คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการ แนวคิดและยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1.1 นำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาชนบทให้เป็นไปในทางสายกลาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล การพัฒนาที่มีคุณภาพ และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากระดับการสร้างความพอเพียงและความมั่นคงในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ก่อนก้าวไปสู่ขั้นการเตรียมความพร้อมและการพัฒนา และเข้าสู่ระดับการผลิตเพื่อการแข่งขันในท้ายที่สุด
1.2 เน้นการพัฒนาชนบทโดยใช้ "การเกษตร" เป็นตัวนำในการแก้ไขจัดการปัญหาความยากจน เนื่องจากการเกษตรเป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท ไม่ได้เป็นเพียงภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ แต่มีบทบาทความสำคัญในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาและส่งเสริม "ระบบเกษตรกรยั่งยืน" ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นหนทางหลักสำคัญของสังคมไทยที่จะมีผลโดยตรงต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และการสร้างความยั่งยืนของภาคชนบท ทั้งนี้จะเน้นในกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยและยากจนเป็นกลุ่มเป้าหมายของยุทธศาสตร์
1.3 เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม ยึดเอาชุมชนเป็นแกนกลางของการพัฒนา จุดมุ่งหมายคือความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน โดยต้องมีการพัฒนาในทุกระบบย่อยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันคือระบบทุนชุมชน ระบบทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบสวัสดิการชุมชน ระบบการรักษาสุขภาพ ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบธุรกิจชุมชน ระบบอุตสาหกรรมชุมชน ระบบคุณค่า ระบบการเรียนรู้ และระบบการจัดการ
2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกร
2.1 เร่งรัดการพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยดำเนินงานด้านการกระจายการถือครองที่ดินและการปฏิรูปที่ดินใก้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการถือครองที่ดิน รวมทั้งการพัฒนา ฟื้นฟูสมรรถนะของดินเพื่อเกษตรกรรมและพัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิตแก่เกษตรกร เช่น แหล่งน้ำ เงินทุน เทคโนโลยี และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
2.2 ปรับกระบวนทัศน์ของบุคลากรในภาครัฐ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับแนวคิดและวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการทำงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานแบบบูรณาการ มีการวางแผนและปฏิบัติงานในลักษณะจากล่างสู่บน ยอมรับในศักยภาพด้านการพัฒนาของเกษตรกรและชุมชน และการปรับเปลี่ยนบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐจากผู้ชี้นำมาเป็นผู้สนับสนุน ทั้งนี้ โดยเน้นให้บุคลากรภาครัฐได้ผ่านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสามารถพึ่งพาตนเองได้
2.3 เร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในระดับส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีการทำงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยใช้ " ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน" เป็นกลไกหลักของการดำเนินงานพัฒนาชนบท โดยทำหน้าที่หลักในด้านการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การจัดทำแผนพัฒนาของชุมชนในด้านการพัฒนาการเกษตร และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ศูนย์บริการ ฯ ดังกล่าว จะทำหน้าที่ให้การบริการแก่ชุมชนในลักษณะเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยรวมบทบาทและหน้าที่ในด้านการส่งเสริมของกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ในระดับอำเภอ และดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชนบทของรัฐบาล
ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง " สถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน" ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เป็นองค์กรหลักในการประสานนโยบาย โดยให้มีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์และนำเสนอนโยบาย มาตรการ แผนงานด้านส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อการผลิตทางเศรษฐกิจ
2.4 ปรับเปลี่ยนระบบการจัดทำแผนและงบประมาณ โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนให้แก่ชุมชน โดยให้ชุมชนดำเนินการบริหารจัดการเอาเอง เพื่อสนับสนุนแผนงานของชุมชนที่ได้จัดทำขึ้น โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน
2.5 ให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติ ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ไม่สอดคล้องกับกรอบแนวทางและกระบวนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้
2.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างระบบการเรียนรู้ของชุมชน โดยการจัดการของชุมชน การจัดทำแผนของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายระหว่างชุมชน ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทรัพยากร และการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน
2.7 กำหนดพื้นที่นำร่อง โดยให้เริ่มดำเนินการในการแก้ไขจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรอย่างเบ็ดเสร็จในลักษณะการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดนำร่อง และนำกระบวนการ แนวทางและรูปแบบการดำเนินงานขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเกี่ยวกับสภาพชนบทกับความยากจนว่า ประชากรของประเทศไทย 61 ล้านคน ประมาณ 38 ล้านคนหรือร้อยละ 60 ต้องอาศัยรายได้จาการเกษตรในการครองชีพ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายได้ประชาชาติจะเห็นได้ว่าประชากร ร้อยละ 60 ที่อยู่ในภาคการเกษตรมีรายได้เพียงร้อยละ 12 แต่รายได้ประชาชาติส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 เป็นรายได้ของภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านภาระหนี้สินและความไม่เป็นธรรมในระดับราคาสินค้าเกษตร โดยปี 2542 รายได้สุทธิของเกษตรกรมีเพียง 26,822 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อคน 75,875 บาทต่อปี
สำหรับสภาพปัญหาความยากจนของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ 106 ล้านไร่ ครอบคลุม 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และมีประชากร 21 ล้านคน ซึ่งจากรายงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้ารายย่อย ณ เดือนตุลาคม 2544 เกษตรกรที่มีภาระหนี้และเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ร้อยละ 50 หรือ 1.15 ล้านคน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวงเงินต้นหนี้ 41,198.03 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 44 ของวงเงินหนี้ 94,328.46 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยยากจน โดยมีสาเหตุความรุนแรงของความยากจนเนื่องมาจากปัจจัย ดังนี้
1) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ โดยพื้นที่การเกษตร 58 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเพียงร้อยละ 9.27 พื้นที่ที่เหลือส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยน้ำฝน สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ำ และมีปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็ม ดินขาดอิทรียวัตถุ รวม 51.88 ล้านไร่ หรือร้อยละ 49 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ โดยในช่วงปี 2504 - 2541 พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 64.16 ล้านไร่ เป็น 13.11 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงถึง 22.9 ล้านไร่
2) ปัญหาด้านกิจกรรมการเกษตรและราคาผลิตผลการเกษตร โดยพืชที่สำคัญที่มีการเพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งเป็นการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีพื้นที่เพาะปลูกรวมประมาณ 38 ล้านไร่ และมีเกษตรกรที่ปลูกพืชดังกล่าว 1.8 ล้านครัวเรือนเกษตร หรือร้อยละ 80 ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต้องอาศัยพืชหลักทั้ง 3 ชนิด เป็นรายได้หลักทางการเกษตร ซึ่งเมื่อราคาผลผลิตของของพืชเศรษฐกิจดังกล่าวตกต่ำ จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร
นอกจากนี้ กระบวนการและกลไกการทำงานภาครัฐที่มีต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งแนวคิดและกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังคงติดยึดอยู่กับการเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและการผลิตเพื่อการส่งออก เป็นการพัฒนาที่ขาดสมดุล ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้มีความรุนแรงมากขึ้น เกษตรกรมีหนี้สินมากขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่ยังมีวิธีคิดและรูปแบบการทำงานแบบแยกส่วนขาดการบูรณาการอย่างแท้จริง ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำเกษตรกร ขาดการยอมรับและให้ความสำคัญต่อศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรหรือชุมชนในการพัฒนา
โครงการลงทุนภาครัฐด้านการเกษตรจำนวนมากเป็นการกำหนดจากส่วนกลาง มุ่งเน้นในแง่การเพิ่มปริมาณผลผลิต และยังมีรูปแบบวิธีปฏิบัติที่ค่อนข้างจำกัดตายตัวไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในพื้นที่ จึงไม่ประสบความสำเร็จในด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้านระบบบริการทางเศรษฐกิจ การเมืองและราชการยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาขององค์กรชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่และกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในชนบทระดับรากหญ้ามีความอ่อนแอ
3. ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินการเรื่องการเกษตรอินทรีย์ (Organic farming) และให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ให้ความร่วมมือในการประสานและพัฒนา
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รับเรื่องนี้ไปดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้แจ้งยุทธศาสตร์การแก้ไข และจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็น 2 แนว คือ
1. แนวตั้ง ที่เน้นสินค้าเกษตรรายสินค้า
2. แนวนอน คือ การดูแลพื้นที่การเกษตรทั้งหมด
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรจะเป็นการเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถทำได้ และเป็นการลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
1. เห็นชอบในหลักการ แนวคิดและยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้
1.1 นำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาชนบทให้เป็นไปในทางสายกลาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล การพัฒนาที่มีคุณภาพ และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากระดับการสร้างความพอเพียงและความมั่นคงในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ก่อนก้าวไปสู่ขั้นการเตรียมความพร้อมและการพัฒนา และเข้าสู่ระดับการผลิตเพื่อการแข่งขันในท้ายที่สุด
1.2 เน้นการพัฒนาชนบทโดยใช้ "การเกษตร" เป็นตัวนำในการแก้ไขจัดการปัญหาความยากจน เนื่องจากการเกษตรเป็นวิถีชีวิตของคนในชนบท ไม่ได้เป็นเพียงภาคการผลิตที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ แต่มีบทบาทความสำคัญในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาและส่งเสริม "ระบบเกษตรกรยั่งยืน" ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นหนทางหลักสำคัญของสังคมไทยที่จะมีผลโดยตรงต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และการสร้างความยั่งยืนของภาคชนบท ทั้งนี้จะเน้นในกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยและยากจนเป็นกลุ่มเป้าหมายของยุทธศาสตร์
1.3 เป็นการพัฒนาแบบองค์รวม ยึดเอาชุมชนเป็นแกนกลางของการพัฒนา จุดมุ่งหมายคือความเข้มแข็งและความยั่งยืนของชุมชน โดยต้องมีการพัฒนาในทุกระบบย่อยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันคือระบบทุนชุมชน ระบบทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบสวัสดิการชุมชน ระบบการรักษาสุขภาพ ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ระบบธุรกิจชุมชน ระบบอุตสาหกรรมชุมชน ระบบคุณค่า ระบบการเรียนรู้ และระบบการจัดการ
2. มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การแก้ไขและจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกร
2.1 เร่งรัดการพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยดำเนินงานด้านการกระจายการถือครองที่ดินและการปฏิรูปที่ดินใก้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในการถือครองที่ดิน รวมทั้งการพัฒนา ฟื้นฟูสมรรถนะของดินเพื่อเกษตรกรรมและพัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิตแก่เกษตรกร เช่น แหล่งน้ำ เงินทุน เทคโนโลยี และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
2.2 ปรับกระบวนทัศน์ของบุคลากรในภาครัฐ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับแนวคิดและวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการทำงานโดยกระบวนการมีส่วนร่วม การทำงานแบบบูรณาการ มีการวางแผนและปฏิบัติงานในลักษณะจากล่างสู่บน ยอมรับในศักยภาพด้านการพัฒนาของเกษตรกรและชุมชน และการปรับเปลี่ยนบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐจากผู้ชี้นำมาเป็นผู้สนับสนุน ทั้งนี้ โดยเน้นให้บุคลากรภาครัฐได้ผ่านการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้จากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสามารถพึ่งพาตนเองได้
2.3 เร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งในระดับส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค เพื่อให้มีการทำงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม โดยใช้ " ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน" เป็นกลไกหลักของการดำเนินงานพัฒนาชนบท โดยทำหน้าที่หลักในด้านการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การจัดทำแผนพัฒนาของชุมชนในด้านการพัฒนาการเกษตร และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ศูนย์บริการ ฯ ดังกล่าว จะทำหน้าที่ให้การบริการแก่ชุมชนในลักษณะเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยรวมบทบาทและหน้าที่ในด้านการส่งเสริมของกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ในระดับอำเภอ และดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชนบทของรัฐบาล
ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง " สถาบันพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน" ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เป็นองค์กรหลักในการประสานนโยบาย โดยให้มีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์และนำเสนอนโยบาย มาตรการ แผนงานด้านส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อการผลิตทางเศรษฐกิจ
2.4 ปรับเปลี่ยนระบบการจัดทำแผนและงบประมาณ โดยเน้นการจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนให้แก่ชุมชน โดยให้ชุมชนดำเนินการบริหารจัดการเอาเอง เพื่อสนับสนุนแผนงานของชุมชนที่ได้จัดทำขึ้น โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชน
2.5 ให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติ ตลอดจนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ไม่สอดคล้องกับกรอบแนวทางและกระบวนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้
2.6 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างระบบการเรียนรู้ของชุมชน โดยการจัดการของชุมชน การจัดทำแผนของชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายระหว่างชุมชน ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทรัพยากร และการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน
2.7 กำหนดพื้นที่นำร่อง โดยให้เริ่มดำเนินการในการแก้ไขจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรอย่างเบ็ดเสร็จในลักษณะการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดนำร่อง และนำกระบวนการ แนวทางและรูปแบบการดำเนินงานขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอเกี่ยวกับสภาพชนบทกับความยากจนว่า ประชากรของประเทศไทย 61 ล้านคน ประมาณ 38 ล้านคนหรือร้อยละ 60 ต้องอาศัยรายได้จาการเกษตรในการครองชีพ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายได้ประชาชาติจะเห็นได้ว่าประชากร ร้อยละ 60 ที่อยู่ในภาคการเกษตรมีรายได้เพียงร้อยละ 12 แต่รายได้ประชาชาติส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 เป็นรายได้ของภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านภาระหนี้สินและความไม่เป็นธรรมในระดับราคาสินค้าเกษตร โดยปี 2542 รายได้สุทธิของเกษตรกรมีเพียง 26,822 บาทต่อครัวเรือน ขณะที่รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อคน 75,875 บาทต่อปี
สำหรับสภาพปัญหาความยากจนของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ 106 ล้านไร่ ครอบคลุม 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และมีประชากร 21 ล้านคน ซึ่งจากรายงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรลูกค้ารายย่อย ณ เดือนตุลาคม 2544 เกษตรกรที่มีภาระหนี้และเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ร้อยละ 50 หรือ 1.15 ล้านคน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวงเงินต้นหนี้ 41,198.03 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 44 ของวงเงินหนี้ 94,328.46 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยยากจน โดยมีสาเหตุความรุนแรงของความยากจนเนื่องมาจากปัจจัย ดังนี้
1) ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ โดยพื้นที่การเกษตร 58 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเพียงร้อยละ 9.27 พื้นที่ที่เหลือส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยน้ำฝน สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ำ และมีปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็ม ดินขาดอิทรียวัตถุ รวม 51.88 ล้านไร่ หรือร้อยละ 49 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ โดยในช่วงปี 2504 - 2541 พื้นที่ป่าไม้ลดลงจาก 64.16 ล้านไร่ เป็น 13.11 ล้านไร่ ทำให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงถึง 22.9 ล้านไร่
2) ปัญหาด้านกิจกรรมการเกษตรและราคาผลิตผลการเกษตร โดยพืชที่สำคัญที่มีการเพาะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งเป็นการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีพื้นที่เพาะปลูกรวมประมาณ 38 ล้านไร่ และมีเกษตรกรที่ปลูกพืชดังกล่าว 1.8 ล้านครัวเรือนเกษตร หรือร้อยละ 80 ของครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น เกษตรกรส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ต้องอาศัยพืชหลักทั้ง 3 ชนิด เป็นรายได้หลักทางการเกษตร ซึ่งเมื่อราคาผลผลิตของของพืชเศรษฐกิจดังกล่าวตกต่ำ จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร
นอกจากนี้ กระบวนการและกลไกการทำงานภาครัฐที่มีต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งแนวคิดและกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ยังคงติดยึดอยู่กับการเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและการผลิตเพื่อการส่งออก เป็นการพัฒนาที่ขาดสมดุล ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้มีความรุนแรงมากขึ้น เกษตรกรมีหนี้สินมากขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่ยังมีวิธีคิดและรูปแบบการทำงานแบบแยกส่วนขาดการบูรณาการอย่างแท้จริง ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำเกษตรกร ขาดการยอมรับและให้ความสำคัญต่อศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรหรือชุมชนในการพัฒนา
โครงการลงทุนภาครัฐด้านการเกษตรจำนวนมากเป็นการกำหนดจากส่วนกลาง มุ่งเน้นในแง่การเพิ่มปริมาณผลผลิต และยังมีรูปแบบวิธีปฏิบัติที่ค่อนข้างจำกัดตายตัวไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการในพื้นที่ จึงไม่ประสบความสำเร็จในด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและการเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ด้านระบบบริการทางเศรษฐกิจ การเมืองและราชการยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจและขาดประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาขององค์กรชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่และกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในชนบทระดับรากหญ้ามีความอ่อนแอ
3. ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินการเรื่องการเกษตรอินทรีย์ (Organic farming) และให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ให้ความร่วมมือในการประสานและพัฒนา
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รับเรื่องนี้ไปดำเนินการร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
อนึ่ง นายกรัฐมนตรีได้แจ้งยุทธศาสตร์การแก้ไข และจัดการปัญหาความยากจนของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็น 2 แนว คือ
1. แนวตั้ง ที่เน้นสินค้าเกษตรรายสินค้า
2. แนวนอน คือ การดูแลพื้นที่การเกษตรทั้งหมด
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรจะเป็นการเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถทำได้ และเป็นการลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-