ทำเนียบรัฐบาล--25 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง รวม 5 ข้อ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังนี้
1. ให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 โดยบัญญัติบทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 32 ในกรณีกระทำการให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเล ให้มีอัตราโทษสูงกว่าเดิมและใกล้เคียงอัตราโทษที่จะลงโทษแก่ผู้ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2. ให้มีบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ให้มีข้อความเป็นประเด็นสำคัญว่า ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง ซึ่งมีการยึดเรือประมง หรือสิ่งของอื่นที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมงด้วยนั้น นอกจากตัวบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดโดยตรงแล้ว ให้บัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของเรือหรือเจ้าของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมงนั้น มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ทำนองเดียวกับข้อสันนิษฐานที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติการพนัน และให้ริบเรือประมงและสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิดพระราชบัญญัติการประมงเสียทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติแร่ และพระราชบัญญัติป่าไม้
3. ให้กรมประมงและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินำหลักเกณฑ์เรื่องมาตรการควบคุมตรวจสอบเร่งรัดการดำเนินคดี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ไปกำหนดเป็นระเบียบหรือคำสั่ง สำหรับให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองหน่วยงานถือเป็นหลักปฏิบัติ
ในบันทึกการจับกุม ต้องบันทึกการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ถูกจับได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น อีกทั้งให้ระบุชื่อบุคคลทุกคนหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดให้ชัดเจน และให้นำบันทึกการจับกุมและเอกสารหลักฐานการสืบสวนสอบสวนในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนด้วย
4. ให้กรมประมงจัดให้มีการตรวจเรือประมงขณะทำการประมงโดยวิธีสุ่มตรวจ เพื่อให้ทราบว่าผู้เป็นเจ้าของเรือประมงหรือผู้ให้เช่าเรือได้ทราบเรื่องการออกเรือจับสัตว์น้ำและเขตที่ทำการจับสัตว์น้ำหรือไม่ รวมตลอดถึงจำนวนลูกเรือที่ร่วมออกไปกับเรือประมงลำนั้น ทั้งนี้ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจเรือประมงด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 มกราคม 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง รวม 5 ข้อ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังนี้
1. ให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 โดยบัญญัติบทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 32 ในกรณีกระทำการให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเล ให้มีอัตราโทษสูงกว่าเดิมและใกล้เคียงอัตราโทษที่จะลงโทษแก่ผู้ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2. ให้มีบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ให้มีข้อความเป็นประเด็นสำคัญว่า ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง ซึ่งมีการยึดเรือประมง หรือสิ่งของอื่นที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมงด้วยนั้น นอกจากตัวบุคคลที่เป็นผู้กระทำผิดโดยตรงแล้ว ให้บัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของเรือหรือเจ้าของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการประมงนั้น มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ทำนองเดียวกับข้อสันนิษฐานที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติการพนัน และให้ริบเรือประมงและสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิดพระราชบัญญัติการประมงเสียทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติแร่ และพระราชบัญญัติป่าไม้
3. ให้กรมประมงและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินำหลักเกณฑ์เรื่องมาตรการควบคุมตรวจสอบเร่งรัดการดำเนินคดี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ไปกำหนดเป็นระเบียบหรือคำสั่ง สำหรับให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองหน่วยงานถือเป็นหลักปฏิบัติ
ในบันทึกการจับกุม ต้องบันทึกการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ถูกจับได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น อีกทั้งให้ระบุชื่อบุคคลทุกคนหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดให้ชัดเจน และให้นำบันทึกการจับกุมและเอกสารหลักฐานการสืบสวนสอบสวนในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนด้วย
4. ให้กรมประมงจัดให้มีการตรวจเรือประมงขณะทำการประมงโดยวิธีสุ่มตรวจ เพื่อให้ทราบว่าผู้เป็นเจ้าของเรือประมงหรือผู้ให้เช่าเรือได้ทราบเรื่องการออกเรือจับสัตว์น้ำและเขตที่ทำการจับสัตว์น้ำหรือไม่ รวมตลอดถึงจำนวนลูกเรือที่ร่วมออกไปกับเรือประมงลำนั้น ทั้งนี้ โดยให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจเรือประมงด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 มกราคม 2543--