ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การมาเป็นพยานของบุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชนให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณี
2. ทนายความ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ธุรการศาล พนักงานคุมประพฤติ ผู้พิพากษาและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องต้องให้เกียรติแก่พยานในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การตรงต่อเวลาและการถามพยาน เป็นต้น
3. ในกรณีที่พยานสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่น ให้มีการจัดหาล่ามให้ และให้ล่ามได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักได้
4. กรณีที่พยานเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบพยานเด็กมาใช้บังคับโดยอนุโลม
5. พยานที่อาจได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหายอันเนื่องมาแต่การปล่อยชั่วคราว มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้งการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
6. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจมีคำสั่งให้กันผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดไว้เป็นพยานได้
7. ให้รัฐรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลที่จะมา มาหรือได้มาเป็นพยาน
8. กำหนดมาตรการที่จะมิให้มีการเผชิญหน้าระหว่างพยานกับผู้ต้องหาหรือจำเลยตามสมควรแก่พฤติการณ์ มาตรการลงโทษผู้เปิดเผยข้อมูลอันอาจจะสามารถระบุตัวพยานและวิธีการชี้ตัวผู้ต้องหามิให้มีการเผชิญหน้ากับพยาน
9. ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพยาน เมื่อมีการร้องขอ สำนักงานคุ้มครองพยานอาจมีคำสั่งให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกินสามสิบวัน ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมของพยานด้วย หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพยาน ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนพิจารณาสั่งให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกินห้าวัน ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมของพยานด้วย แล้วให้รายงานสำนักงานคุ้มครองพยานทราบ
10. กำหนดโทษหนักขึ้นแก่ผู้กระทำผิดอาญาต่อบุคคลใด เพราะเหตุที่บุคคลนั้นก็ดี สามีภรรยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นก็ดี จะมา มาหรือได้มาเป็นพยาน
11. กำหนดประเภทคดีที่จะกำหนดให้มีการคุ้มครองพยานได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับอั่งยี่หรือซ่องโจร เป็นต้น
12. ให้สำนักงานคุ้มครองพยานมีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง เช่น จัดหาที่พักอันเหมาะสม หรือจ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควรเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขอขยายระยะเวลาครั้งละไม่เกินสามเดือน แต่รวมกันแล้วไม่เกินสองปี หรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียนต่าง ๆ ที่สามารถระบุตัวพยาน เป็นต้น
13. ให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับสำนักงานคุ้มครองพยาน
14. ค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง หากปรากฏในภายหลังว่าพยานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้การเป็นพยานโดยไม่มีเหตุสมควร ให้สำนักงานคุ้มครองพยานมีคำสั่งให้บุคคลนั้นคืนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานที่รัฐได้จ่ายไปจริง พร้อมเบี้ยปรับในอัตราร้อยละสิบสองต่อปีภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การมาเป็นพยานของบุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานเอกชนให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณี
2. ทนายความ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ธุรการศาล พนักงานคุมประพฤติ ผู้พิพากษาและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องต้องให้เกียรติแก่พยานในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การตรงต่อเวลาและการถามพยาน เป็นต้น
3. ในกรณีที่พยานสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาไทยท้องถิ่น ให้มีการจัดหาล่ามให้ และให้ล่ามได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักได้
4. กรณีที่พยานเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการสืบพยานเด็กมาใช้บังคับโดยอนุโลม
5. พยานที่อาจได้รับอันตรายหรือเกิดความเสียหายอันเนื่องมาแต่การปล่อยชั่วคราว มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้งการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
6. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการอาจมีคำสั่งให้กันผู้ต้องหาคนหนึ่งคนใดไว้เป็นพยานได้
7. ให้รัฐรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลที่จะมา มาหรือได้มาเป็นพยาน
8. กำหนดมาตรการที่จะมิให้มีการเผชิญหน้าระหว่างพยานกับผู้ต้องหาหรือจำเลยตามสมควรแก่พฤติการณ์ มาตรการลงโทษผู้เปิดเผยข้อมูลอันอาจจะสามารถระบุตัวพยานและวิธีการชี้ตัวผู้ต้องหามิให้มีการเผชิญหน้ากับพยาน
9. ในกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพยาน เมื่อมีการร้องขอ สำนักงานคุ้มครองพยานอาจมีคำสั่งให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกินสามสิบวัน ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมของพยานด้วย หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพยาน ให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนพิจารณาสั่งให้พยานอยู่ในความคุ้มครองของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้เท่าเหตุจำเป็น แต่มิให้เกินห้าวัน ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมของพยานด้วย แล้วให้รายงานสำนักงานคุ้มครองพยานทราบ
10. กำหนดโทษหนักขึ้นแก่ผู้กระทำผิดอาญาต่อบุคคลใด เพราะเหตุที่บุคคลนั้นก็ดี สามีภรรยา ผู้บุพการี หรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นก็ดี จะมา มาหรือได้มาเป็นพยาน
11. กำหนดประเภทคดีที่จะกำหนดให้มีการคุ้มครองพยานได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับอั่งยี่หรือซ่องโจร เป็นต้น
12. ให้สำนักงานคุ้มครองพยานมีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง เช่น จัดหาที่พักอันเหมาะสม หรือจ่ายค่าเลี้ยงชีพที่สมควรเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้ขอขยายระยะเวลาครั้งละไม่เกินสามเดือน แต่รวมกันแล้วไม่เกินสองปี หรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล และหลักฐานทางทะเบียนต่าง ๆ ที่สามารถระบุตัวพยาน เป็นต้น
13. ให้จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่พยานขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองพยาน ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับสำนักงานคุ้มครองพยาน
14. ค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง หากปรากฏในภายหลังว่าพยานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ให้การเป็นพยานโดยไม่มีเหตุสมควร ให้สำนักงานคุ้มครองพยานมีคำสั่งให้บุคคลนั้นคืนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานที่รัฐได้จ่ายไปจริง พร้อมเบี้ยปรับในอัตราร้อยละสิบสองต่อปีภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-