คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้องค์การสวนยางใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit) จำนวน 1,000 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และหรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อนำเงินไปใช้ดำเนินงานโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ต่อไป ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กันยายน2542 และ 3 กรกฎาคม 2544 สำหรับภาระค่าดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ในการใช้สินเชื่อเพื่อการส่งออกให้เบิกจ่ายจากโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ราคายางในท้องถิ่นอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 18 - 19 บาท ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยการนำ Letter of Credit ค่าขายยางของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไปขอสินเชื่อเพื่อการส่งออก เพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนซื้อยางตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 - 2549 เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำระยะยาว โดยมุ่งหวังลดภาระการแทรกแซงตลาดยางพารา และยกเลิกมาตรการแทรกแซงที่รัฐต้องรับภาระการขาดทุนในที่สุด สาระสำคัญของแผนแบ่งออกเป็น 9 แผนครอบคลุมด้านการผลิต การส่งออก การแปรรูป การอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง การอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และการจัดการบริหารตลาดยางไว้ มีหน่วยงานรับผิดชอบ 23 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรใช้งบประมาณ (2545 - 2549) ประมาณ 15,943 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณ 10,995 ล้านบาท และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 3,660 ล้านบาท และเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี จำนวน 1,288 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ราคายางในท้องถิ่นอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 18 - 19 บาท ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยการนำ Letter of Credit ค่าขายยางของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไปขอสินเชื่อเพื่อการส่งออก เพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนซื้อยางตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 - 2549 เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำระยะยาว โดยมุ่งหวังลดภาระการแทรกแซงตลาดยางพารา และยกเลิกมาตรการแทรกแซงที่รัฐต้องรับภาระการขาดทุนในที่สุด สาระสำคัญของแผนแบ่งออกเป็น 9 แผนครอบคลุมด้านการผลิต การส่งออก การแปรรูป การอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง การอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และการจัดการบริหารตลาดยางไว้ มีหน่วยงานรับผิดชอบ 23 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรใช้งบประมาณ (2545 - 2549) ประมาณ 15,943 ล้านบาท แยกเป็นงบประมาณ 10,995 ล้านบาท และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 3,660 ล้านบาท และเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 3 ปี จำนวน 1,288 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 ต.ค. 44--
-สส-