ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มของชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่จำกัด (รวมสมาชิก 6 สหกรณ์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 300 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในเขตนิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 20 ปี และจะเริ่มชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ปีที่ 3 - ปีที่ 11 ปีละ 15 ล้านบาท และปีที่ 12 - ปีที่ 20 ปีละ 18 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ในปี 2542 ผลผลิตน้ำมันปาล์มในจังหวัดกระบี่มี 1,373,692 ตัน จากพื้นที่ 461,636 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกปาล์มส่วนใหญ่อยู่ในอำเภออ่าวลึก และอำเภอปลายพระยา แต่โรงงานสกัดปาล์มน้ำมันและโรงหีบปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่มีจำนวน 7 โรง มีกำลังการผลิตน้อยกว่าปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัด ทำให้เกษตรกรต้องนำผลผลิตส่งให้โรงงานในจังหวัดอื่น ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากน้ำหนักสูญหายระหว่างการขนส่ง
2. ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ได้ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2540 ประกอบด้วยสมาชิก 6 สหกรณ์ ทุนดำเนินงาน 145.55 ล้านบาท สมาชิกมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 151,474 ไร่ ผลผลิตจำนวน 424,127 ตัน ปัจจุบันประสบปัญหาในการจำหน่ายผลปาล์มน้ำมันของสมาชิก เนื่องจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบส่วนใหญ่ในจังหวัดกระบี่มีสวนปาล์มของตนเองในช่วงที่มีผลผลิตปาล์มมาก โรงงานจึงไม่สามารถรับซื้อผลผลิตจากสหกรณ์ได้ทั้งหมด สหกรณ์จึงต้องส่งไปจำหน่ายในจังหวัดอื่น ซึ่งต้องเสียต้นทุนค่าขนส่งไปยังจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. ชุมนุมสหกรณ์ฯ จึงเสนอโครงการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยมีรายละเอียดโครงการฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตลาดรองรับผลผลิตปาล์มแก่สหกรณ์สมาชิก และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์มีรายได้มั่นคงจากอาชีพปลูกน้ำมัน และส่งเสริมการดำเนินงานของระบบสหกรณ์ให้มั่นคงถาวร
3.2 พื้นที่ดำเนินการ ที่จะก่อสร้างโรงงานประมาณ 100 ไร่ ในเขตนิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่
3.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ปี (2543 - 2562) โดยก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 2 ปี และเริ่มผลิตน้ำมันปาล์มดิบในปีที่ 3 ของโครงการ
3.4 เป้าหมาย โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 1 โรง ขนาดกำลังการผลิต 45 ตันปาล์มทะลาย ต่อชั่วโมง
3.5 วิธีดำเนินการ
1) ชุมนุมสหกรณ์ฯ ขอสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2) รับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกรรายย่อย และสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ จำนวน8,120 ครอบครัว เป็นผลปาล์มปีละประมาณ 216,000 ตัน และผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ปีละประมาณ 36,720 ตัน
3) กำหนดราคารับซื้อผลปาล์มทะลายตามมาตรฐานตลาด ณ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมนุมสหกรณ์ฯ และชำระเงินค่าสินค้า ภายใน 10 วันหลังจากรับผลผลิตแล้ว
4) จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบแก่โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มวันละประมาณ 100 ตัน
5) ประสานงานกับชมรมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการวางแผนการผลิตและการตลาดเพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันปาล์ม
6) รวบรวมข้อมูลข่าวสารการตลาด และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะการค้าและราคาน้ำมันปาล์ม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มของชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่จำกัด (รวมสมาชิก 6 สหกรณ์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้รับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 300 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในเขตนิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ปลอดดอกเบี้ยเป็นเวลา 20 ปี และจะเริ่มชำระคืนเงินต้นตั้งแต่ปีที่ 3 - ปีที่ 11 ปีละ 15 ล้านบาท และปีที่ 12 - ปีที่ 20 ปีละ 18 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ในปี 2542 ผลผลิตน้ำมันปาล์มในจังหวัดกระบี่มี 1,373,692 ตัน จากพื้นที่ 461,636 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกปาล์มส่วนใหญ่อยู่ในอำเภออ่าวลึก และอำเภอปลายพระยา แต่โรงงานสกัดปาล์มน้ำมันและโรงหีบปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่มีจำนวน 7 โรง มีกำลังการผลิตน้อยกว่าปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัด ทำให้เกษตรกรต้องนำผลผลิตส่งให้โรงงานในจังหวัดอื่น ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากน้ำหนักสูญหายระหว่างการขนส่ง
2. ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ จำกัด ได้ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2540 ประกอบด้วยสมาชิก 6 สหกรณ์ ทุนดำเนินงาน 145.55 ล้านบาท สมาชิกมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 151,474 ไร่ ผลผลิตจำนวน 424,127 ตัน ปัจจุบันประสบปัญหาในการจำหน่ายผลปาล์มน้ำมันของสมาชิก เนื่องจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบส่วนใหญ่ในจังหวัดกระบี่มีสวนปาล์มของตนเองในช่วงที่มีผลผลิตปาล์มมาก โรงงานจึงไม่สามารถรับซื้อผลผลิตจากสหกรณ์ได้ทั้งหมด สหกรณ์จึงต้องส่งไปจำหน่ายในจังหวัดอื่น ซึ่งต้องเสียต้นทุนค่าขนส่งไปยังจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. ชุมนุมสหกรณ์ฯ จึงเสนอโครงการก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยมีรายละเอียดโครงการฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตลาดรองรับผลผลิตปาล์มแก่สหกรณ์สมาชิก และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์มีรายได้มั่นคงจากอาชีพปลูกน้ำมัน และส่งเสริมการดำเนินงานของระบบสหกรณ์ให้มั่นคงถาวร
3.2 พื้นที่ดำเนินการ ที่จะก่อสร้างโรงงานประมาณ 100 ไร่ ในเขตนิคมสหกรณ์อ่าวลึก จังหวัดกระบี่
3.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ปี (2543 - 2562) โดยก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 2 ปี และเริ่มผลิตน้ำมันปาล์มดิบในปีที่ 3 ของโครงการ
3.4 เป้าหมาย โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 1 โรง ขนาดกำลังการผลิต 45 ตันปาล์มทะลาย ต่อชั่วโมง
3.5 วิธีดำเนินการ
1) ชุมนุมสหกรณ์ฯ ขอสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2) รับซื้อผลปาล์มสดจากเกษตรกรรายย่อย และสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ในจังหวัดกระบี่ จำนวน8,120 ครอบครัว เป็นผลปาล์มปีละประมาณ 216,000 ตัน และผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ปีละประมาณ 36,720 ตัน
3) กำหนดราคารับซื้อผลปาล์มทะลายตามมาตรฐานตลาด ณ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมนุมสหกรณ์ฯ และชำระเงินค่าสินค้า ภายใน 10 วันหลังจากรับผลผลิตแล้ว
4) จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบแก่โรงงานกลั่นน้ำมันปาล์มวันละประมาณ 100 ตัน
5) ประสานงานกับชมรมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในการวางแผนการผลิตและการตลาดเพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันปาล์ม
6) รวบรวมข้อมูลข่าวสารการตลาด และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของภาวะการค้าและราคาน้ำมันปาล์ม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-