ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานปัญหาแรงงานว่า ได้ดำเนินการเข้าไปแก้ไขปัญหาแรงงาน ดังนี้
1. ปัญหาข้อพิพาทแรงงานบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ที่บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 390 คน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 โดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ เนื่องจากบริษัทฯ และสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง ยื่นข้อเรียกร้องต่อกันนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานและประสานงานกับฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง โดยตรงอย่างต่อเนื่อง โดยในการเจรจาไกล่เกลี่ยนายจ้างยินยอมที่จะรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเข้าทำงาน จำนวน 200 คน ส่วนลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะทำงานต่อไป จำนวน 79 คน และลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะรับกลับเข้าทำงาน จำนวน 111 คน นายจ้างจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เท่ากับค่าจ้างคนละ 3 เดือน และจากการประสานงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกับผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างแจ้งว่า หากลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะรับกลับเข้าทำงานรายใดต้องการเงินช่วยเหลือเท่ากับอัตราเงินค่าชดเชย ให้ไปแจ้งความประสงค์และเจรจากับผู้แทนนายจ้างต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องยุติการดำเนินคดีต่อกันโดยการถอนฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาที่ได้ดำเนินการต่อกันไว้ทั้งหมด แต่ผู้แทนสหภาพแรงงานยังไม่ยอมรับเงื่อนไขของนายจ้าง และยังคงยืนยันในข้อเสนอเดิม ดังนี้
1.1 ให้บริษัทฯ ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งหมดที่บริษัทฯ ดำเนินการทางศาลแก่ลูกจ้าง และกรรมการลูกจ้าง
1.2 ให้บริษัทฯ รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคน และให้ใช้วิธีการสมัครใจลาออกแทนการเลิกจ้าง โดยให้บริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมาย
1.3 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
2. ปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด ปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดจำนวน 1,236 คน ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2543 เนื่องจากบริษัทฯ ประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้เต็มจำนวนในคราวเดียวกันได้นั้น กระทรวงแรงงานฯ ได้มอบให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงานฯ เข้าไปดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกจ้างที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนที่ถูกเลิกจ้าง โดยการจัดให้สถานประกอบการที่ต้องการรับลูกจ้างเข้าทำงานมารับสมัครงานโดยตรงที่บริษัทฯ ฝึกอาชีพระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานใหม่ และประกอบอาชีพอิสระ ต่อสิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมอีก 6 เดือน ให้การช่วยเหลือกู้ยืมจากกองทุนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ และประสานกับกระทรวงศึกษาธิการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของบุตรลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
สำหรับสิทธิของลูกจ้างอันเนื่องมาจากปัญหาที่นายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเงินประมาณ 65 ล้านบาทนั้น นายจ้างตกลงจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก่อนในงวดแรกคนละ 2 เดือน ในวันที่ 20 กันยายน 2543 และจะดำเนินการขอรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากกรมสรรพากร เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าชดเชยอีก 1 เดือน ภายในเดือนตุลาคม 2543 ส่วนที่เหลือนายจ้างกับลูกจ้างจะได้เจรจากันต่อไป อย่างไรก็ดี หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องค่าชดเขยที่เหลือได้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. กรณีบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
1.1 กระทรวงแรงงานฯจะได้ประสานกับลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะกลับเข้าทำงาน ให้ไปติดต่อกับนายจ้างเพื่อให้ได้รับเงินช่วยเหลือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯได้ประสานไว้กับนายจ้าง
1.2 ลูกจ้างที่ประสงค์จะเรียกร้องค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง ให้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
2. กรณีบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
2.1 ลูกจ้างควรยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
2.2 กระทรวงแรงงานฯสั่งการให้หน่วยงานในสังกัด ให้ดำเนินการช่วยเหลือแก่ลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ ในด้านการจัดหางาน การประกันสังคม การประชาสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ และเรียกร้องสิทธิผลประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายแรงงาน
2.3 กระทรวงแรงงานฯจะได้ประสานกับนายจ้างและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างในเรื่องหอพักต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานปัญหาแรงงานว่า ได้ดำเนินการเข้าไปแก้ไขปัญหาแรงงาน ดังนี้
1. ปัญหาข้อพิพาทแรงงานบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) ที่บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 390 คน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 โดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ เนื่องจากบริษัทฯ และสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง ยื่นข้อเรียกร้องต่อกันนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานและประสานงานกับฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง โดยตรงอย่างต่อเนื่อง โดยในการเจรจาไกล่เกลี่ยนายจ้างยินยอมที่จะรับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างเข้าทำงาน จำนวน 200 คน ส่วนลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะทำงานต่อไป จำนวน 79 คน และลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะรับกลับเข้าทำงาน จำนวน 111 คน นายจ้างจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้เท่ากับค่าจ้างคนละ 3 เดือน และจากการประสานงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกับผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างแจ้งว่า หากลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะรับกลับเข้าทำงานรายใดต้องการเงินช่วยเหลือเท่ากับอัตราเงินค่าชดเชย ให้ไปแจ้งความประสงค์และเจรจากับผู้แทนนายจ้างต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องยุติการดำเนินคดีต่อกันโดยการถอนฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาที่ได้ดำเนินการต่อกันไว้ทั้งหมด แต่ผู้แทนสหภาพแรงงานยังไม่ยอมรับเงื่อนไขของนายจ้าง และยังคงยืนยันในข้อเสนอเดิม ดังนี้
1.1 ให้บริษัทฯ ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งหมดที่บริษัทฯ ดำเนินการทางศาลแก่ลูกจ้าง และกรรมการลูกจ้าง
1.2 ให้บริษัทฯ รับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคน และให้ใช้วิธีการสมัครใจลาออกแทนการเลิกจ้าง โดยให้บริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมาย
1.3 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน
2. ปัญหาแรงงาน บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด ปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดจำนวน 1,236 คน ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2543 เนื่องจากบริษัทฯ ประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ และไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้เต็มจำนวนในคราวเดียวกันได้นั้น กระทรวงแรงงานฯ ได้มอบให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงานฯ เข้าไปดำเนินการเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกจ้างที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนที่ถูกเลิกจ้าง โดยการจัดให้สถานประกอบการที่ต้องการรับลูกจ้างเข้าทำงานมารับสมัครงานโดยตรงที่บริษัทฯ ฝึกอาชีพระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานใหม่ และประกอบอาชีพอิสระ ต่อสิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมอีก 6 เดือน ให้การช่วยเหลือกู้ยืมจากกองทุนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์ และประสานกับกระทรวงศึกษาธิการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของบุตรลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง
สำหรับสิทธิของลูกจ้างอันเนื่องมาจากปัญหาที่นายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ซึ่งเป็นเงินประมาณ 65 ล้านบาทนั้น นายจ้างตกลงจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างก่อนในงวดแรกคนละ 2 เดือน ในวันที่ 20 กันยายน 2543 และจะดำเนินการขอรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจากกรมสรรพากร เพื่อนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าชดเชยอีก 1 เดือน ภายในเดือนตุลาคม 2543 ส่วนที่เหลือนายจ้างกับลูกจ้างจะได้เจรจากันต่อไป อย่างไรก็ดี หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องค่าชดเขยที่เหลือได้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. กรณีบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
1.1 กระทรวงแรงงานฯจะได้ประสานกับลูกจ้างที่นายจ้างไม่ประสงค์จะกลับเข้าทำงาน ให้ไปติดต่อกับนายจ้างเพื่อให้ได้รับเงินช่วยเหลือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯได้ประสานไว้กับนายจ้าง
1.2 ลูกจ้างที่ประสงค์จะเรียกร้องค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง ให้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
2. กรณีบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
2.1 ลูกจ้างควรยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
2.2 กระทรวงแรงงานฯสั่งการให้หน่วยงานในสังกัด ให้ดำเนินการช่วยเหลือแก่ลูกจ้างตามอำนาจหน้าที่ ในด้านการจัดหางาน การประกันสังคม การประชาสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ และเรียกร้องสิทธิผลประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายแรงงาน
2.3 กระทรวงแรงงานฯจะได้ประสานกับนายจ้างและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างในเรื่องหอพักต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-