แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยและกฎหมายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วให้นำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ทั้ง 5 ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ให้ปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารนโยบายการเงินเหมาะสม ชัดเจนและสอดคล้องกับภาระกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลางในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพแห่งระบบสถาบันการเงิน ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นตามมาตรฐานสากล ทันกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมทางการเงินในอนาคต ตลอดจนเอื้อให้การบริหารงานเป็นไปโดยมีบทบาทความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว และมีการถ่วงดุลที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดให้รวมบัญชีการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารเข้าด้วยกันและรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรามาเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมด เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
1.1 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
1.2 กำหนดบทนิยามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.3 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพแห่งระบบสถาบันการเงินให้มีความชัดเจนตามหลักมาตรฐานสากล โดยในการดำเนินนโยบายภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงสนับสนุนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
1.4 กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของธนาคารในการเป็นธนาคารกลางให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.5 ห้ามมิให้ธนาคารประกอบการค้า พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อหากำไรกับประชาชนโดยตรง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลของธนาคารกลาง
1.6 ห้ามมิให้ธนาคารกระทำการใดซึ่งมิใช่ภารกิจอันพึงเป็นงานธนาคารกลาง ทั้งนี้ เพื่อมิให้ธนาคารกลางประกอบกิจการเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเอกชน
1.7 ธนาคารไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
1.8 ทุน เงินและทรัพย์สินอื่นใดของธนาคาร ให้ธนาคารแสดงรายการและจำนวนไว้ในบัญชีตามที่กำหนด
1.9 ให้ธนาคารต้องดำรงสินทรัพย์อันเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศของทางการตามที่กำหนด ให้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่ามูลค่าของธนบัตรออกใช้
1.10 กำหนดให้รวมบัญชีการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรเข้าด้วยกันและรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรามาเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
1.11 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนผู้ว่าการและรองผู้ว่าการ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระมิได้
1.12 คุณสมบัติของผู้ว่าการและรองผู้ว่าการ และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนด
1.13 ภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พ้นตำแหน่งผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการ จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในสถาบันการเงิน
1.14 ห้ามมิให้ธนาคารให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาล เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้ธนาคารโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ให้กู้ยืมเงินแก่กระทรวงการคลังโดยการซื้อตราสารหนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
1.15 ให้ธนาคารมีอำนาจกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
1.16 ให้ธนาคารแถลงนโยบายการเงิน แนวทางการดำเนินงาน การประเมินผล การดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาต่อคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมาธิการตามที่รัฐสภามอบหมายทุก ๆ 6 เดือน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของธนาคาร
1.17 ให้ยกเลิกทุนรักษาระดับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ.2498
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ดุลการชำระเงินของประเทศและเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ลงทุนต่างประเทศ โดยโอนบรรดาสินทรัพย์และหนี้สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา ไปรวมเข้ากับสินทรัพย์และหนี้สินอื่น ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
2.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
2.2 ให้ยกเลิกหมวด 3 ทุนสำรองเงินตรา โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำรงสินทรัพย์เพื่อการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของธนบัตรแทน
2.3 ให้โอนบรรดาสินทรัพย์และหนี้สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไปเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการให้อำนาจปฏิบัติเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และร่างพระราชบัญญัติเงินตรา ตามข้อ 1. และ 2.
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
3.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
3.2 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจออกใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรองไม่เกินจำนวนที่ประเทศไทยมีสิทธิซื้อส่วนสำรองได้ เพื่อนับเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศตามความจำเป็นตามที่กฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และร่างพระราช-บัญญัติเงินตรา ตามข้อ 1. และ 2.
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
4.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
4.2 ให้ธนาคารออกใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงินได้เป็นคราวๆ ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ให้ยกเลิกบทบัญญัติกรณีที่สิทธิพิเศษถอนเงินได้ ออกใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงินและจะต้องชดใช้เป็นสินทรัพย์ และถอนใบสิทธิพิเศษถอนเงินจำนวนเดียวกันจากทุนสำรองเงินตรา
5. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. .... ให้รวมกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้การกำกับดูแลธุรกิจของสถาบันการเงินทั้ง 3 ประเภท อยู่ในมาตรฐานเดียวกันและจำเป็นต้องแก้ไขมาตรการที่ใช้ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนและสถาบันการเงินทั้งระบบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และสามารถใช้เป็นมาตรการสำหรับป้องกันการบริหารงานที่ผิดพลาดและการทุจริต
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
5.1 ให้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5.2 ให้มีกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยรวมกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เข้าด้วยกัน
5.3 กำหนดบทบัญญัติครอบคลุมการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5.4 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพียงองค์กรเดียว รวมทั้งการให้ใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาต
5.5 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินในลักษณะรวม ทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงิน
5.6 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 และกรรมการ ผู้จัดการ ของสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
5.7 กำหนดห้ามสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่กรรมการ และผู้บริหาร สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้สินเชื่อได้แต่ละรายไม่เกินร้อยละ 5 และทุกรายรวมกันไม่เกินร้อยละ 20
5.8 กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ชัดเจน กรณีที่สถาบันการเงินมีเงินกองทุนต่ำกว่าร้อยละ 8 หรือร้อยละ 5 หรือร้อยละ 2.5 แล้วแต่กรณี
5.9 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นด้วย หากกระทรวงการคลังมอบหมาย
5.10 กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูล หรือปิดประกาศในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยและกฎหมายเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วให้นำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ทั้ง 5 ฉบับ มีดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ให้ปรับปรุงโครงสร้างของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การบริหารนโยบายการเงินเหมาะสม ชัดเจนและสอดคล้องกับภาระกิจอันพึงเป็นงานของธนาคารกลางในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพแห่งระบบสถาบันการเงิน ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นตามมาตรฐานสากล ทันกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมทางการเงินในอนาคต ตลอดจนเอื้อให้การบริหารงานเป็นไปโดยมีบทบาทความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว และมีการถ่วงดุลที่เหมาะสม รวมทั้งกำหนดให้รวมบัญชีการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรธนาคารเข้าด้วยกันและรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรามาเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมด เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
1.1 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
1.2 กำหนดบทนิยามให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.3 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพแห่งระบบสถาบันการเงินให้มีความชัดเจนตามหลักมาตรฐานสากล โดยในการดำเนินนโยบายภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงสนับสนุนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
1.4 กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของธนาคารในการเป็นธนาคารกลางให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
1.5 ห้ามมิให้ธนาคารประกอบการค้า พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อหากำไรกับประชาชนโดยตรง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากลของธนาคารกลาง
1.6 ห้ามมิให้ธนาคารกระทำการใดซึ่งมิใช่ภารกิจอันพึงเป็นงานธนาคารกลาง ทั้งนี้ เพื่อมิให้ธนาคารกลางประกอบกิจการเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจเอกชน
1.7 ธนาคารไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
1.8 ทุน เงินและทรัพย์สินอื่นใดของธนาคาร ให้ธนาคารแสดงรายการและจำนวนไว้ในบัญชีตามที่กำหนด
1.9 ให้ธนาคารต้องดำรงสินทรัพย์อันเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศของทางการตามที่กำหนด ให้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่ามูลค่าของธนบัตรออกใช้
1.10 กำหนดให้รวมบัญชีการดำเนินงานของฝ่ายการธนาคารและฝ่ายออกบัตรเข้าด้วยกันและรับโอนสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรามาเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
1.11 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและถอดถอนผู้ว่าการและรองผู้ว่าการ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าสองวาระมิได้
1.12 คุณสมบัติของผู้ว่าการและรองผู้ว่าการ และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนด
1.13 ภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พ้นตำแหน่งผู้ว่าการหรือรองผู้ว่าการ จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในสถาบันการเงิน
1.14 ห้ามมิให้ธนาคารให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาล เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้ธนาคารโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ให้กู้ยืมเงินแก่กระทรวงการคลังโดยการซื้อตราสารหนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
1.15 ให้ธนาคารมีอำนาจกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
1.16 ให้ธนาคารแถลงนโยบายการเงิน แนวทางการดำเนินงาน การประเมินผล การดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาต่อคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมาธิการตามที่รัฐสภามอบหมายทุก ๆ 6 เดือน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของธนาคาร
1.17 ให้ยกเลิกทุนรักษาระดับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดจัดสรรทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ.2498
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศทั้งหมดของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ดุลการชำระเงินของประเทศและเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ลงทุนต่างประเทศ โดยโอนบรรดาสินทรัพย์และหนี้สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา ไปรวมเข้ากับสินทรัพย์และหนี้สินอื่น ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
2.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
2.2 ให้ยกเลิกหมวด 3 ทุนสำรองเงินตรา โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำรงสินทรัพย์เพื่อการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของธนบัตรแทน
2.3 ให้โอนบรรดาสินทรัพย์และหนี้สินในบัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีผลประโยชน์ประจำปี และบัญชีสำรองพิเศษ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไปเป็นสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
3. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการให้อำนาจปฏิบัติเกี่ยวกับกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และร่างพระราชบัญญัติเงินตรา ตามข้อ 1. และ 2.
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
3.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
3.2 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจออกใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรองไม่เกินจำนวนที่ประเทศไทยมีสิทธิซื้อส่วนสำรองได้ เพื่อนับเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศตามความจำเป็นตามที่กฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจและกำหนดการปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย และร่างพระราช-บัญญัติเงินตรา ตามข้อ 1. และ 2.
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
4.1 ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นต้นไป
4.2 ให้ธนาคารออกใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงินได้เป็นคราวๆ ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
4.3 ให้ยกเลิกบทบัญญัติกรณีที่สิทธิพิเศษถอนเงินได้ ออกใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงินและจะต้องชดใช้เป็นสินทรัพย์ และถอนใบสิทธิพิเศษถอนเงินจำนวนเดียวกันจากทุนสำรองเงินตรา
5. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. .... ให้รวมกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้การกำกับดูแลธุรกิจของสถาบันการเงินทั้ง 3 ประเภท อยู่ในมาตรฐานเดียวกันและจำเป็นต้องแก้ไขมาตรการที่ใช้ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ประชาชนและสถาบันการเงินทั้งระบบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้บริหารและผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และสามารถใช้เป็นมาตรการสำหรับป้องกันการบริหารงานที่ผิดพลาดและการทุจริต
สำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้
5.1 ให้ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5.2 ให้มีกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยรวมกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ เข้าด้วยกัน
5.3 กำหนดบทบัญญัติครอบคลุมการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5.4 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพียงองค์กรเดียว รวมทั้งการให้ใบอนุญาต และการเพิกถอนใบอนุญาต
5.5 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินในลักษณะรวม ทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของสถาบันการเงิน
5.6 กำหนดให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 และกรรมการ ผู้จัดการ ของสถาบันการเงิน ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
5.7 กำหนดห้ามสถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่กรรมการ และผู้บริหาร สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้สินเชื่อได้แต่ละรายไม่เกินร้อยละ 5 และทุกรายรวมกันไม่เกินร้อยละ 20
5.8 กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ชัดเจน กรณีที่สถาบันการเงินมีเงินกองทุนต่ำกว่าร้อยละ 8 หรือร้อยละ 5 หรือร้อยละ 2.5 แล้วแต่กรณี
5.9 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นด้วย หากกระทรวงการคลังมอบหมาย
5.10 กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูล หรือปิดประกาศในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด ค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนทราบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--