ทำเนียบรัฐบาล--26 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติยกเว้นการดำเนินการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย โดยวิธีประมูล ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
2. อนุมัติวิธีการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยวิธีการเชิญบริษัท/กลุ่มบริษัทที่เคยมีผลงาน หรือเคยยื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบริษัทที่ยื่นข้อเสนอในโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 กลุ่ม โครงการรถไฟฟ้ามหานคร จำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มบริษัทที่กรุงเทพมหานครได้ขึ้นทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายพระราม 3 จำนวน 6 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น จำนวน 11 กลุ่ม เพื่อมายื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการโดยคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จะคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดมาเป็นกรอบในการเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรุงเทพมหานครว่า1. ในการจัดหาผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 นั้น กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย เพื่อทำหน้าที่พิจารณารายละเอียดการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 มาตรา 13 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ ได้มีการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ รวม 4 ครั้ง โดยที่ประชุมได้มีมติว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ทั้ง 3 สายทาง ควรเป็นระบบเดียวกับโครงการเดิม โดยผู้ประกอบการเป็นรายเดียวกันเนื่องจากการดำเนินการต่อขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) นั้น มีความแตกต่างไปจากโครงการอื่น เช่น ด้านวิศวกรรม ส่วนต่อขยาย จะต้องมีระบบสัญญาณ ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบเดียวกันที่ศูนย์ควบคุมกลางเดียว จึงจะทำให้เกิดความปลอดภัยในการให้บริการ และเกิดความสะดวกของผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายจากระบบเดิมมาต่อเชื่อมกับระบบใหม่ และสามารถลดต้นทุนได้มากเมื่อส่วนต่อขยายไม่ต้องจัดสร้างอู่จอดซ่อม ระบบป้อนกระแสไฟฟ้า ระบบสัญญาณ และศูนย์ควบคุมกลางใหม่ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่ออัตราค่าโดยสาร นอกจากนี้แล้วยังมีเงื่อนไขข้อจำกัดและเหตุผลอีกหลายประการที่สนับสนุนให้การดำเนินการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ควรเป็นระบบเดียวกับโครงการเดิม โดยผู้รับสัมปทานรายเดียวกันกล่าวคือ ประเด็นตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานเดิม ความร่วมมือกับผู้รับสัมปทานรายเดิม (BTSC) ในการอนุญาตเข้า - ออก จำนวนผู้โดยสาร อัตราค่าโดยสารสูงสุดและความคุ้มทุนของโครงการ
2. จากข้อกำหนดและเงื่อนไขตามข้อ 1. คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จึงได้พิจารณาว่า การคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการด้วยวิธีประมูลตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 กำหนดในมาตรา 15 นั้น จะไม่สามารถหาผู้มาลงทุนโครงการได้ ประกอบกับขบวนการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการตามมาตรา 15 นั้น ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมด้วยเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทานฉบับเดิม ด้วยเหตุผลและปัจจัยเกื้อหนุนดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จึงมีมติในคราวประชุมครั้ง 3/2543 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 เห็นชอบให้กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ โดยวิธีเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมเป็นลำดับแรก แต่เพื่อมิให้ภาครัฐเสียเปรียบในการเจรจา จึงกำหนดให้เชิญบริษัทที่เคยยื่นข้อเสนอกับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โครงการรถไฟฟ้ามหานคร และโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายพระราม 3 รวม 11 กลุ่มบริษัทมายื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการโดยคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดมาเป็นกรอบในการเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิม ตามแนวทางดำเนินการตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติยกเว้นการดำเนินการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย โดยวิธีประมูล ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
2. อนุมัติวิธีการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยวิธีการเชิญบริษัท/กลุ่มบริษัทที่เคยมีผลงาน หรือเคยยื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบริษัทที่ยื่นข้อเสนอในโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 กลุ่ม โครงการรถไฟฟ้ามหานคร จำนวน 2 กลุ่ม และกลุ่มบริษัทที่กรุงเทพมหานครได้ขึ้นทะเบียนผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายพระราม 3 จำนวน 6 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น จำนวน 11 กลุ่ม เพื่อมายื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการโดยคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จะคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดมาเป็นกรอบในการเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรุงเทพมหานครว่า1. ในการจัดหาผู้ลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 นั้น กรุงเทพมหานครได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย เพื่อทำหน้าที่พิจารณารายละเอียดการลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 มาตรา 13 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ ได้มีการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ รวม 4 ครั้ง โดยที่ประชุมได้มีมติว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ทั้ง 3 สายทาง ควรเป็นระบบเดียวกับโครงการเดิม โดยผู้ประกอบการเป็นรายเดียวกันเนื่องจากการดำเนินการต่อขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) นั้น มีความแตกต่างไปจากโครงการอื่น เช่น ด้านวิศวกรรม ส่วนต่อขยาย จะต้องมีระบบสัญญาณ ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบรถไฟฟ้าเป็นระบบเดียวกันที่ศูนย์ควบคุมกลางเดียว จึงจะทำให้เกิดความปลอดภัยในการให้บริการ และเกิดความสะดวกของผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายจากระบบเดิมมาต่อเชื่อมกับระบบใหม่ และสามารถลดต้นทุนได้มากเมื่อส่วนต่อขยายไม่ต้องจัดสร้างอู่จอดซ่อม ระบบป้อนกระแสไฟฟ้า ระบบสัญญาณ และศูนย์ควบคุมกลางใหม่ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่ออัตราค่าโดยสาร นอกจากนี้แล้วยังมีเงื่อนไขข้อจำกัดและเหตุผลอีกหลายประการที่สนับสนุนให้การดำเนินการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยาย ควรเป็นระบบเดียวกับโครงการเดิม โดยผู้รับสัมปทานรายเดียวกันกล่าวคือ ประเด็นตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานเดิม ความร่วมมือกับผู้รับสัมปทานรายเดิม (BTSC) ในการอนุญาตเข้า - ออก จำนวนผู้โดยสาร อัตราค่าโดยสารสูงสุดและความคุ้มทุนของโครงการ
2. จากข้อกำหนดและเงื่อนไขตามข้อ 1. คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จึงได้พิจารณาว่า การคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการด้วยวิธีประมูลตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 กำหนดในมาตรา 15 นั้น จะไม่สามารถหาผู้มาลงทุนโครงการได้ ประกอบกับขบวนการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการตามมาตรา 15 นั้น ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมด้วยเงื่อนไขแห่งสัญญาสัมปทานฉบับเดิม ด้วยเหตุผลและปัจจัยเกื้อหนุนดังกล่าว คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯ จึงมีมติในคราวประชุมครั้ง 3/2543 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 เห็นชอบให้กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ โดยวิธีเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิมเป็นลำดับแรก แต่เพื่อมิให้ภาครัฐเสียเปรียบในการเจรจา จึงกำหนดให้เชิญบริษัทที่เคยยื่นข้อเสนอกับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร โครงการรถไฟฟ้ามหานคร และโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายพระราม 3 รวม 11 กลุ่มบริษัทมายื่นข้อเสนอดำเนินการโครงการโดยคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดมาเป็นกรอบในการเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิม ตามแนวทางดำเนินการตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนโครงการฯเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-