คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล
1.1 ให้รัฐบาลสั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดประตูน้ำทั้ง 8 บาน สุดบานประตู เป็นระยะเวลา 4 เดือน (พ.ค. - ส.ค. 44) และดำเนินการศึกษาลุ่มน้ำธรรมชาติจากการเปิดประตูน้ำทั้ง 8 บาน
1.2 ให้รัฐบาลอำนวยการและให้การสนับสนุนทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแก่คณะทำงาน 2 คณะที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ คณะทำงานทดรองการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล และคณะทำงานเพื่อฟื้นฟูชีวิตชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร
2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมแก่การเกษตรแก่ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเขื่อนสิรินธร โดยจัดลำดับความสำคัญโดยการจัดหาที่ดินทำกิน ครอบครัวละ 15 ไร่ หากไม่สามารถจัดหาได้ให้จ่ายเป็นค่าชดเชยไร่ละ 32,000 บาท
2.2 กรณีบ้านโนนจันทร์ ควรตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ หาก กฟผ. ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้คืนแก่ชาวบ้านตามรัฐธรรมนูญฯ
2.3 ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณและอำนวยความสะดวกให้กับคณะทำงานที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการจัดหาที่ดินและสนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูชีวิตและชุมชนของราษฎร
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ รัฐบาลจะอำนวยการและให้การสนับสนุนทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแก่คณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและกำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยความเสียหาย
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนที่มี นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นประธาน กรณีเขื่อนของ กฟผ. ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนฯ ซึ่งมีประเด็นข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 17 เม.ย.2544
-สส-
1. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล
1.1 ให้รัฐบาลสั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดประตูน้ำทั้ง 8 บาน สุดบานประตู เป็นระยะเวลา 4 เดือน (พ.ค. - ส.ค. 44) และดำเนินการศึกษาลุ่มน้ำธรรมชาติจากการเปิดประตูน้ำทั้ง 8 บาน
1.2 ให้รัฐบาลอำนวยการและให้การสนับสนุนทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแก่คณะทำงาน 2 คณะที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ คณะทำงานทดรองการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล และคณะทำงานเพื่อฟื้นฟูชีวิตชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร
2.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมแก่การเกษตรแก่ชาวบ้านที่เดือดร้อนจากเขื่อนสิรินธร โดยจัดลำดับความสำคัญโดยการจัดหาที่ดินทำกิน ครอบครัวละ 15 ไร่ หากไม่สามารถจัดหาได้ให้จ่ายเป็นค่าชดเชยไร่ละ 32,000 บาท
2.2 กรณีบ้านโนนจันทร์ ควรตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ หาก กฟผ. ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ให้คืนแก่ชาวบ้านตามรัฐธรรมนูญฯ
2.3 ให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณและอำนวยความสะดวกให้กับคณะทำงานที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการจัดหาที่ดินและสนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูชีวิตและชุมชนของราษฎร
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ รัฐบาลจะอำนวยการและให้การสนับสนุนทรัพยากรบุคคลและงบประมาณแก่คณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและกำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยความเสียหาย
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนที่มี นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นประธาน กรณีเขื่อนของ กฟผ. ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนฯ ซึ่งมีประเด็นข้อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 17 เม.ย.2544
-สส-