คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) รายงานการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการและการมอบนโยบายจังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ 2 ประกอบด้วย จังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และตาก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปตรวจราชการเมื่อวันที่ 22-23 เมษายน 2548 สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เสนอปัญหา ดังนี้
- ขอเปิดช่องภูดู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดผ่อนปรนจุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยขอให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการประสานกระทรวงการต่างประเทศ
- ปัญหาการถือครองที่ราชพัสดุ ขอให้กรมธนารักษ์ถอนสภาพที่ราชพัสดุให้แก่ราษฎรต่อไป
- ในพื้นที่สร้างเขื่อนสิริกิติ์ มีปัญหาพื้นที่ที่ได้จัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านทับซ้อนเข้าไปในป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้มีการเสนอร่างกฎกระทรวงแก้ไขแผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ และร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขแผนที่เขตนิคมฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปแล้ว ขอให้รองนายกรัฐมนตรีช่วยสนับสนุนผลักดันร่างกฎหมายทั้งสองดังกล่าวด้วย
- ปัญหาการถ่ายโอนภารกิจสูบน้ำด้วยไฟฟ้าให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการโอนภาระหนี้สินค่าไฟฟ้าจำนวน 94 ล้านบาท เป็นภาระที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดค้างตลอดมา ทำให้การสูบน้ำไม่อาจกระทำได้เต็มที่ ขอให้รองนายกรัฐมนตรีประสานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดูแลแก้ไขปัญหานี้ด้วย
2. จังหวัดพิษณุโลก กำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็นเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและตามคำรับรองที่ได้ลงนามไว้กับรองนายกรัฐมนตรี
3. จังหวัดตาก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 500 ก.ม. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงาน Contract Farming จังหวัดตากเป็นจังหวัดนำร่อง ได้ประสานผู้ประกอบการรายย่อยเข้าไปลงทุนที่เมืองเมียวดี ในพื้นที่ 30,000 ไร่ และจังหวัดตาก ได้ตั้งงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ สมทบ 2,430,000 บาท (ไร่ละ 70 บาท) ประสบปัญหาการนำเข้าผลผลิต เพราะรัฐบาลพม่ายังไม่รับรู้
- ตามโครงการ East West Corridor ทางด้านตะวันตก ซึ่งขณะนี้ได้มีการสร้างถนนจาก Myawaddy (ฝั่งตรงข้ามอำเภอแม่สอด) ไปยัง Kawkareik เป็นระยะทาง 18 ก.ม. และทราบว่าพม่าต้องการให้สร้างเข้าไปถึง Mawalamyite โดยสร้างอ้อมภูเขาตะนาวศรี
4. จังหวัดสุโขทัย รายงานว่าได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลทุกประการ ทั้งมีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขจัดปัญหาความยากจน การส่งเสริมการท่องเที่ยวและสินค้า OTOP การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขณะเดียวกันกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยได้รายงานว่า จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก และในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลหลากท่วมบ้านเรือน พื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอบ้านด่านลานหอย ขณะนี้จังหวัดโดยสำนักชลประทานที่ 4 ได้จัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่รำพัน อันเนื่องจากพระราชดำริเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการต่อไป ส่วนอำเภอเมืองต้องจัดทำโครงการแก้มลิง จึงจะสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งแบบยั่งยืนได้ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้จังหวัดดำเนินการเสนอคำขอและรายละเอียดโครงการทั้งสองเพื่อจะได้พิจารณาให้การสนับสนุน ต่อไป
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบาย/ข้อสั่งการให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1) โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 โดยมีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแนวคิดและทิศทางในการบริหารประเทศ ส่วนที่เป็นยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และส่วนที่เป็นกลไกการทำแผนบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการให้เสร็จภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2548 จึงกำชับให้จังหวัดดำเนินการภายในกำหนดดังกล่าวนี้ด้วย
2) ขอให้ทุกจังหวัดยึดหลักการและดำเนินการตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด โดยในเขตตรวจราชการที่ 2 มียุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางบริการสี่แยกอินโดจีนแห่งเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นการบริหารราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและปรับทัศนคติให้มุ่งสู่การให้บริการประชาชน ตลอดจนทำความเข้าใจนโยบายรัฐบาลให้ไปสู่ผู้ปฏิบัติในระดับล่างด้วย
4) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตระหนักและดำเนินการอย่างจริงจังในนโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ อาทิ ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการขจัดความยากจน การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น การปราบปรามผู้มีอิทธิพลและการดำเนินการกับแรงงานหลบหนี เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ตลอดจนปัญหาที่สำคัญในขณะนี้คือภัยแล้งซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลาก จะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งในระยะเร่งด่วน ปานกลาง และระยะยาวอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาหญ้า ซึ่งเป็นการทำลายจุลินทรีย์ในพื้นดิน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญและกล่าวถึงหลายครั้ง
5) ในเรื่องของการท่องเที่ยว ขอให้ทุกจังหวัดมองในภาพรวมว่าการดำเนินการปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้านไปแล้วเป็นอย่างไร และที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ควรจะพิจารณาเป็นนโยบายในเชิงกว้างเปรียบเทียบกับที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การสร้างสะพานที่จังหวัดเชียงราย (สะพานแม่สายแห่งที่ 2) หรือเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง ไทย-จีน และลาว ที่แต่ละประเทศร่วมกันลงทุนค่าก่อสร้าง ประเทศละ 1 ใน 3 เป็นต้น พร้อมกันนี้ได้ขอให้ช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวมีชีวิตชีวา ไม่ใช่เป็นโบราณสถานเพียงอย่างเดียว และจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ เช่น ต้องสร้างบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ต้องมีแหล่งอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สถานที่ต้องมีความปลอดภัย จังหวัดต้องคิดถึงสถานที่ที่จะใช้ประชุมในระดับประเทศ รวมถึงมีที่พักรับรอง เพื่อดึงชาวต่างชาติเข้ามาประชุมทุกจังหวัดต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะเป็นศูนย์กลาง โดยมี bus Terminal ซึ่งจะต้องแยกออกจากโครงการอย่างชัดเจน
ในวันที่ 23 เมษายน 2548 รองนายกรัฐมนตรีและคณะได้ไปร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์และยาเสพติด ปัญหาภัยแล้ง การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งปัญหาที่ส่วนราชการและภาคเอกชนนำเสนอมา รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแนวทางในการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานให้ทราบว่าจากการรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และผู้มารายงานตนมีจำนวนไม่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ กล่าวคือ จำนวนผู้มารายงานตนแล้วได้เคลื่อนย้ายไปทำงานนอกพื้นที่จังหวัดตาก และทำให้จังหวัดตากขาดแคลนแรงงาน เป็นเหตุให้เกิดแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม และโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะให้กำหนดเป็นพื้นที่ที่มีกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับแรงงานตามฤดูกาล หรือแรงงานที่มาเช้าเย็นกลับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะมีการนำไปหารือในการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเดือนพฤษภาคมนี้
2) ปัญหาการค้ามนุษย์ ส่วนราชการรายงานให้ทราบว่ามีเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดตากมี 2 สัญชาติจำนวนมาก อันเป็นทั้งปัญหาทางสังคมและปัญหาทางการปกครอง นอกจากนั้น พบข้อเท็จจริงว่าเด็กและเยาวชนจำนวนหนึ่งได้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการค้ามนุษย์ เช่น ถูกบังคับใช้แรงงาน การค้าประเวณี เป็นต้น ประเด็นปัญหานี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยได้สั่งการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวบรวมปัญหาส่งให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3) ปัญหาภัยแล้ง ส่วนราชการได้รายงานว่า สถานการณ์อยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งส่วนราชการเองก็ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวไว้แล้ว รองนายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งกำชับให้ดำเนินการไปตามแผนงานโดยเคร่งครัดอย่างทั่วถึงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
4) การส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ได้กำชับให้ที่ประชุมทราบถึงความสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่อำเภอแม่สอด แม่ระมาด และพบพระ ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนว่า ขอให้คำนึงถึงศักยภาพของจังหวัด ตลอดจนความร่วมมือที่ประเทศไทยมีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบในประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำเข้ามาในประเทศให้ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านศุลกากร (AISP) ภายใต้กรอบของ ACMECS
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เสนอปัญหา ดังนี้
- ขอเปิดช่องภูดู่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดผ่อนปรนจุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นจุดผ่านแดนถาวร โดยขอให้รองนายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการประสานกระทรวงการต่างประเทศ
- ปัญหาการถือครองที่ราชพัสดุ ขอให้กรมธนารักษ์ถอนสภาพที่ราชพัสดุให้แก่ราษฎรต่อไป
- ในพื้นที่สร้างเขื่อนสิริกิติ์ มีปัญหาพื้นที่ที่ได้จัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านทับซ้อนเข้าไปในป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้มีการเสนอร่างกฎกระทรวงแก้ไขแผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ และร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขแผนที่เขตนิคมฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปแล้ว ขอให้รองนายกรัฐมนตรีช่วยสนับสนุนผลักดันร่างกฎหมายทั้งสองดังกล่าวด้วย
- ปัญหาการถ่ายโอนภารกิจสูบน้ำด้วยไฟฟ้าให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการโอนภาระหนี้สินค่าไฟฟ้าจำนวน 94 ล้านบาท เป็นภาระที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นติดค้างตลอดมา ทำให้การสูบน้ำไม่อาจกระทำได้เต็มที่ ขอให้รองนายกรัฐมนตรีประสานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดูแลแก้ไขปัญหานี้ด้วย
2. จังหวัดพิษณุโลก กำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็นเมืองบริการสี่แยกอินโดจีนดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและตามคำรับรองที่ได้ลงนามไว้กับรองนายกรัฐมนตรี
3. จังหวัดตาก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 500 ก.ม. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงาน Contract Farming จังหวัดตากเป็นจังหวัดนำร่อง ได้ประสานผู้ประกอบการรายย่อยเข้าไปลงทุนที่เมืองเมียวดี ในพื้นที่ 30,000 ไร่ และจังหวัดตาก ได้ตั้งงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ สมทบ 2,430,000 บาท (ไร่ละ 70 บาท) ประสบปัญหาการนำเข้าผลผลิต เพราะรัฐบาลพม่ายังไม่รับรู้
- ตามโครงการ East West Corridor ทางด้านตะวันตก ซึ่งขณะนี้ได้มีการสร้างถนนจาก Myawaddy (ฝั่งตรงข้ามอำเภอแม่สอด) ไปยัง Kawkareik เป็นระยะทาง 18 ก.ม. และทราบว่าพม่าต้องการให้สร้างเข้าไปถึง Mawalamyite โดยสร้างอ้อมภูเขาตะนาวศรี
4. จังหวัดสุโขทัย รายงานว่าได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลทุกประการ ทั้งมีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การขจัดปัญหาความยากจน การส่งเสริมการท่องเที่ยวและสินค้า OTOP การส่งเสริมการลงทุนธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ขณะเดียวกันกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยได้รายงานว่า จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก และในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำไหลหลากท่วมบ้านเรือน พื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอบ้านด่านลานหอย ขณะนี้จังหวัดโดยสำนักชลประทานที่ 4 ได้จัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่รำพัน อันเนื่องจากพระราชดำริเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณดำเนินการต่อไป ส่วนอำเภอเมืองต้องจัดทำโครงการแก้มลิง จึงจะสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งแบบยั่งยืนได้ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้จังหวัดดำเนินการเสนอคำขอและรายละเอียดโครงการทั้งสองเพื่อจะได้พิจารณาให้การสนับสนุน ต่อไป
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบาย/ข้อสั่งการให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1) โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548-2551 โดยมีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแนวคิดและทิศทางในการบริหารประเทศ ส่วนที่เป็นยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และส่วนที่เป็นกลไกการทำแผนบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการให้เสร็จภายในวันที่ 13 มิถุนายน 2548 จึงกำชับให้จังหวัดดำเนินการภายในกำหนดดังกล่าวนี้ด้วย
2) ขอให้ทุกจังหวัดยึดหลักการและดำเนินการตามยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/จังหวัด โดยในเขตตรวจราชการที่ 2 มียุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางบริการสี่แยกอินโดจีนแห่งเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเน้นการบริหารราชการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและปรับทัศนคติให้มุ่งสู่การให้บริการประชาชน ตลอดจนทำความเข้าใจนโยบายรัฐบาลให้ไปสู่ผู้ปฏิบัติในระดับล่างด้วย
4) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตระหนักและดำเนินการอย่างจริงจังในนโยบายสำคัญ ๆ ของรัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ อาทิ ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการขจัดความยากจน การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น การปราบปรามผู้มีอิทธิพลและการดำเนินการกับแรงงานหลบหนี เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ตลอดจนปัญหาที่สำคัญในขณะนี้คือภัยแล้งซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูน้ำหลาก จะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทั้งในระยะเร่งด่วน ปานกลาง และระยะยาวอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาหญ้า ซึ่งเป็นการทำลายจุลินทรีย์ในพื้นดิน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญและกล่าวถึงหลายครั้ง
5) ในเรื่องของการท่องเที่ยว ขอให้ทุกจังหวัดมองในภาพรวมว่าการดำเนินการปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้านไปแล้วเป็นอย่างไร และที่จะดำเนินการต่อไปนั้น ควรจะพิจารณาเป็นนโยบายในเชิงกว้างเปรียบเทียบกับที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การสร้างสะพานที่จังหวัดเชียงราย (สะพานแม่สายแห่งที่ 2) หรือเส้นทางที่กำลังก่อสร้าง ไทย-จีน และลาว ที่แต่ละประเทศร่วมกันลงทุนค่าก่อสร้าง ประเทศละ 1 ใน 3 เป็นต้น พร้อมกันนี้ได้ขอให้ช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวมีชีวิตชีวา ไม่ใช่เป็นโบราณสถานเพียงอย่างเดียว และจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ เช่น ต้องสร้างบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ต้องมีแหล่งอาหารที่ถูกสุขลักษณะ สถานที่ต้องมีความปลอดภัย จังหวัดต้องคิดถึงสถานที่ที่จะใช้ประชุมในระดับประเทศ รวมถึงมีที่พักรับรอง เพื่อดึงชาวต่างชาติเข้ามาประชุมทุกจังหวัดต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะเป็นศูนย์กลาง โดยมี bus Terminal ซึ่งจะต้องแยกออกจากโครงการอย่างชัดเจน
ในวันที่ 23 เมษายน 2548 รองนายกรัฐมนตรีและคณะได้ไปร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์และยาเสพติด ปัญหาภัยแล้ง การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งปัญหาที่ส่วนราชการและภาคเอกชนนำเสนอมา รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแนวทางในการปฏิบัติราชการ ดังนี้
1) ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานให้ทราบว่าจากการรับจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และผู้มารายงานตนมีจำนวนไม่สอดคล้องกับความต้องการแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ กล่าวคือ จำนวนผู้มารายงานตนแล้วได้เคลื่อนย้ายไปทำงานนอกพื้นที่จังหวัดตาก และทำให้จังหวัดตากขาดแคลนแรงงาน เป็นเหตุให้เกิดแรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม และโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะให้กำหนดเป็นพื้นที่ที่มีกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับแรงงานตามฤดูกาล หรือแรงงานที่มาเช้าเย็นกลับ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะมีการนำไปหารือในการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองในเดือนพฤษภาคมนี้
2) ปัญหาการค้ามนุษย์ ส่วนราชการรายงานให้ทราบว่ามีเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดตากมี 2 สัญชาติจำนวนมาก อันเป็นทั้งปัญหาทางสังคมและปัญหาทางการปกครอง นอกจากนั้น พบข้อเท็จจริงว่าเด็กและเยาวชนจำนวนหนึ่งได้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการค้ามนุษย์ เช่น ถูกบังคับใช้แรงงาน การค้าประเวณี เป็นต้น ประเด็นปัญหานี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ โดยได้สั่งการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวบรวมปัญหาส่งให้ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3) ปัญหาภัยแล้ง ส่วนราชการได้รายงานว่า สถานการณ์อยู่ในภาวะที่สามารถควบคุมได้ รวมทั้งส่วนราชการเองก็ได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาวไว้แล้ว รองนายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งกำชับให้ดำเนินการไปตามแผนงานโดยเคร่งครัดอย่างทั่วถึงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ
4) การส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก ได้กำชับให้ที่ประชุมทราบถึงความสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่อำเภอแม่สอด แม่ระมาด และพบพระ ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนว่า ขอให้คำนึงถึงศักยภาพของจังหวัด ตลอดจนความร่วมมือที่ประเทศไทยมีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบในประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำเข้ามาในประเทศให้ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านศุลกากร (AISP) ภายใต้กรอบของ ACMECS
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--