คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแนวทางการดำเนินการกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเสนอ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แนวทางการดูแลลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารทั้ง 2 แห่ง ที่เหมาะสมที่สุดคือการโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดของแต่ละธนาคารไปไว้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้น สำหรับแนวทางการดำเนินการกับสินทรัพย์ที่เหลือและหนี้สินในธนาคารทั้ง 2 แห่ง เห็นควรคงสินทรัพย์ที่ดีและหนี้สินไว้ที่ธนาคารทั้ง 2 แห่ง โดยหาทีมบริหารใหม่มาบริหารกิจการธนาคารต่อไป รวมทั้งปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งมีสถานะเป็นธนาคารเอกชน เพื่อให้การบริหารมีความคล่องตัวขึ้นและมีประสิทธิภาพ อนึ่ง เมื่อโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไป AMC แล้ว ธนาคารนครหลวงไทยฯ และธนาคารศรีนครฯ จะเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์ดีและมีขนาดเล็ก โดยจะมีลูกหนี้ดีประมาณ 34,300 ล้านบาท และ 25,100 ล้านบาท ตามลำดับ อาจจะประสบความยากลำบากในการอยู่รอดภายใต้ภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงเห็นว่าเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมควรดำเนินการควบรวมธนาคารทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน
2. ในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารเป็นเอกชน เห็นควรให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โอนขายหุ้นธนาคารทั้ง 2 แห่งที่ถืออยู่ออกไปในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของทุนชำระแล้วให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารเงินของข้าราชการ ทั้งนี้ กบข. อาจหาพันธมิตรที่เป็นกองทุนอื่นที่บริหารเงินให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานเอกชนอื่นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เห็นชอบมาร่วมลงทุนด้วยก็ได้ โดยมี กบข. เป็นแกนนำสำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น กบข. และพันธมิตรอาจจะตั้งกองทุนรวมขึ้นมาเพื่อถือหุ้นธนาคารก็ได้
3. การที่ กบข. และพันธมิตรที่เข้ามาลงทุนในธนาคารทั้ง 2 แห่ง จะเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะค้ำประกันว่า กบข. และพันธมิตรที่เข้ามาลงทุนจะได้เงินลงทุนคืนและได้รับผลตอบแทนในอัตราที่พึงได้
4. กบข. และพันธมิตรจะถือหุ้นธนาคารเป็นเวลา 3 ปี และ กบข. และพันธมิตรก็ต้องพยายามดำเนินการกระจายหุ้นให้เอกชนรายอื่น หากยังขายไม่ได้ภายใน 3 ปี ก็อาจขยายเวลาให้อีกครั้งละ 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ กบข. และพันธมิตรขายหุ้นธนาคารมีกำไร จะต้องแบ่งผลกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในสัดส่วนร้อยละ 70
5. การเข้าร่วมลงทุนดังกล่าว กบข. จะเข้ามาเมื่อธนาคารทั้ง 2 แห่งได้แยกลูกหนี้ด้อยคุณภาพไป AMC และลดทุนจนเหลือทุนทั้ง 2 ธนาคารรวมกันประมาณ 20,000 ล้านบาทแล้ว
6. ในการบริหารธนาคาร อาจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้บางส่วนซึ่งจะเป็นภาระทำให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้ไม่เต็มที่ เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ควรให้ความช่วยเหลือธนาคารสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย
7. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และ กบข. จะร่วมกันสรรหาทีมบริหารมืออาชีพมาบริหารงานธนาคารโดยในช่วงแรกทีมบริหารอาจเป็นชุดเดียวกันทั้งสองธนาคาร และเมื่อธนาคารทั้งสองแห่งมีความพร้อม ก็จะดำเนินการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
8. ในการดำเนินการดังกล่าว ประมาณว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีรายจ่ายสุทธิหลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ประมาณ 206,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ประเด็นการให้ความช่วยเหลือธนาคารสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับพนักงานและสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้น กระทรวงการคลังเห็นว่าควรจะต้องมีการกำหนดจำนวนเงินสูงสุดที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะจ่ายโดยอาจกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณ
2. สำหรับประเด็นการควบรวมกิจการของธนาคารทั้งสองแห่ง ซึ่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เสนอว่าจะหาทีมบริหารชุดเดียวกันเพื่อบริหารทั้งสองธนาคาร และเมื่อธนาคารทั้งสองแห่งมีความพร้อมที่จะดำเนินการควบรวมกิจการเข้าด้วยกันนั้น เนื่องจากแต่ละธนาคารมีกลุ่มลูกค้าของตนเองประกอบกับการควบรวมจะมีผลกระทบหลายด้านทั้งต่อกลุ่มลูกค้า และเจ้าหนี้ของธนาคาร รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม อีกทั้งความเห็นของ กบข. ที่ต้องการให้ธนาคารทั้งสองแยกการดำเนินการและมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการควบรวมธนาคารทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นควรมีการแยกการดำเนินการแก้ไขปัญหาของแต่ละธนาคาร โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการควบรวม ทั้งนี้ ให้แต่ละธนาคารมีคณะกรรมการและทีมบริหารแยกต่างหากจากกัน แต่ให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างคณะกรรมการของทั้งสองธนาคาร เช่น การให้มีกรรมการบางส่วนที่ดูแลทั้งสองธนาคาร หรือให้มีประธานกรรมการเป็นคนเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้สามารถทราบถึงสถานะของทั้งสองธนาคารอย่างใกล้ชิดและสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องการควบรวมหากมีความจำเป็น
ในกรณีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้รับความเสียหายจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ให้กระทรวงการคลังจ่ายชดเชยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อีกทอดหนึ่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังจะกำหนดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-
1. แนวทางการดูแลลูกหนี้ด้อยคุณภาพของธนาคารทั้ง 2 แห่ง ที่เหมาะสมที่สุดคือการโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดของแต่ละธนาคารไปไว้ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้น สำหรับแนวทางการดำเนินการกับสินทรัพย์ที่เหลือและหนี้สินในธนาคารทั้ง 2 แห่ง เห็นควรคงสินทรัพย์ที่ดีและหนี้สินไว้ที่ธนาคารทั้ง 2 แห่ง โดยหาทีมบริหารใหม่มาบริหารกิจการธนาคารต่อไป รวมทั้งปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งมีสถานะเป็นธนาคารเอกชน เพื่อให้การบริหารมีความคล่องตัวขึ้นและมีประสิทธิภาพ อนึ่ง เมื่อโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไป AMC แล้ว ธนาคารนครหลวงไทยฯ และธนาคารศรีนครฯ จะเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์ดีและมีขนาดเล็ก โดยจะมีลูกหนี้ดีประมาณ 34,300 ล้านบาท และ 25,100 ล้านบาท ตามลำดับ อาจจะประสบความยากลำบากในการอยู่รอดภายใต้ภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงเห็นว่าเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมควรดำเนินการควบรวมธนาคารทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน
2. ในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ธนาคารเป็นเอกชน เห็นควรให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โอนขายหุ้นธนาคารทั้ง 2 แห่งที่ถืออยู่ออกไปในสัดส่วนประมาณร้อยละ 51 ของทุนชำระแล้วให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารเงินของข้าราชการ ทั้งนี้ กบข. อาจหาพันธมิตรที่เป็นกองทุนอื่นที่บริหารเงินให้ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานเอกชนอื่นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เห็นชอบมาร่วมลงทุนด้วยก็ได้ โดยมี กบข. เป็นแกนนำสำหรับรูปแบบการลงทุนนั้น กบข. และพันธมิตรอาจจะตั้งกองทุนรวมขึ้นมาเพื่อถือหุ้นธนาคารก็ได้
3. การที่ กบข. และพันธมิตรที่เข้ามาลงทุนในธนาคารทั้ง 2 แห่ง จะเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะค้ำประกันว่า กบข. และพันธมิตรที่เข้ามาลงทุนจะได้เงินลงทุนคืนและได้รับผลตอบแทนในอัตราที่พึงได้
4. กบข. และพันธมิตรจะถือหุ้นธนาคารเป็นเวลา 3 ปี และ กบข. และพันธมิตรก็ต้องพยายามดำเนินการกระจายหุ้นให้เอกชนรายอื่น หากยังขายไม่ได้ภายใน 3 ปี ก็อาจขยายเวลาให้อีกครั้งละ 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ กบข. และพันธมิตรขายหุ้นธนาคารมีกำไร จะต้องแบ่งผลกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายในการขายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในสัดส่วนร้อยละ 70
5. การเข้าร่วมลงทุนดังกล่าว กบข. จะเข้ามาเมื่อธนาคารทั้ง 2 แห่งได้แยกลูกหนี้ด้อยคุณภาพไป AMC และลดทุนจนเหลือทุนทั้ง 2 ธนาคารรวมกันประมาณ 20,000 ล้านบาทแล้ว
6. ในการบริหารธนาคาร อาจมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานและสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้บางส่วนซึ่งจะเป็นภาระทำให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้ไม่เต็มที่ เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ควรให้ความช่วยเหลือธนาคารสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย
7. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และ กบข. จะร่วมกันสรรหาทีมบริหารมืออาชีพมาบริหารงานธนาคารโดยในช่วงแรกทีมบริหารอาจเป็นชุดเดียวกันทั้งสองธนาคาร และเมื่อธนาคารทั้งสองแห่งมีความพร้อม ก็จะดำเนินการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
8. ในการดำเนินการดังกล่าว ประมาณว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะมีรายจ่ายสุทธิหลังจากเสร็จสิ้นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ประมาณ 206,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังมีความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. ประเด็นการให้ความช่วยเหลือธนาคารสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับพนักงานและสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้น กระทรวงการคลังเห็นว่าควรจะต้องมีการกำหนดจำนวนเงินสูงสุดที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะจ่ายโดยอาจกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณ
2. สำหรับประเด็นการควบรวมกิจการของธนาคารทั้งสองแห่ง ซึ่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เสนอว่าจะหาทีมบริหารชุดเดียวกันเพื่อบริหารทั้งสองธนาคาร และเมื่อธนาคารทั้งสองแห่งมีความพร้อมที่จะดำเนินการควบรวมกิจการเข้าด้วยกันนั้น เนื่องจากแต่ละธนาคารมีกลุ่มลูกค้าของตนเองประกอบกับการควบรวมจะมีผลกระทบหลายด้านทั้งต่อกลุ่มลูกค้า และเจ้าหนี้ของธนาคาร รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม อีกทั้งความเห็นของ กบข. ที่ต้องการให้ธนาคารทั้งสองแยกการดำเนินการและมีการพิจารณาอย่างรอบคอบเป็นระยะ ๆ ถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการควบรวมธนาคารทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นควรมีการแยกการดำเนินการแก้ไขปัญหาของแต่ละธนาคาร โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการควบรวม ทั้งนี้ ให้แต่ละธนาคารมีคณะกรรมการและทีมบริหารแยกต่างหากจากกัน แต่ให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างคณะกรรมการของทั้งสองธนาคาร เช่น การให้มีกรรมการบางส่วนที่ดูแลทั้งสองธนาคาร หรือให้มีประธานกรรมการเป็นคนเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้สามารถทราบถึงสถานะของทั้งสองธนาคารอย่างใกล้ชิดและสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องการควบรวมหากมีความจำเป็น
ในกรณีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้รับความเสียหายจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ให้กระทรวงการคลังจ่ายชดเชยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อีกทอดหนึ่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังจะกำหนดต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 20 มี.ค.2544
-สส-