ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
1.1 ในโควตา
- นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้าอากรนำเข้าร้อยละ 5
- กำหนดกลุ่มผู้มีสิทธินำเข้ามีจำนวน 6 สมาคม ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก และสมาคมปศุสัตว์ไทย ให้กลุ่มผู้มีสิทธินำเข้า มีภาระรับผิดชอบในการรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืช ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืชตลาดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีสิทธินำเข้าต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น
1.2 นอกโควตา
- นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 119
2. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) นำเข้าได้โดยเสรีไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 2,519 บาท
3. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโควตาจากประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
3.1 กำหนดปริมาณนำเข้า และอัตราอากรนำเข้า ตามข้อผูกพันขององค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวคือ ปริมาณนำเข้าจำนวน 53,832 ตันเท่านั้น อัตราอากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 20
3.2 ช่วงเวลานำเข้าในโควตา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544
3.3 หลักเกณฑ์ และวิธีการนำเข้า เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้พิจารณา
4. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกโควตาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
4.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
4.2 อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท
5. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกโควตาจากประเทศไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
5.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
5.2 อากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษ ร้อยละ 13.97 (อัตราอากรนำเข้าและค่าอากรพิเศษ เมื่อรวมกันแล้วใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท
6. การนำเข้าปลาป่นโปรตีน ร้อยละ 60 ขั้นไป
6.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
6.2 อากรนำเข้าร้อยละ 15 บาท และสำหรับการนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรองเมืองกำหนดจากประเทศภาคีอาเซียน อากรนำเข้าร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปตามข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2544 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
1.1 ในโควตา
- นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้าอากรนำเข้าร้อยละ 5
- กำหนดกลุ่มผู้มีสิทธินำเข้ามีจำนวน 6 สมาคม ได้แก่ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก และสมาคมปศุสัตว์ไทย ให้กลุ่มผู้มีสิทธินำเข้า มีภาระรับผิดชอบในการรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศทั้งหมดของโรงงานสกัดน้ำมันพืช ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันพืชตลาดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีสิทธินำเข้าต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้น
1.2 นอกโควตา
- นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 119
2. การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) นำเข้าได้โดยเสรีไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 2,519 บาท
3. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโควตาจากประเทศสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
3.1 กำหนดปริมาณนำเข้า และอัตราอากรนำเข้า ตามข้อผูกพันขององค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวคือ ปริมาณนำเข้าจำนวน 53,832 ตันเท่านั้น อัตราอากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 20
3.2 ช่วงเวลานำเข้าในโควตา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544
3.3 หลักเกณฑ์ และวิธีการนำเข้า เห็นควรให้คณะรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้พิจารณา
4. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกโควตาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
4.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
4.2 อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท
5. การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกโควตาจากประเทศไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
5.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
5.2 อากรนำเข้ากิโลกรัมละ 2.75 บาท และอากรพิเศษ ร้อยละ 13.97 (อัตราอากรนำเข้าและค่าอากรพิเศษ เมื่อรวมกันแล้วใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และค่าธรรมเนียมพิเศษนำเข้าตันละ 180 บาท
6. การนำเข้าปลาป่นโปรตีน ร้อยละ 60 ขั้นไป
6.1 นำเข้าได้โดยเสรี ไม่จัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า
6.2 อากรนำเข้าร้อยละ 15 บาท และสำหรับการนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรองเมืองกำหนดจากประเทศภาคีอาเซียน อากรนำเข้าร้อยละ 5 ซึ่งเป็นไปตามข้อผูกพันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-