คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างแผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ได้พิจารณาแล้ว เพื่อให้หน่วยงานเกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติ และเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณต่อไป
ร่างแผนแม่บทดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดทำร่างแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดำเนินการโดยได้นำสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุมระดมความคิด กำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติดมาบรรจุไว้ในร่างแผนฯ ได้ศึกษาผลการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา และปัจจัยเกี่ยวข้องทุกด้าน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม รวมทั้งแนวโน้มของปัญหา และเสนอกรอบความคิดในการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
2. ผลการศึกษา สรุปได้ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแก้ไขที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคในหลายด้าน ทั้งปัญหาแหล่งผลิตที่อยู่ภายนอกประเทศ เครือข่ายการค้าที่มีนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการการจัดทำแผนและการจัดสรรงบประมาณ ผลการศึกษาได้เสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กรอบความคิดในการดำเนินการ มุ่งสร้างจิตสำนึกและความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและชุมชน ให้ชุมชนและครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ปรับปรุงประสิทธิภาพการปราบปรามและการดำเนินการตามกฎหมายให้รวดเร็วและเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้ค้ารายใหญ่ ยึดพื้นที่เป็นเป้าหมายดำเนินการโดยใช้หลักการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร และสร้างเอกภาพในการบริหารจัดการ
2.2 วิสัยทัศน์ กำหนดให้ "คน ครอบครัว ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีคุณธรรม มีความเอื้ออาทร มีภูมิคุ้มกัน อยู่ในสังคมที่เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติด และทุกภาคส่วนในสังคม มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน"
2.3 วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างให้คน ครอบครัว และชุมชน มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อลดปริมาณความต้องการยาเสพติดในประชาชนทุกกลุ่ม ลดผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ให้การสนับสนุน รวมทั้งหยุดยั้งควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแต่ละพื้นที่
2.4 เป้าหมาย ป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกชุมชน ตระหนักถึงภัยและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ให้ผู้เสพติดทุกคนได้รับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ สกัดกั้นและปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดต่อผู้ผลิต ผู้ลำเลียง ผู้จำหน่าย และผู้ให้การสนับสนุน
2.5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การป้องกันการสร้างพลังแผ่นดินและลดเงื่อนไขการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา ยุทธศาสตร์การปราบปรามและดำเนินการตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
2.6 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การชี้แจงทำความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง2) การจัดทำแผนในระดับพื้นที่เป้าหมาย 3) การกำหนดระดับความรุนแรงของพื้นที่เพื่อจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินการ 4) การจัดองค์กร กลไก บุคลากร และงบประมาณรองรับการบริหารแผนฯ 5) การติดตามประเมินผลและ 6) การกำหนดเครื่องชี้วัดความสำเร็จ
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับข้อคิดเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ไปประกอบการดำเนินการ ดังนี้
1. สถานการณ์รุนแรงและแพร่หลายกว้างขวาง โดยเฉพาะต่อเนื่องถึงเด็กและเยาวชน ควรมีแผนปฏิบัติการที่เป็นเอกภาพ มีชุดปฏิบัติการที่คล่องตัวลงปราบปรามในพื้นที่ระดับย่อย คือ ชุมชน โรงเรียน และโรงงาน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน อาทิ ชุดละประมาณ 20 - 30 หมู่บ้าน เร่งแก้ไขปัญหาให้ครบวงจรโดยส่วนราชการวางแผนและสนับสนุนกัน อาทิ ตรช. วางแผนและสนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อความพร้อมในการบำบัดและฟื้นฟู สำหรับเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มากที่สุด จึงควรจัดสรรงบประมาณในกลุ่มเสี่ยงนี้ให้มากพอ และต้องแยกผู้ค้าและผู้เสพออกจากกัน สำหรับการกำหนดจำนวนยาบ้าไว้ในครอบครองควรได้พิจารณาอย่างเหมาะสม มิให้ส่งผลในทางลบ
2. แผนแม่บทฯ ได้จัดทำไว้ค่อนข้างเป็นระบบดี โดยได้ศึกษาข้อมูลโดยครบถ้วน รวมทั้งกำหนดกรอบดำเนินการ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ไว้พร้อม เน้นการให้ความสำคัญกับคนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และดำเนินการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวมและครบวงจร น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เป็นกรอบการทำงานของทุกส่วนราชการอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติและการมีแผนปฏิบัติการรองรับ
3. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่างแผนฯ ที่ได้กำหนดไว้เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสวงหาความร่วมมือและความช่วยเหลือจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน และต้องสร้างกระแสสังคมระดับนานาชาติให้ตระหนักว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของประชาคมโลก จึงสมควรที่จะต้องได้รับพิจารณาสนับสนุนงบประมาณบรรลุภารกิจได้ตามเป้าหมายและอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ คือผู้บริหารสูงสุดของประเทศเป็นผู้นำผลักดันการปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง มีการนำแผนไปปฏิบัติ มีการประสานแผนและมีแผนปฏิบัติการที่ดีตามหลักการที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดรุนแรงผนึกกำลังทุกภาคส่วนในสังคม ขยายเครือข่ายให้กว้างขวางปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดและจริงจังกับผู้ค้าหรือผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
ร่างแผนแม่บทดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดทำร่างแผน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ดำเนินการโดยได้นำสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุมระดมความคิด กำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติดมาบรรจุไว้ในร่างแผนฯ ได้ศึกษาผลการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา และปัจจัยเกี่ยวข้องทุกด้าน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม รวมทั้งแนวโน้มของปัญหา และเสนอกรอบความคิดในการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
2. ผลการศึกษา สรุปได้ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การแก้ไขที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคในหลายด้าน ทั้งปัญหาแหล่งผลิตที่อยู่ภายนอกประเทศ เครือข่ายการค้าที่มีนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการการจัดทำแผนและการจัดสรรงบประมาณ ผลการศึกษาได้เสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 กรอบความคิดในการดำเนินการ มุ่งสร้างจิตสำนึกและความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวและชุมชน ให้ชุมชนและครอบครัวเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ปรับปรุงประสิทธิภาพการปราบปรามและการดำเนินการตามกฎหมายให้รวดเร็วและเด็ดขาด โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้ค้ารายใหญ่ ยึดพื้นที่เป็นเป้าหมายดำเนินการโดยใช้หลักการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร และสร้างเอกภาพในการบริหารจัดการ
2.2 วิสัยทัศน์ กำหนดให้ "คน ครอบครัว ชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข มีคุณธรรม มีความเอื้ออาทร มีภูมิคุ้มกัน อยู่ในสังคมที่เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติด และทุกภาคส่วนในสังคม มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน"
2.3 วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างให้คน ครอบครัว และชุมชน มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อลดปริมาณความต้องการยาเสพติดในประชาชนทุกกลุ่ม ลดผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ให้การสนับสนุน รวมทั้งหยุดยั้งควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในแต่ละพื้นที่
2.4 เป้าหมาย ป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกชุมชน ตระหนักถึงภัยและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ให้ผู้เสพติดทุกคนได้รับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ สกัดกั้นและปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดต่อผู้ผลิต ผู้ลำเลียง ผู้จำหน่าย และผู้ให้การสนับสนุน
2.5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์การป้องกันการสร้างพลังแผ่นดินและลดเงื่อนไขการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา ยุทธศาสตร์การปราบปรามและดำเนินการตามกฎหมาย ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
2.6 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การชี้แจงทำความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง2) การจัดทำแผนในระดับพื้นที่เป้าหมาย 3) การกำหนดระดับความรุนแรงของพื้นที่เพื่อจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินการ 4) การจัดองค์กร กลไก บุคลากร และงบประมาณรองรับการบริหารแผนฯ 5) การติดตามประเมินผลและ 6) การกำหนดเครื่องชี้วัดความสำเร็จ
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับข้อคิดเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ไปประกอบการดำเนินการ ดังนี้
1. สถานการณ์รุนแรงและแพร่หลายกว้างขวาง โดยเฉพาะต่อเนื่องถึงเด็กและเยาวชน ควรมีแผนปฏิบัติการที่เป็นเอกภาพ มีชุดปฏิบัติการที่คล่องตัวลงปราบปรามในพื้นที่ระดับย่อย คือ ชุมชน โรงเรียน และโรงงาน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน อาทิ ชุดละประมาณ 20 - 30 หมู่บ้าน เร่งแก้ไขปัญหาให้ครบวงจรโดยส่วนราชการวางแผนและสนับสนุนกัน อาทิ ตรช. วางแผนและสนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อความพร้อมในการบำบัดและฟื้นฟู สำหรับเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มากที่สุด จึงควรจัดสรรงบประมาณในกลุ่มเสี่ยงนี้ให้มากพอ และต้องแยกผู้ค้าและผู้เสพออกจากกัน สำหรับการกำหนดจำนวนยาบ้าไว้ในครอบครองควรได้พิจารณาอย่างเหมาะสม มิให้ส่งผลในทางลบ
2. แผนแม่บทฯ ได้จัดทำไว้ค่อนข้างเป็นระบบดี โดยได้ศึกษาข้อมูลโดยครบถ้วน รวมทั้งกำหนดกรอบดำเนินการ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ไว้พร้อม เน้นการให้ความสำคัญกับคนและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และดำเนินการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวมและครบวงจร น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เป็นกรอบการทำงานของทุกส่วนราชการอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติและการมีแผนปฏิบัติการรองรับ
3. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่างแผนฯ ที่ได้กำหนดไว้เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสวงหาความร่วมมือและความช่วยเหลือจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน และต้องสร้างกระแสสังคมระดับนานาชาติให้ตระหนักว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาของประชาคมโลก จึงสมควรที่จะต้องได้รับพิจารณาสนับสนุนงบประมาณบรรลุภารกิจได้ตามเป้าหมายและอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ คือผู้บริหารสูงสุดของประเทศเป็นผู้นำผลักดันการปฏิบัติตามแผนอย่างจริงจัง มีการนำแผนไปปฏิบัติ มีการประสานแผนและมีแผนปฏิบัติการที่ดีตามหลักการที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่ที่มีแหล่งระบาดรุนแรงผนึกกำลังทุกภาคส่วนในสังคม ขยายเครือข่ายให้กว้างขวางปราบปรามอย่างรวดเร็วเด็ดขาดและจริงจังกับผู้ค้าหรือผู้ผลิตรายใหญ่ รวมทั้งผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-