินกู้ (Technical Assistance Loan : TA Loan) จำนวน 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 15 ปี สำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ภายใต้ TA Loan ดังกล่าวจะได้มีการผนวกความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant) อีกจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. วัตถุประสงค์ของความช่วยเหลือมี ดังนี้
2.1 ในส่วนของเงินกู้ 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- เพื่อให้ความช่วยเหลือการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ)
2.2 ในส่วนความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 3 ล้านหรียญสหรัฐฯ
- เพื่อให้ความช่วยเหลือการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
3. เงื่อนไขเงินกู้ดังกล่าว เป็นไปตามมาตรฐานที่ธนาคารพัฒนาเอเซียกำหนดให้กู้แก่ประเทศสมาชิกทั่วไป และเป็นเช่นเดียวกับโครงการต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเคยกู้มาแล้ว
รัฐบาลไทยต้องสมทบเงินจำนวน 1.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของเงินกู้ และ 1.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของเงินช่วยเหลือ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ผู้กู้ต้องสมทบเงินร้อยละ 30 ของวงเงินทั้งหมดของโครงการดังกล่าว สำหรับประเด็นนี้ รัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณสมทบเพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เพิ่มทุนใน บอย. จำนวน 2,500 ล้านบาท และใน บสย. จำนวน 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการเจรจาเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้กระทรวงการคลังในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกู้เงินจากธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงิน รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมาย สำหรับโครงการดังกล่าวข้างต้น
ทั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้เจรจาในรายละเอียดของสัญญาเงินกู้ดังกล่าว พร้อมกับปรับขอบเขตและวงเงินจาก 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้อนุมัติแผนการก่อหนี้ฯ ประจำปีงบประมาณ 2543 (ครั้งที่ 1) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ธนาคารพัฒนาเอเชียตกลงให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในรูปเงินกู้ (Technical Assistance Loan : TA Loan) จำนวน 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 15 ปี สำหรับโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ภายใต้ TA Loan ดังกล่าวจะได้มีการผนวกความช่วยเหลือแบบให้เปล่า (Grant) อีกจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. วัตถุประสงค์ของความช่วยเหลือมี ดังนี้
2.1 ในส่วนของเงินกู้ 4.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- เพื่อให้ความช่วยเหลือการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บรรษัทฯ)
2.2 ในส่วนความช่วยเหลือแบบให้เปล่า 3 ล้านหรียญสหรัฐฯ
- เพื่อให้ความช่วยเหลือการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
3. เงื่อนไขเงินกู้ดังกล่าว เป็นไปตามมาตรฐานที่ธนาคารพัฒนาเอเซียกำหนดให้กู้แก่ประเทศสมาชิกทั่วไป และเป็นเช่นเดียวกับโครงการต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเคยกู้มาแล้ว
รัฐบาลไทยต้องสมทบเงินจำนวน 1.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของเงินกู้ และ 1.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของเงินช่วยเหลือ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ผู้กู้ต้องสมทบเงินร้อยละ 30 ของวงเงินทั้งหมดของโครงการดังกล่าว สำหรับประเด็นนี้ รัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องจัดหางบประมาณสมทบเพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เพิ่มทุนใน บอย. จำนวน 2,500 ล้านบาท และใน บสย. จำนวน 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--