1. การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 343/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. องค์ประกอบ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายสมนึก พิมลเสถียร นายอัชพร จารุจินดา นายปริญญา นุตาลัย นายพิชิต อัคราทิตย์ และนายพิชัย ชุณหวชิร โดยมีนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และนายโชติชัย เจริญงาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานบริหารกิจการระบบขนส่งมวลชนของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
2. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ โดยจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน พิจารณาผลกระทบและประโยชน์ที่อาจได้รับให้สอดคล้องกับความคุ้มค่า ความจำเป็นและความเป็นไปได้ด้านการจัดการทางการเงิน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการใช้บริการ
3. กำกับ ดูแลการออกแบบ การก่อสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ ให้มีความทันสมัย คุ้มค่า สอดคล้องกับความจำเป็น รวมทั้งความเป็นไปได้ด้านการจัดการทางการเงิน
4. พิจารณาจัดระบบการจราจรให้สอดคล้องและรองรับกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทุกประเภททั้งระบบ โดยเป็นแกนหลักในการบูรณาการระบบขนส่งมวลชน เพื่อให้มีการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
5. ให้ความเห็นชอบแผนการลงทุน แผนการระดมทุน และแผนงบประมาณของการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ภาครัฐ และแผนการจัดหาผลประโยชน์ในกิจการระบบขนส่งมวลชนของคณะกรรมการบริหาร
6. กำหนดแนวทางระบบการบริหารการจัดการระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ และกำกับดูแลการดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชน
7. พิจารณาเสนอแนะการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลระบบขนส่งมวลชนเพื่อกำหนดมาตรฐานการให้บริการ ค่าโดยสารที่เป็นธรรม และความปลอดภัย เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ
8. รายงานผลการประชุมและการดำเนินงานตรงต่อนายกรัฐมนตรีทุกระยะตามความเหมาะสม
9. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอื่นสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถโดยรวดเร็วตามที่ได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และการบูรณาการการดำเนินงาน ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
10. ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานหรือบุคคล เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ คณะกรรมการได้มอบหมาย
11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้คณะกรรมการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายในการวิจัยหรือสำรวจ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน จากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
2. ขออนุมัติให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) กับประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วม ไทย-พม่า (ฝ่ายไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ให้ ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ แขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และ ประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (ฝ่ายไทย) จนกว่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
3. การสรรหาและการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแทนตำแหน่งว่าง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้แต่งตั้ง นายไพฑูรย์ จัยสิน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
4. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
1. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ)
เป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 119/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ พลเอก ธนู ศรียากูล เป็นประธานกรรมการ พลตำรวจโท ชัยณรงค์ วัชรานันท์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายโฆสิต สุวินิจจิต นายณรงค์ อังคสิงห์ พลตรี สมชาย ชาญธัญการ และนายเกียรติชัย พงษ์พานิช โดยมีนายมนูญ ปุญญกริยากร เป็นกรรมการและเลขานุการ พันตรี ขจรศักดิ์ ไทยประยูร และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศรวมไปถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับตลอดจนกระบวนการดำเนินงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานเป็นสำคัญ
2. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวว่าเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางานตลอดจนการปฏิบัติที่ไม่ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ เพียงใดหากพบว่าเกิดจากเหตุข้างต้นให้ชี้มูลเพื่อนำไปสู่การดำเนินการทางกฎหมาย
3. รับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศรวมไปถึงชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางาน เพื่อนำสู่การดำเนินการทางกฎหมาย
4. เรียกหรือเชิญเจ้าหน้าที่ บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้จัดส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
5.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น
6. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
7. สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานดังกล่าว ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
8. ให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดนี้ โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนสำคัญและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ รายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีทุกท่าน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบและให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้รองนายกรัฐมนตรีทุกท่านพิจารณากำหนดตัวบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีทุกท่านได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตัวบุคคล ดังนี้
ที่ รองนายกรัฐมนตรี รายนาม ปคร.
1 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายวิทยา คุณปลื้ม
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นางพานี เบญจกุล
เจ้าหน้าที่บริหารงานการอุตสาหกรรม 8
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ช่วยราชการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3 พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ นายอรรณพ ลิขิตจิตถะ
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงาน ป.ป.ส.
4 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี
ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
5 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายพิริยะ เข็มพล
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
6 นายพินิจ จารุสมบัติ นายไชยยศ จิรเมธากร
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
7 นายวิษณุ เครืองาม นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส
ผู้อำนวยการกลุ่มช่วยอำนวยการ สำนักบริหารกลาง
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองการประชุมคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โดยที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานในภารกิจคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเช่นเดียวกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แต่เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ไม่ได้กำหนดให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ จึงสมควรให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งปคร. ได้ โดยพิจารณากำหนดตัวบุคคลตามที่เห็นสมควร
7. ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ...
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ โดยกำหนดวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2548 เป็นวันเลือกตั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้มีระยะเวลาจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง เนื่องจากนายวิโรจน์ อมตกุลชัย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงหนึ่งตำแหน่ง ตามมาตรา 133 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 343/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. องค์ประกอบ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ นายพรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายสมนึก พิมลเสถียร นายอัชพร จารุจินดา นายปริญญา นุตาลัย นายพิชิต อัคราทิตย์ และนายพิชัย ชุณหวชิร โดยมีนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และนายโชติชัย เจริญงาม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานบริหารกิจการระบบขนส่งมวลชนของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
2. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ โดยจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงาน พิจารณาผลกระทบและประโยชน์ที่อาจได้รับให้สอดคล้องกับความคุ้มค่า ความจำเป็นและความเป็นไปได้ด้านการจัดการทางการเงิน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการใช้บริการ
3. กำกับ ดูแลการออกแบบ การก่อสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ ให้มีความทันสมัย คุ้มค่า สอดคล้องกับความจำเป็น รวมทั้งความเป็นไปได้ด้านการจัดการทางการเงิน
4. พิจารณาจัดระบบการจราจรให้สอดคล้องและรองรับกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทุกประเภททั้งระบบ โดยเป็นแกนหลักในการบูรณาการระบบขนส่งมวลชน เพื่อให้มีการใช้บริการระบบขนส่งมวลชนเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
5. ให้ความเห็นชอบแผนการลงทุน แผนการระดมทุน และแผนงบประมาณของการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการสินทรัพย์ภาครัฐ และแผนการจัดหาผลประโยชน์ในกิจการระบบขนส่งมวลชนของคณะกรรมการบริหาร
6. กำหนดแนวทางระบบการบริหารการจัดการระบบขนส่งมวลชนทั้งระบบ และกำกับดูแลการดำเนินกิจการระบบขนส่งมวลชน
7. พิจารณาเสนอแนะการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลระบบขนส่งมวลชนเพื่อกำหนดมาตรฐานการให้บริการ ค่าโดยสารที่เป็นธรรม และความปลอดภัย เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ
8. รายงานผลการประชุมและการดำเนินงานตรงต่อนายกรัฐมนตรีทุกระยะตามความเหมาะสม
9. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐอื่นสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถโดยรวดเร็วตามที่ได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และการบูรณาการการดำเนินงาน ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
10. ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงานหรือบุคคล เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ คณะกรรมการได้มอบหมาย
11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้คณะกรรมการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายในการวิจัยหรือสำรวจ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน จากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
2. ขออนุมัติให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) กับประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วม ไทย-พม่า (ฝ่ายไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ให้ ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ แขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และ ประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (ฝ่ายไทย) จนกว่าจะมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
3. การสรรหาและการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแทนตำแหน่งว่าง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้แต่งตั้ง นายไพฑูรย์ จัยสิน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
4. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
1. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายทนง พิทยะ)
เป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2548 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 119/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. องค์ประกอบ พลเอก ธนู ศรียากูล เป็นประธานกรรมการ พลตำรวจโท ชัยณรงค์ วัชรานันท์ เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายโฆสิต สุวินิจจิต นายณรงค์ อังคสิงห์ พลตรี สมชาย ชาญธัญการ และนายเกียรติชัย พงษ์พานิช โดยมีนายมนูญ ปุญญกริยากร เป็นกรรมการและเลขานุการ พันตรี ขจรศักดิ์ ไทยประยูร และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาจัดโครงสร้างระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศรวมไปถึงการปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ ข้อบังคับตลอดจนกระบวนการดำเนินงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานเป็นสำคัญ
2. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าวว่าเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางานตลอดจนการปฏิบัติที่ไม่ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ เพียงใดหากพบว่าเกิดจากเหตุข้างต้นให้ชี้มูลเพื่อนำไปสู่การดำเนินการทางกฎหมาย
3. รับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับระบบการส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศรวมไปถึงชี้มูลความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางาน เพื่อนำสู่การดำเนินการทางกฎหมาย
4. เรียกหรือเชิญเจ้าหน้าที่ บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้จัดส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
5.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น
6. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
7. สำหรับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานดังกล่าว ให้เบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
8. ให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานให้ความร่วมมือและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดนี้ โดยถือเป็นภารกิจเร่งด่วนสำคัญและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ รายนามผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรีทุกท่าน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบและให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้รองนายกรัฐมนตรีทุกท่านพิจารณากำหนดตัวบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีทุกท่านได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตัวบุคคล ดังนี้
ที่ รองนายกรัฐมนตรี รายนาม ปคร.
1 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายวิทยา คุณปลื้ม
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นางพานี เบญจกุล
เจ้าหน้าที่บริหารงานการอุตสาหกรรม 8
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ช่วยราชการ
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3 พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ นายอรรณพ ลิขิตจิตถะ
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สำนักงาน ป.ป.ส.
4 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี
ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
5 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายพิริยะ เข็มพล
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
6 นายพินิจ จารุสมบัติ นายไชยยศ จิรเมธากร
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
7 นายวิษณุ เครืองาม นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส
ผู้อำนวยการกลุ่มช่วยอำนวยการ สำนักบริหารกลาง
ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองการประชุมคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โดยที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานในภารกิจคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเช่นเดียวกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แต่เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ไม่ได้กำหนดให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ จึงสมควรให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งปคร. ได้ โดยพิจารณากำหนดตัวบุคคลตามที่เห็นสมควร
7. ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ...
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ โดยกำหนดวันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2548 เป็นวันเลือกตั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้มีระยะเวลาจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง เนื่องจากนายวิโรจน์ อมตกุลชัย สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี ได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่างลงหนึ่งตำแหน่ง ตามมาตรา 133 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 กันยายน 2548--จบ--