คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเร่งด่วนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. จำนวน 1 ฉบับ
2. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)พ.ศ. …. จำนวน 2 ฉบับ
3. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 2 ฉบับ
ทั้งนี้ ตามที่ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งกระทรวงการคลังได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทยตามแนวทางที่ได้มีการประชุมในวันดังกล่าวข้างต้นได้ผลสรุป ดังนี้
1. มาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย 6 มาตรการ คือ
1.1 การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียน เห็นสมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ซึ่งกระทรวงการคลังได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นอัตราดังต่อไปนี้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
1) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
เนื่องจากเป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุน โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรการที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
1.2 การแก้ไขปัญหาของการซื้อขายตราสารหนี้ ให้ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) ออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ให้จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะของการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ โดยธนาคารธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ บนฐานสุทธิ (net) ของแต่ละเดือนภาษี เพื่อส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้และลดต้นทุนในการทำธุรกิจค้าตราสารหนี้
2) ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ในส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามระยะเวลาที่ผู้มีเงินได้ถือครอง
การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการค้าตราสารหนี้ของผู้ค้า และแก้ไขปัญหาการซ้ำซ้อนในการเก็บภาษีจากดอกเบี้ย และกำไรจากการโอนตราสารหนี้ อันจะส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้
1.3 การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ให้ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) ออกกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้ลูกหนี้ที่จะต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle - SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ยังคงได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้เช่นเดียวกับการชำระดอกเบี้ยให้นิติบุคคลผู้โอนสินทรัพย์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Originator) ตามที่เคยได้สิทธิอยู่เดิม
2) ออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสำรองที่กันไว้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม Securitization อันเป็นธุรกรรมที่ช่วยในการจำหน่ายสินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ไปสู่ตลาดทุน ทำให้กลไกการทำงานของระบบการเงินมีความสมดุลยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ลงทุนมีตราสารที่มีคุณภาพดีได้เลือกลงทุนมากขึ้น
1.4 การแก้ไขหลักเกณฑ์ เงื่อนไขของการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(Retirement Mutual Fund - RMF) กรมสรรพากรจะออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ใน 3 เรื่อง คือ
1) ให้ผู้ซื้อหน่วยงานทุนใน RMF สามารถโอนย้ายเงินบางส่วนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่งได้โดยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม
2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือทุพพลภาพ สามารถถือหน่วยลงทุนต่อไปได้ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมบางส่วนหรือไม่ก็ได้
3) กรณีผู้ซื้อหน่วยลงทุนปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหากได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีปรับปรุงการเสียภาษีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก็จะไม่มีภาระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และยังคงสามารถนับอายุถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องไปได้
การดำเนินการทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวเพื่อจูงใจประชาชนทั่วไปออมเงินโดยการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเป็นการออมระยะยาว อันจะเป็นการส่งเสริมการระดมทุนและตลาดทุนอีกทางหนึ่ง
1.5 การออกหุ้นปันผล กรมสรรพากรจะกำหนดวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลในการเสียภาษี โดยให้ราคาหุ้นปันผลเท่ากับส่วนของกำไรสะสมที่จัดสรรเป็นหุ้นปันผลหารด้วยจำนวนหุ้นปันผล ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีทางเลือกในการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการออกหุ้นปันผลแทนการจ่ายเงินปันผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของบริษัทในภาวะที่บริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นของบริษัทยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะได้ทำหนังสือมายังกรมสรรพากร และกรมสรรพากรจะได้ทำหนังสือชี้แจงวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลให้ทราบต่อไป
1.6 การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจำนวน 3 ฉบับ ตามหนังสือกระทรวงการคลังลับ ด่วน ที่ กค 0811/5956 ลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมซื้อคืน อันจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน และเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) ในตลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) กำหนดให้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2) ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ในธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน สำหรับกำไรจากการโอนหลักทรัพย์ให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้) ที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืม
3) ยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องเสีย สำหรับการกระทำตราสารที่เกี่ยวข้องในธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
2. มาตรการที่ไม่ใช่ด้านภาษี ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ
2.1 การแก้ไขอุปสรรคในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและมาตรฐานบัญชี
คณะทำงานซึ่งมีศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมาตรฐานบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และเรื่องงบการเงินและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เป็นต้น และขอให้ ก.บช. กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้ารายใหญ่ และหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งประสานงานกับสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีอนุญาตแห่งประเทศไทยในการปรับปรุงคุณสมบัติผู้สอบบัญชีให้มีความยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมให้มีผู้สอบบัญชีสำหรับบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น โดยจะนำเสนอหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544
2.2 การลดภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market forAlternative Investment - MAI)
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะแก้ไขประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และเรื่องการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อยกเลิกการมีที่ปรึกษาทางการเงินในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Due Diligence) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
2.3 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดโครงสร้างให้เชื่อมโยงระหว่างการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับมาตรการที่ได้ดำเนินการแล้วและจะต้องติดตามความคืบหน้า มีดังนี้
1. มาตรการด้านตลาดตราสารทุน
การนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลังได้กำหนดจะนำรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ได้แก่บริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯภายในปีนี้ และจะทำการกระจายหุ้นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วให้ประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น
2. มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
2.1 การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถออกตราสารหนี้ภาครัฐได้อย่างสม่ำเสมอ
2.2 การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการทำธุรกรรม Securitization
3. มาตรการด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐาน
3.1 การออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธุ์) เพื่อช่วยผู้ลงทุนและผู้ค้ามีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านราคาของหลักทรัพย์ ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว กำหนดจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30พฤษภาคม 2544
3.2 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการซื้อขายและส่งมอบตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ รวมทั้งช่วยในกาารบริหารการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายตราสารหนี้ด้วย
3.3 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินได้ ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์สามารถกู้ยืมเงินได้เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอาจพิจารณาออกเป็นพระราชกำหนดต่อไป
3.4 เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดยการเพิ่มผู้ร่วมตลาด และทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังให้แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินที่ได้แก้ไขฐานะทางการเงินแล้ว สามารถขอใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ได้ ซึ่งขณะนี้ร่างกฎกระทรวงอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.5 การออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.6 การให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขาย Interest rate derivatives ในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพื่อช่วยให้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น อยู่ระหว่างการดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การดำเนินมาตรการข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้
1. ช่วยเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของสินค้าที่ดีและมีคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความสนใจและเหมาะสม และขณะเดียวกันจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นการกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์ฯ
2. ช่วยให้ตลาดทุนไทยมีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่อง และมีความแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่บริษัทไทยและช่วยลดภาระหนี้สินในการกู้ยืมของบริษัทไทยแล้วยังเป็นการสร้างตลาดทุนไทยให้มีความสำคัญทัดเทียมตลาดเงินของประเทศด้วย
3. ในส่วนของการปรับลดอัตราภาษี คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีอากรบางส่วน โดยคาดว่าในส่วนของการปรับลดอัตราภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีผลสูญเสียประมาณปีละ 1,400 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ คาดว่าคงจะไม่มีผลสูญเสียในด้านรายได้ภาษีอากรแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทเหล่านี้มีการเข้าสู่ระบบและเสียภาษีที่ถูกต้องมากขึ้นก็จะมีส่วนช่วยในการหักภาษี ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเสียภาษีเงินได้ที่ถูกต้องครบถ้วนยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลให้การจัดเก็บภาษีในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้นด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. จำนวน 1 ฉบับ
2. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)พ.ศ. …. จำนวน 2 ฉบับ
3. เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 2 ฉบับ
ทั้งนี้ ตามที่ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมรีเจ้นท์ กรุงเทพฯ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งกระทรวงการคลังได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทยตามแนวทางที่ได้มีการประชุมในวันดังกล่าวข้างต้นได้ผลสรุป ดังนี้
1. มาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย 6 มาตรการ คือ
1.1 การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียน เห็นสมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ซึ่งกระทรวงการคลังได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 เป็นอัตราดังต่อไปนี้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
1) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
2) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ภายใน 3 ปี ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
เนื่องจากเป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในตลาดทุน โดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรการที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
1.2 การแก้ไขปัญหาของการซื้อขายตราสารหนี้ ให้ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) ออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ให้จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะของการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ โดยธนาคารธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ บนฐานสุทธิ (net) ของแต่ละเดือนภาษี เพื่อส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้และลดต้นทุนในการทำธุรกิจค้าตราสารหนี้
2) ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ในส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามระยะเวลาที่ผู้มีเงินได้ถือครอง
การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการค้าตราสารหนี้ของผู้ค้า และแก้ไขปัญหาการซ้ำซ้อนในการเก็บภาษีจากดอกเบี้ย และกำไรจากการโอนตราสารหนี้ อันจะส่งเสริมให้เกิดสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้
1.3 การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ให้ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) ออกกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพื่อให้ลูกหนี้ที่จะต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle - SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ยังคงได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้เช่นเดียวกับการชำระดอกเบี้ยให้นิติบุคคลผู้โอนสินทรัพย์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Originator) ตามที่เคยได้สิทธิอยู่เดิม
2) ออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินสำรองที่กันไว้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม Securitization อันเป็นธุรกรรมที่ช่วยในการจำหน่ายสินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ไปสู่ตลาดทุน ทำให้กลไกการทำงานของระบบการเงินมีความสมดุลยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ลงทุนมีตราสารที่มีคุณภาพดีได้เลือกลงทุนมากขึ้น
1.4 การแก้ไขหลักเกณฑ์ เงื่อนไขของการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(Retirement Mutual Fund - RMF) กรมสรรพากรจะออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ใน 3 เรื่อง คือ
1) ให้ผู้ซื้อหน่วยงานทุนใน RMF สามารถโอนย้ายเงินบางส่วนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่งได้โดยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม
2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือทุพพลภาพ สามารถถือหน่วยลงทุนต่อไปได้ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมบางส่วนหรือไม่ก็ได้
3) กรณีผู้ซื้อหน่วยลงทุนปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหากได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีปรับปรุงการเสียภาษีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก็จะไม่มีภาระเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และยังคงสามารถนับอายุถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องไปได้
การดำเนินการทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวเพื่อจูงใจประชาชนทั่วไปออมเงินโดยการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งเป็นการออมระยะยาว อันจะเป็นการส่งเสริมการระดมทุนและตลาดทุนอีกทางหนึ่ง
1.5 การออกหุ้นปันผล กรมสรรพากรจะกำหนดวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลในการเสียภาษี โดยให้ราคาหุ้นปันผลเท่ากับส่วนของกำไรสะสมที่จัดสรรเป็นหุ้นปันผลหารด้วยจำนวนหุ้นปันผล ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีทางเลือกในการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการออกหุ้นปันผลแทนการจ่ายเงินปันผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของบริษัทในภาวะที่บริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นของบริษัทยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะได้ทำหนังสือมายังกรมสรรพากร และกรมสรรพากรจะได้ทำหนังสือชี้แจงวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลให้ทราบต่อไป
1.6 การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาจำนวน 3 ฉบับ ตามหนังสือกระทรวงการคลังลับ ด่วน ที่ กค 0811/5956 ลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการทำธุรกรรมซื้อคืน อันจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องแก่สถาบันการเงิน และเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) ในตลาด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) กำหนดให้ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2) ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ (ผู้กู้) ในธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน สำหรับกำไรจากการโอนหลักทรัพย์ให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ (ผู้ให้กู้) ที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืม
3) ยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้มีหน้าที่ต้องเสีย สำหรับการกระทำตราสารที่เกี่ยวข้องในธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน
2. มาตรการที่ไม่ใช่ด้านภาษี ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ
2.1 การแก้ไขอุปสรรคในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและมาตรฐานบัญชี
คณะทำงานซึ่งมีศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมาตรฐานบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และเรื่องงบการเงินและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เป็นต้น และขอให้ ก.บช. กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้ารายใหญ่ และหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งประสานงานกับสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีอนุญาตแห่งประเทศไทยในการปรับปรุงคุณสมบัติผู้สอบบัญชีให้มีความยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมให้มีผู้สอบบัญชีสำหรับบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น โดยจะนำเสนอหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544
2.2 การลดภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market forAlternative Investment - MAI)
สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะแก้ไขประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และเรื่องการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อยกเลิกการมีที่ปรึกษาทางการเงินในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Due Diligence) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่
2.3 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดโครงสร้างให้เชื่อมโยงระหว่างการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำหรับมาตรการที่ได้ดำเนินการแล้วและจะต้องติดตามความคืบหน้า มีดังนี้
1. มาตรการด้านตลาดตราสารทุน
การนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลังได้กำหนดจะนำรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ได้แก่บริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯภายในปีนี้ และจะทำการกระจายหุ้นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วให้ประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น
2. มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
2.1 การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถออกตราสารหนี้ภาครัฐได้อย่างสม่ำเสมอ
2.2 การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการทำธุรกรรม Securitization
3. มาตรการด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐาน
3.1 การออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธุ์) เพื่อช่วยผู้ลงทุนและผู้ค้ามีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านราคาของหลักทรัพย์ ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว กำหนดจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีในวันที่ 30พฤษภาคม 2544
3.2 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการซื้อขายและส่งมอบตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ รวมทั้งช่วยในกาารบริหารการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายตราสารหนี้ด้วย
3.3 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินได้ ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์สามารถกู้ยืมเงินได้เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอาจพิจารณาออกเป็นพระราชกำหนดต่อไป
3.4 เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้โดยการเพิ่มผู้ร่วมตลาด และทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังให้แก้ไขกฎกระทรวงเพื่อผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินที่ได้แก้ไขฐานะทางการเงินแล้ว สามารถขอใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ได้ ซึ่งขณะนี้ร่างกฎกระทรวงอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.5 การออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้ ร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวนี้คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.6 การให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขาย Interest rate derivatives ในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพื่อช่วยให้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น อยู่ระหว่างการดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การดำเนินมาตรการข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้
1. ช่วยเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของสินค้าที่ดีและมีคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความสนใจและเหมาะสม และขณะเดียวกันจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อันเป็นการกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์ฯ
2. ช่วยให้ตลาดทุนไทยมีขนาดใหญ่ มีสภาพคล่อง และมีความแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่บริษัทไทยและช่วยลดภาระหนี้สินในการกู้ยืมของบริษัทไทยแล้วยังเป็นการสร้างตลาดทุนไทยให้มีความสำคัญทัดเทียมตลาดเงินของประเทศด้วย
3. ในส่วนของการปรับลดอัตราภาษี คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีอากรบางส่วน โดยคาดว่าในส่วนของการปรับลดอัตราภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีผลสูญเสียประมาณปีละ 1,400 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ คาดว่าคงจะไม่มีผลสูญเสียในด้านรายได้ภาษีอากรแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามหากบริษัทเหล่านี้มีการเข้าสู่ระบบและเสียภาษีที่ถูกต้องมากขึ้นก็จะมีส่วนช่วยในการหักภาษี ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเสียภาษีเงินได้ที่ถูกต้องครบถ้วนยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลให้การจัดเก็บภาษีในระยะยาวเพิ่มสูงขึ้นด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-