ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
สรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากการสำรวจความเห็นของคณะกรรมการสาขาธุรกิจ 14 สาขาของคณะกรรมการหอการค้าไทย
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากการสำรวจความเห็นของคณะกรรมการสาขาธุรกิจ
14 สาขาของคณะกรรมการหอการค้าไทย และพิจารณาเห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาค
และรายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงการภาคการผลิต การปรับโครงสร้างภาษี การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาสินค้า
เกษตรตกต่ำ เป็นต้น อย่างไรก็ดีในส่วนที่เป็นปัญหาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 13 สาขา ให้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาและเร่งรัด
ดำเนินการต่อไป ดังนี้
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของ 13 สาขาธุรกิจ
สาขา ปัญหา/อุปสรรค ข้อเสนอแนะ
1. สาขาเกษตร -ผลกระทบต่อราคาในการเปิดเสรีการค้า -เปิดเสรีในการค้าผลผลิตทางการเกษตรเฉพาะที่
-ผลิตภาพการผลิตยังต่ำและมีต้นทุนสูงกว่า แข่งขันได้ ชะลอการเปิดนำเข้าสินค้าเกษตรเท่าที่
ประเทศคู่แข่ง และการเน่าเสียหลังการ จะทำได้
เก็บเกี่ยว
-เร่งรัดการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร ลดการ
ปลูก และปรับเปลี่ยนพืชที่ไม่สามารถแข่งขันได้สู่
พืชที่มีโอกาสแข่งขันได้ในอนาคต
-เพิ่มการสนับสนุนวิจัยและพัฒนามาตรฐาน
คุณภาพ สินค้าเกษตร การเก็บรักษาพืชผลทาง
การเกษตร
-ปรับปรุงสายพันธุ์ และส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ที่มี
ผลผลิตสูงขึ้น
-จัดให้มีการวางแผนร่วมกันในการกำหนด
นโยบาย ระยะยาวด้านราคา การตลาด การส่ง-
เสริม สินค้าเกษตร การทำ Zoning การลด
ต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่า และการแปรรูป
สินค้าเกษตรให้มีการใช้ระบบชลประทานอย่าง
เต็มประสิทธิภาพ
2. สาขาการเงิน/ -ความสามารถในการแข่งขันกับต่าง -ร่วมกันกำหนดนโยบาย เร่งรัด และพัฒนาความ
การลงทุน ประเทศ สามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับธุรกิจจาก
-ความมั่นคงของสถาบันการการเงิน ต่างประเทศ
ภายในประเทศ -จัดตั้งธนาคารสหกรณ์เพื่อเสริมสร้างความเข้ม
แข็งให้กับองค์กรชนบท
-การฟื้นฟูสินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างธนาคาร
พาณิชย์ และบริษัทเงินทุนกับธุรกิจต่างๆ
3. ธุรกิจ SMEs -การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ SMEs -เร่งรัดโครงการช่วยเหลือสร้างเสริมศักยภาพของ
ในโครงการต่างๆ ยังมีความก้าวหน้าไม่ SMEs ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
มากเท่าที่ควร -ผ่อนปรนกฎระเบียบการให้สินเชื่อของสถาบัน
-สถาบันการเงินที่ยังคงเข้มงวดกับการให้ การเงินของรัฐให้ SMEs สามารถกู้ยืมได้เพิ่มขึ้น
สินเชื่อ และสะดวกรวดเร็ว
4. การค้าชายแดน -ธุรกิจการค้าชายแดนยังไม่มีนโยบายส่ง- -รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายที่สนับสนุนธุรกิจ
เสริมที่เป็นรูปธรรม การค้าชายแดนอย่างจริงจัง
-การคมนาคมขนส่งเลียบชายแดนยังไม่เอื้อ -เร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งที่มีศักยภาพ
อำนวย นวยความสะดวกในการตรวจสอบจาก
เป็นระบบเดียวกัน หน่วยงานต่างๆ ควรมีมาตรฐานเดียวกัน
-การค้าสะดุดไม่ราบรื่น เพราะปัญหาการปัก- -ขอให้คณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-ลาว
ปันแนวเขตแดนที่ไม่ชัดเจน ไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซีย
เร่งดำเนินการปักปันเขตแดน
5. สาขาขนส่ง -มีผู้ประกอบการ และอุปกรณ์ขนส่งมากกว่า -ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการขนส่ง กฎหมายและ
ความต้องการของตลาด ขั้นตอนให้เหมาะสม
-ต้นทุนประกอบการสูงขึ้น โดยเฉพาะราคา -รัฐให้การช่วยเหลือในการวางแผนการขนส่ง เพื่อ
น้ำมัน รองรับผลผลิตเกษตรที่ออกเป็นฤดูกาล
-หามาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อผู้ประกอบการขนส่ง เช่น
มีคูปองน้ำมัน
-มาตรการระยะยาว รัฐ/เอกชน ต้องร่วมกัน
กำหนดนโยบายเรื่องก
6. สาขานำเข้า/ -ค่าเงินบาทที่ผันผวนมีผลกระทบต่อราคา -ดำเนินการต่อเนื่องในการปรับโครงสร้างภาษี
ส่งออก ส่งออก นำเข้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน
-ผู้นำเข้ามีธุรกิจถดถอยลงเพราะมีการแข่ง -เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ
ขันสูง -ปรับปรุงเงื่อนไขในการใช้ และขยายวงเงิน
-ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน Packing Credit
-ให้ธนาคารผ่อนปรนเงื่อนไข NPL เพื่อปล่อยกู้เพิ่ม
7. สาขาค้าปลีก -การแข่งขันรุนแรงจากการค้าปลีกขนาด -ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ BOI ในเรื่องการ
ใหญ่ ประกอบการ และการส่งเสริมการค้าปลีกขนาด
ใหญ่ (HYPER-MARKET)
- จัดอบรมทักษะแก่ผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย
8. การก่อสร้าง -การใช้จ่ายงบประมาณการก่อสร้างยังไม่ -เร่งรัดการจ่ายเงินงบประมาณด้านก่อสร้างเพื่อให้
นำไปสู่การสร้างงานเท่าที่ควร มีการกระจายรายได้สู่การบริโภคด้านครัวเรือน
-ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจก่อสร้าง -สถาบันการเงินเข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่
ผู้ประกอบการ
9. สาขาท่องเที่ยว/ -ประเทศคู่แข่งมุ่งสร้างคุณค่าและแรงจูงใจ -ปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชัดเจน
โรงแรม ให้นักท่องเที่ยวสนใจมากกว่าไทย และเร่งรัดการนำไปสู่การปฏิบัติ
-ส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อเป็นการกระจายงานและรายได้
-ช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการสนับสนุนการท่องเที่ยว
เช่น โรงแรม ในการลดค่าใช้จ่าย
สาธารณูปโภค และทบทวนการเก็บค่าธรรมเนียม
ผู้เข้าพักของ อบจ.
-สร้างถนน/รถไฟ เชื่อมโยงไปยังประเทศข้างเคียง
10.สาขาอสังหา- -การปรับโครงสร้างหนี้ยังมีความคืบหน้าไม่ -มาตรการส่งเสริมธุรกิจให้ฟื้นต่อเนื่องโดยสร้าง
ริมทรัพย์ เท่าที่ควร ความเชื่อมั่น เช่นการผ่อนปรน การให้สินเชื่อแก่
ผู้เช่าซื้อ
-ปรับโครงสร้างกฎหมายเพื่อพัฒนาธุรกิจ เช่น
กม.ประเมินค่าทรัพย์สิน กม.เอสโครว์ กม.
ตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ กม.อาคารชุดเป็นต้น
11.สาขาอุตสาห- -ขาดเงินทุนหมุนเวียน -คงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสถาบันการเงินปล่อย
กรรม -ต้นทุนวัตถุดิบและขนส่งสูงขึ้น สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ
-การกีดกันทางการค้ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง -เร่งการคืนภาษี และปรับโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม
-ลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภค และขนส่ง
-ดำเนินงานเรื่อง Anti-dumping และการกีดกัน
ทางการค้าอื่นๆ
12.สาขาประมง -การกีดกันทางการค้า -กำหนดระยเวลาอนุรักษ์น้ำทะเล และสร้างแนว
และอุตสาหกรรม -ขาดแคลนพื้นที่เพาะเลี้ยงและการแย่งชิง ปะการังเทียม และทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
ต่อเนื่อง ทรัพยากรประมง -กำหนดนโยบายประมงแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหา
การแย่งชิงทรัพยากร และควรสำรองแหล่งทำ
ประมงอื่นๆ เพิ่ม และขยายขนาดเรือปลาทูน่า
13.สาขาอัญมณี -วัตถุดิบน้อยลง -ชี้นำในการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ใน ต่างประเทศ
และเครื่อง -ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น -ขยายฐานการผลิตไปยังส่วนภูมิภาค
ประดับ -ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็น SMEs ขาด -สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะบุคลากร
ทักษะการบริหารงาน -เปิดตลาดการค้าใหม่ๆ และประชาสัมพันธ์ภาพ-
-มีการกีดกันทางการค้าสูงและมีคู่แข่งมาก ลักษณ์ของสินค้าไทย
ในส่วนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจแนวใหม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว
มีความสอดคล้องกับกรองวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อยู่ในระหว่างการยกร่างรายละเอียด จึงมีมติมอบหมายให้ สศช.รับไปพิจารณาประกอบการยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และ
เมื่อมีความชัดเจนแล้ว ให้ประสานกับหน่วยงานปฏิบัติในการจัดทำแผนปฏิบัติการต่อไป
เศรษฐกิจแนวใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจใหม่ จะต้องเน้น 4 ด้าน คือ
1.1 ตลาด โดยเน้นให้ความเป็นพลวัตมากขึ้น สามารถรองรับการแข่งขันและความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ ผ่านเครือข่ายเชื่อมโยง
ระบบดิจิตอลในการทำการค้าและธุรกรรม
1.2 วิสาหกิจ โดยเน้นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบจากนวัตกรรมในการผลิตภายใต้คุณภาพที่ดีและราคา
ที่สามารถแข่งขัน
1.3 บุคลากร โดยเน้นค่าตอบแทนที่สูงเหมาะสมกับคุณภาพงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
1.4 รัฐบาล โดยเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ทักษะ ข้อมูล และเทคโนโลยี สำหรับการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิตอลของ
ภาคเอกชน
2. ความได้เปรียบในการแข่งขันภายใต้เศรษฐกิจใหม่ จำแนกเป็น 4 ด้าน คือ
2.1 ทัศนคติ เชื่อว่าความได้เปรียบมาจากผลิตภาพของประชาคม โดยมีวิสาหกิจเป็นผู้ทำการแข่งขันความได้เปรียบเป็นไประหว่าง
ธุรกรรมของเอกชนต่อเอกชน และคุณภาพของสังคม เช่น นวัตกรรม กฎระเบียบ ความรู้และความสามารถเชิงบริหาร
2.2 บทบาทของรัฐ/เอกชน เอกชนมุ่งตอบสนองและรู้จักตลาด มีธุรกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงตลาดที่มีกำลังซื้อ ทำ Segmentation
เพื่อจะได้มีการบริการหรือผลิตสินค้าในราคา/คุณภาพที่ตลาดต้องการ ส่วนรัฐจะสนับสนุนขบวนการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเหล่านั้นขึ้น
2.3 กลไกการแข่งขัน รัฐสร้างกลไกการแข่งขันใหม่ เช่น ปฏิรูประบบการศึกษา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
การลงทุนในโครงสร้างสารสนเทศ ปรับปรุงกฎระเบียบในการทำธุรกิจ และสร้างบรรยากาศการทำธุรกิจที่โปร่งใส ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ได้
2.4 กลยุทธ์การแข่งขัน เอกชนเจาะ Segmentation ที่ได้เปรียบ โดยอาศัยคุณภาพที่ดี รู้จักตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ได้ดีกว่า เร็วกว่าคู่แข่ง และมีต้นทุนการผลิตที่คู่แข่งสู้ไม่ได้
3. ข้อเสนอแนะ จะต้องสร้างความร่วมแรงร่วมใจในการปรับเปลี่ยนสังคมไทย ซึ่งหากไม่รณรงค์และดำเนินการให้เห็นผลในทางปฏิบัติแล้ว
จะมีผลกระทบ ดังนี้
3.1 เศรษฐกิจที่ชะงักงัน จะยังคงสภาพอยู่อีกนาน
3.2 ราคาสินค้าส่งออก สินค้าเกษตรยังตกต่ำ กิจการขาดทุน และขาดเงินหมุนเวียน
3.3 การลงทุนจะอยู่ในสภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ปริมาณเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อจะไม่เพิ่มขึ้น
ไม่สามารถปรับปรุงหรือขยายธุรกิจได้
3.4 สภาวะการว่างงานจะเพิ่มขึ้น อัตราค่าจ้างจะไม่สามารถปรับขึ้นได้ ช่องว่างระหว่างรายได้จะมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาแรงงาน
และมีผลกระทบต่อผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้ใช้แรงงานเกิดความไม่สงบในสังคม
3.5 ขาดแรงจูงใจให้มีการทุ่มเท ปรับปรุงผลิตภาพในด้านการผลิต การค้าและการบริการ
3.6 ไม่สามารถเพิ่มราคาสินค้าส่งออกและบริการได้พอเพียง ธุรกิจยังอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำกำไร มีผลตอบแทนจากการประกอบ
การต่ำ ส่งผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
3.7 การเก็บภาษีจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ปัจจุบันรัฐเริ่มเก็บภาษีน้อยกว่าประมาณการ ทำให้ขาดเงินรายได้ที่จะมาใช้จ่าย
ในการพัฒนาประเทศ
3.8 ประเทศไม่สามารถพัฒนาได้รวดเร็วเท่าเทียมกับคู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ในที่สุดก็จะเริ่มถดถอยกลายเป็น
ประเทศที่ล้าหลังและด้อยพัฒนาไป
สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว มีดังนี้
1. ปัญหาหลักในสังคมไทยภายหลังภาวะวิกฤติ
2. วิสัยทัศน์ความเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง
3. แนวทางปฏิบัติที่ทำให้ความคาดหวังเป็นจริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-กม/สส-
สรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากการสำรวจความเห็นของคณะกรรมการสาขาธุรกิจ 14 สาขาของคณะกรรมการหอการค้าไทย
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจากการสำรวจความเห็นของคณะกรรมการสาขาธุรกิจ
14 สาขาของคณะกรรมการหอการค้าไทย และพิจารณาเห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาค
และรายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับโครงการภาคการผลิต การปรับโครงสร้างภาษี การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาสินค้า
เกษตรตกต่ำ เป็นต้น อย่างไรก็ดีในส่วนที่เป็นปัญหาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 13 สาขา ให้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาและเร่งรัด
ดำเนินการต่อไป ดังนี้
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของ 13 สาขาธุรกิจ
สาขา ปัญหา/อุปสรรค ข้อเสนอแนะ
1. สาขาเกษตร -ผลกระทบต่อราคาในการเปิดเสรีการค้า -เปิดเสรีในการค้าผลผลิตทางการเกษตรเฉพาะที่
-ผลิตภาพการผลิตยังต่ำและมีต้นทุนสูงกว่า แข่งขันได้ ชะลอการเปิดนำเข้าสินค้าเกษตรเท่าที่
ประเทศคู่แข่ง และการเน่าเสียหลังการ จะทำได้
เก็บเกี่ยว
-เร่งรัดการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร ลดการ
ปลูก และปรับเปลี่ยนพืชที่ไม่สามารถแข่งขันได้สู่
พืชที่มีโอกาสแข่งขันได้ในอนาคต
-เพิ่มการสนับสนุนวิจัยและพัฒนามาตรฐาน
คุณภาพ สินค้าเกษตร การเก็บรักษาพืชผลทาง
การเกษตร
-ปรับปรุงสายพันธุ์ และส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ที่มี
ผลผลิตสูงขึ้น
-จัดให้มีการวางแผนร่วมกันในการกำหนด
นโยบาย ระยะยาวด้านราคา การตลาด การส่ง-
เสริม สินค้าเกษตร การทำ Zoning การลด
ต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่า และการแปรรูป
สินค้าเกษตรให้มีการใช้ระบบชลประทานอย่าง
เต็มประสิทธิภาพ
2. สาขาการเงิน/ -ความสามารถในการแข่งขันกับต่าง -ร่วมกันกำหนดนโยบาย เร่งรัด และพัฒนาความ
การลงทุน ประเทศ สามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับธุรกิจจาก
-ความมั่นคงของสถาบันการการเงิน ต่างประเทศ
ภายในประเทศ -จัดตั้งธนาคารสหกรณ์เพื่อเสริมสร้างความเข้ม
แข็งให้กับองค์กรชนบท
-การฟื้นฟูสินเชื่อเพื่อการค้าระหว่างธนาคาร
พาณิชย์ และบริษัทเงินทุนกับธุรกิจต่างๆ
3. ธุรกิจ SMEs -การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ SMEs -เร่งรัดโครงการช่วยเหลือสร้างเสริมศักยภาพของ
ในโครงการต่างๆ ยังมีความก้าวหน้าไม่ SMEs ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
มากเท่าที่ควร -ผ่อนปรนกฎระเบียบการให้สินเชื่อของสถาบัน
-สถาบันการเงินที่ยังคงเข้มงวดกับการให้ การเงินของรัฐให้ SMEs สามารถกู้ยืมได้เพิ่มขึ้น
สินเชื่อ และสะดวกรวดเร็ว
4. การค้าชายแดน -ธุรกิจการค้าชายแดนยังไม่มีนโยบายส่ง- -รัฐบาลควรมีการกำหนดนโยบายที่สนับสนุนธุรกิจ
เสริมที่เป็นรูปธรรม การค้าชายแดนอย่างจริงจัง
-การคมนาคมขนส่งเลียบชายแดนยังไม่เอื้อ -เร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งที่มีศักยภาพ
อำนวย นวยความสะดวกในการตรวจสอบจาก
เป็นระบบเดียวกัน หน่วยงานต่างๆ ควรมีมาตรฐานเดียวกัน
-การค้าสะดุดไม่ราบรื่น เพราะปัญหาการปัก- -ขอให้คณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-ลาว
ปันแนวเขตแดนที่ไม่ชัดเจน ไทย-พม่า ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซีย
เร่งดำเนินการปักปันเขตแดน
5. สาขาขนส่ง -มีผู้ประกอบการ และอุปกรณ์ขนส่งมากกว่า -ปรับเปลี่ยนมาตรฐานการขนส่ง กฎหมายและ
ความต้องการของตลาด ขั้นตอนให้เหมาะสม
-ต้นทุนประกอบการสูงขึ้น โดยเฉพาะราคา -รัฐให้การช่วยเหลือในการวางแผนการขนส่ง เพื่อ
น้ำมัน รองรับผลผลิตเกษตรที่ออกเป็นฤดูกาล
-หามาตรการระยะสั้นเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อผู้ประกอบการขนส่ง เช่น
มีคูปองน้ำมัน
-มาตรการระยะยาว รัฐ/เอกชน ต้องร่วมกัน
กำหนดนโยบายเรื่องก
6. สาขานำเข้า/ -ค่าเงินบาทที่ผันผวนมีผลกระทบต่อราคา -ดำเนินการต่อเนื่องในการปรับโครงสร้างภาษี
ส่งออก ส่งออก นำเข้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน
-ผู้นำเข้ามีธุรกิจถดถอยลงเพราะมีการแข่ง -เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ
ขันสูง -ปรับปรุงเงื่อนไขในการใช้ และขยายวงเงิน
-ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน Packing Credit
-ให้ธนาคารผ่อนปรนเงื่อนไข NPL เพื่อปล่อยกู้เพิ่ม
7. สาขาค้าปลีก -การแข่งขันรุนแรงจากการค้าปลีกขนาด -ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ BOI ในเรื่องการ
ใหญ่ ประกอบการ และการส่งเสริมการค้าปลีกขนาด
ใหญ่ (HYPER-MARKET)
- จัดอบรมทักษะแก่ผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย
8. การก่อสร้าง -การใช้จ่ายงบประมาณการก่อสร้างยังไม่ -เร่งรัดการจ่ายเงินงบประมาณด้านก่อสร้างเพื่อให้
นำไปสู่การสร้างงานเท่าที่ควร มีการกระจายรายได้สู่การบริโภคด้านครัวเรือน
-ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจก่อสร้าง -สถาบันการเงินเข้มงวดต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่
ผู้ประกอบการ
9. สาขาท่องเที่ยว/ -ประเทศคู่แข่งมุ่งสร้างคุณค่าและแรงจูงใจ -ปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชัดเจน
โรงแรม ให้นักท่องเที่ยวสนใจมากกว่าไทย และเร่งรัดการนำไปสู่การปฏิบัติ
-ส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ
เพื่อเป็นการกระจายงานและรายได้
-ช่วยลดต้นทุนผู้ประกอบการสนับสนุนการท่องเที่ยว
เช่น โรงแรม ในการลดค่าใช้จ่าย
สาธารณูปโภค และทบทวนการเก็บค่าธรรมเนียม
ผู้เข้าพักของ อบจ.
-สร้างถนน/รถไฟ เชื่อมโยงไปยังประเทศข้างเคียง
10.สาขาอสังหา- -การปรับโครงสร้างหนี้ยังมีความคืบหน้าไม่ -มาตรการส่งเสริมธุรกิจให้ฟื้นต่อเนื่องโดยสร้าง
ริมทรัพย์ เท่าที่ควร ความเชื่อมั่น เช่นการผ่อนปรน การให้สินเชื่อแก่
ผู้เช่าซื้อ
-ปรับโครงสร้างกฎหมายเพื่อพัฒนาธุรกิจ เช่น
กม.ประเมินค่าทรัพย์สิน กม.เอสโครว์ กม.
ตัวแทนนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ กม.อาคารชุดเป็นต้น
11.สาขาอุตสาห- -ขาดเงินทุนหมุนเวียน -คงอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสถาบันการเงินปล่อย
กรรม -ต้นทุนวัตถุดิบและขนส่งสูงขึ้น สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ
-การกีดกันทางการค้ายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง -เร่งการคืนภาษี และปรับโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม
-ลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภค และขนส่ง
-ดำเนินงานเรื่อง Anti-dumping และการกีดกัน
ทางการค้าอื่นๆ
12.สาขาประมง -การกีดกันทางการค้า -กำหนดระยเวลาอนุรักษ์น้ำทะเล และสร้างแนว
และอุตสาหกรรม -ขาดแคลนพื้นที่เพาะเลี้ยงและการแย่งชิง ปะการังเทียม และทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
ต่อเนื่อง ทรัพยากรประมง -กำหนดนโยบายประมงแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหา
การแย่งชิงทรัพยากร และควรสำรองแหล่งทำ
ประมงอื่นๆ เพิ่ม และขยายขนาดเรือปลาทูน่า
13.สาขาอัญมณี -วัตถุดิบน้อยลง -ชี้นำในการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ใน ต่างประเทศ
และเครื่อง -ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น -ขยายฐานการผลิตไปยังส่วนภูมิภาค
ประดับ -ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็น SMEs ขาด -สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะบุคลากร
ทักษะการบริหารงาน -เปิดตลาดการค้าใหม่ๆ และประชาสัมพันธ์ภาพ-
-มีการกีดกันทางการค้าสูงและมีคู่แข่งมาก ลักษณ์ของสินค้าไทย
ในส่วนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจแนวใหม่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว
มีความสอดคล้องกับกรองวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อยู่ในระหว่างการยกร่างรายละเอียด จึงมีมติมอบหมายให้ สศช.รับไปพิจารณาประกอบการยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และ
เมื่อมีความชัดเจนแล้ว ให้ประสานกับหน่วยงานปฏิบัติในการจัดทำแผนปฏิบัติการต่อไป
เศรษฐกิจแนวใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจใหม่ จะต้องเน้น 4 ด้าน คือ
1.1 ตลาด โดยเน้นให้ความเป็นพลวัตมากขึ้น สามารถรองรับการแข่งขันและความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ ผ่านเครือข่ายเชื่อมโยง
ระบบดิจิตอลในการทำการค้าและธุรกรรม
1.2 วิสาหกิจ โดยเน้นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบจากนวัตกรรมในการผลิตภายใต้คุณภาพที่ดีและราคา
ที่สามารถแข่งขัน
1.3 บุคลากร โดยเน้นค่าตอบแทนที่สูงเหมาะสมกับคุณภาพงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
1.4 รัฐบาล โดยเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ทักษะ ข้อมูล และเทคโนโลยี สำหรับการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิตอลของ
ภาคเอกชน
2. ความได้เปรียบในการแข่งขันภายใต้เศรษฐกิจใหม่ จำแนกเป็น 4 ด้าน คือ
2.1 ทัศนคติ เชื่อว่าความได้เปรียบมาจากผลิตภาพของประชาคม โดยมีวิสาหกิจเป็นผู้ทำการแข่งขันความได้เปรียบเป็นไประหว่าง
ธุรกรรมของเอกชนต่อเอกชน และคุณภาพของสังคม เช่น นวัตกรรม กฎระเบียบ ความรู้และความสามารถเชิงบริหาร
2.2 บทบาทของรัฐ/เอกชน เอกชนมุ่งตอบสนองและรู้จักตลาด มีธุรกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้าถึงตลาดที่มีกำลังซื้อ ทำ Segmentation
เพื่อจะได้มีการบริการหรือผลิตสินค้าในราคา/คุณภาพที่ตลาดต้องการ ส่วนรัฐจะสนับสนุนขบวนการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้เกิดนวัตกรรมเหล่านั้นขึ้น
2.3 กลไกการแข่งขัน รัฐสร้างกลไกการแข่งขันใหม่ เช่น ปฏิรูประบบการศึกษา การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
การลงทุนในโครงสร้างสารสนเทศ ปรับปรุงกฎระเบียบในการทำธุรกิจ และสร้างบรรยากาศการทำธุรกิจที่โปร่งใส ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ได้
2.4 กลยุทธ์การแข่งขัน เอกชนเจาะ Segmentation ที่ได้เปรียบ โดยอาศัยคุณภาพที่ดี รู้จักตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ได้ดีกว่า เร็วกว่าคู่แข่ง และมีต้นทุนการผลิตที่คู่แข่งสู้ไม่ได้
3. ข้อเสนอแนะ จะต้องสร้างความร่วมแรงร่วมใจในการปรับเปลี่ยนสังคมไทย ซึ่งหากไม่รณรงค์และดำเนินการให้เห็นผลในทางปฏิบัติแล้ว
จะมีผลกระทบ ดังนี้
3.1 เศรษฐกิจที่ชะงักงัน จะยังคงสภาพอยู่อีกนาน
3.2 ราคาสินค้าส่งออก สินค้าเกษตรยังตกต่ำ กิจการขาดทุน และขาดเงินหมุนเวียน
3.3 การลงทุนจะอยู่ในสภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ปริมาณเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อจะไม่เพิ่มขึ้น
ไม่สามารถปรับปรุงหรือขยายธุรกิจได้
3.4 สภาวะการว่างงานจะเพิ่มขึ้น อัตราค่าจ้างจะไม่สามารถปรับขึ้นได้ ช่องว่างระหว่างรายได้จะมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาแรงงาน
และมีผลกระทบต่อผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้ใช้แรงงานเกิดความไม่สงบในสังคม
3.5 ขาดแรงจูงใจให้มีการทุ่มเท ปรับปรุงผลิตภาพในด้านการผลิต การค้าและการบริการ
3.6 ไม่สามารถเพิ่มราคาสินค้าส่งออกและบริการได้พอเพียง ธุรกิจยังอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำกำไร มีผลตอบแทนจากการประกอบ
การต่ำ ส่งผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
3.7 การเก็บภาษีจะไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ปัจจุบันรัฐเริ่มเก็บภาษีน้อยกว่าประมาณการ ทำให้ขาดเงินรายได้ที่จะมาใช้จ่าย
ในการพัฒนาประเทศ
3.8 ประเทศไม่สามารถพัฒนาได้รวดเร็วเท่าเทียมกับคู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ในที่สุดก็จะเริ่มถดถอยกลายเป็น
ประเทศที่ล้าหลังและด้อยพัฒนาไป
สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว มีดังนี้
1. ปัญหาหลักในสังคมไทยภายหลังภาวะวิกฤติ
2. วิสัยทัศน์ความเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง
3. แนวทางปฏิบัติที่ทำให้ความคาดหวังเป็นจริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-กม/สส-