แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คณะรัฐมนตรี
เกาะช้าง
เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวม 2 โครงการ คือ โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 1,790.62 ล้านบาท และโครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง วงเงิน 498.49 ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ดังนี้
1. โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.1 โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้และสร้างงานให้เกษตรกร เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ จำนวน 377,345 คน ทั้งนี้จะให้เกษตรกรขอรับความช่วยเหลือใน 3 รูปแบบ คือ การประกอบอาชีพเดิม การประกอบอาชีพเสริม และการประกอบอาชีพใหม่ การดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี วงเงิน 1,790.62 ล้านบาท โดยมีกลไกการบริหารโครงการใน 2 ระดับ ดังนี้
1) ส่วนกลาง มีคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ และคณะกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงาน
2) ส่วนภูมิภาค จัดตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน) ทำหน้าที่กำกับการดำเนินงานและช่วยเหลือเกษตรกร และมอบหมายให้ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จัดทำแผนฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
1.2 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 1,790.62 ล้านบาทโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรให้ข้อมูลข่าวสารในการผลิตสินค้าที่มีตลาดรองรับ โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และธุรกิจเอกชน รวมทั้งจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทราบเป็นระยะ ๆ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนปฏิบัติงานและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณภายใน 10 วันทำการ หลังจากโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินภายใน 30 กันยายน 2545
2. โครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง
2.1 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกาะช้างและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ "เชิงนิเวศทางบกและทางทะเล" และมีเอกลักษณ์ของสินค้าและบริการ โดยเพิ่มรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับชายฝั่งจันทบุรี - ตราด เกาะกูด และเกาะหมากในลักษณะวงจรท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยมีโครงการที่พร้อมดำเนินการได้ทันที รวมทั้งสิ้น 37 โครงการย่อย ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการพื้นที่และการจัดระเบียบชุมชน จำนวน 19 โครงการย่อย 2) การพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว จำนวน 7 โครงการย่อย และ 3) การวางรากฐานระยะยาว จำนวน 11 โครงการย่อย ในระหว่างการดำเนินโครงการคาดว่าจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว จาก 384,733 คน ในปี 2543 เป็นเงิน400,190 คน ในปี 2545 โดยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1,628 ล้านบาท ในปี 2545 ซึ่งการดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี (ปี 2545) วงเงิน 498.49 ล้านบาท
2.2 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง วงเงินทั้งสิ้น 498.49 ล้านบาท เพื่อให้พื้นที่ท่องเที่ยวเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง) ให้คงสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลที่มีคุณภาพในระยะยาว และเห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารจัดการพัฒนาเกาะช้างและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรับไปดำเนินมาตรการเสริมการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1) การเร่งออกระเบียบการควบคุมการใช้ที่ดินและก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 2) การบังคับใช้ผังเมืองรวมกิ่งอำเภอเกาะช้างและเกาะต่อเนื่องให้มีผลทันทีที่การจัดทำผังเมืองแล้วเสร็จ 3) การจัดเก็บค่าบริการเก็บขนขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน 4) การควบคุมปริมาณรถทุกประเภทที่จะข้ามไปเกาะช้าง และ 5) ให้เรือเฟอร์รี่ที่ให้บริการระหว่างชายฝั่งกับเกาะช้างมีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการทั้ง 37 โครงการย่อย จัดทำแผนปฏิบัติงานและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณ ภายใน 10 วันทำการ หลังจากโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และเร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินภายใน 30 กันยายน 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. โครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.1 โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้และสร้างงานให้เกษตรกร เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่เป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ จำนวน 377,345 คน ทั้งนี้จะให้เกษตรกรขอรับความช่วยเหลือใน 3 รูปแบบ คือ การประกอบอาชีพเดิม การประกอบอาชีพเสริม และการประกอบอาชีพใหม่ การดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี วงเงิน 1,790.62 ล้านบาท โดยมีกลไกการบริหารโครงการใน 2 ระดับ ดังนี้
1) ส่วนกลาง มีคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธาน ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามนโยบายพักชำระหนี้ และคณะกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่ประสานการดำเนินงาน
2) ส่วนภูมิภาค จัดตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ระดับจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน) ทำหน้าที่กำกับการดำเนินงานและช่วยเหลือเกษตรกร และมอบหมายให้ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จัดทำแผนฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
1.2 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 1,790.62 ล้านบาทโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรให้ข้อมูลข่าวสารในการผลิตสินค้าที่มีตลาดรองรับ โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และธุรกิจเอกชน รวมทั้งจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทราบเป็นระยะ ๆ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนปฏิบัติงานและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณภายใน 10 วันทำการ หลังจากโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินภายใน 30 กันยายน 2545
2. โครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง
2.1 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกาะช้างและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ "เชิงนิเวศทางบกและทางทะเล" และมีเอกลักษณ์ของสินค้าและบริการ โดยเพิ่มรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับชายฝั่งจันทบุรี - ตราด เกาะกูด และเกาะหมากในลักษณะวงจรท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยมีโครงการที่พร้อมดำเนินการได้ทันที รวมทั้งสิ้น 37 โครงการย่อย ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการพื้นที่และการจัดระเบียบชุมชน จำนวน 19 โครงการย่อย 2) การพัฒนาและยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว จำนวน 7 โครงการย่อย และ 3) การวางรากฐานระยะยาว จำนวน 11 โครงการย่อย ในระหว่างการดำเนินโครงการคาดว่าจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว จาก 384,733 คน ในปี 2543 เป็นเงิน400,190 คน ในปี 2545 โดยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 1,628 ล้านบาท ในปี 2545 ซึ่งการดำเนินงานโครงการจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี (ปี 2545) วงเงิน 498.49 ล้านบาท
2.2 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจพิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาเกาะช้างและพื้นที่ใกล้เคียง วงเงินทั้งสิ้น 498.49 ล้านบาท เพื่อให้พื้นที่ท่องเที่ยวเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง) ให้คงสภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลที่มีคุณภาพในระยะยาว และเห็นควรมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารจัดการพัฒนาเกาะช้างและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรับไปดำเนินมาตรการเสริมการดำเนินโครงการ ได้แก่ 1) การเร่งออกระเบียบการควบคุมการใช้ที่ดินและก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 2) การบังคับใช้ผังเมืองรวมกิ่งอำเภอเกาะช้างและเกาะต่อเนื่องให้มีผลทันทีที่การจัดทำผังเมืองแล้วเสร็จ 3) การจัดเก็บค่าบริการเก็บขนขยะมูลฝอยโดยการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน 4) การควบคุมปริมาณรถทุกประเภทที่จะข้ามไปเกาะช้าง และ 5) ให้เรือเฟอร์รี่ที่ให้บริการระหว่างชายฝั่งกับเกาะช้างมีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียด โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการทั้ง 37 โครงการย่อย จัดทำแผนปฏิบัติงานและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเสนอขออนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณ ภายใน 10 วันทำการ หลังจากโครงการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และเร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินภายใน 30 กันยายน 2545
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-