ทำเนียบรัฐบาล--30 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 รวม 2 ครั้ง ดังนี้
1. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีระยะที่ 3
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบสำนวนผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักที่กรมสรรพากรค้างนำส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบจาก 2 ครั้งก่อน สรุปได้ดังนี้
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก)
กรมสรรพากรแจ้งรายละเอียดความเสียหายเบื้องต้นว่าเป็นเงินจำนวน 3,071.54 ล้านบาท แต่จากการสอบทานตัวเลขความเสียหายตามรายละเอียด รวมได้จริง 3,017.59 ล้านบาท ต่ำกว่าที่แจ้งให้คณะรัฐมนตรีและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบ เป็นเงิน 53.95 ล้านบาท กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบ 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,552.12 ล้านบาท ยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ตรวจสอบอีก 465.47 ล้านบาท จากการตรวจสอบจากเอกสารที่ได้รับครั้งนี้ พบว่ามีการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก จำนวน 72.49 ล้านบาท รวมตรวจพบทั้ง 3 ครั้งพบว่ามีความเสียหายจริง 1,229.81 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ได้รับเอกสาร 1,322.31 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.81 ของมูลค่าความเสียหายที่ส่งให้ตรวจสอบ สาเหตุสำคัญที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบความเสียหายได้ในจำนวนต่ำกว่า เนื่องจากกรมสรรพากรรายงานข้อมูลที่ทำขึ้นเฉพาะกิจและเป็นตัวเลขความเสียหายเบื้องต้น โดยใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงพบความเสียหายจากสำนวนการตรวจภาษีของกรมสรรพากรเพียงบางส่วนเท่านั้น
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
มูลค่าความเสียหายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรแจ้งนั้น เป็นข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช่มูลค่าความเสียหายที่มาจากผลการตรวจสอบจริงของกรมสรรพากร และจากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินพบว่ามูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายที่กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบประมาณร้อยละ 48.19 ดังนั้นมูลค่าความเสียของภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงควรลดลงตามอัตราส่วนที่มูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักลดลงดังกล่าว
2. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ระยะที่ 4
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานว่า เนื่องจากในการตรวจสอบระยะที่ 4 กรมสรรพากรไม่สามารถจัดส่งสำนวนที่คงค้างการตรวจไปให้ตรวจสอบได้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงตรวจสอบขั้นตอนในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับการทุจริตการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน โดยมีผลการตรวจสอบและข้อสังเกต สรุปได้ดังนี้
2.1 จุดอ่อนการส่งมอบเอกสาร
จากการที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยขอเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการคืนภาษีในช่วงปี 2535 - 2539 ทั้งที่อยู่ในกรอบที่รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และนอกกรอบรายงานแต่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 15 และ 16 (สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 8 เดิม) ไม่สามารถจัดส่งให้ตรวจสอบได้ เนื่องจากในช่วงจัดบ่งโครงสร้างภายในของกรมสรรพากรใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นระยะเวลาเดียวกับที่ตรวจพบการทุจริตการคืนภาษีเป็นจำนวนมาก เอกสารหลักฐานบางส่วนเจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าได้รับการตรวจสอบแล้วหรือไม่ และหรือนำไปเก็บไว้ที่ใด ส่วนเอกสารที่รับมอบแล้วก็ไม่สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุที่สำคัญจากการส่งมอบเอกสารไม่มีหลักฐานพอที่จะทำให้สามารถค้นหาหรือทราบได้ว่าเอกสารหลักฐานนั้นอยู่ที่ใด
2.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริต
จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้ประกอบการบางรายเพิ่งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ได้ประกอบการจริงแล้วขอคืนภาษีในเดือนเดียวกัน เป็นเงิน 4.65 ล้านบาท โดยไม่พบหลักฐานว่าการคืนภาษีดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบแล้วหรือไม่ ทั้งที่เป็นการคืนภาษีเป็นครั้งแรกและเป็นเงินจำนวนมาก และมีบางรายที่มิได้ประกอบการจริง แต่ยื่นแบบขอคืนภาษี โดยมีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้มีการตรวจปฏิบัติการและลงความเห็นว่าควรคืนภาษีให้ผู้ประกอบการได้ ทำให้เกิดการทุจริตไปประมาณ 44.40 ล้านบาท (ซึ่งกรมสรรพากรได้ส่งดำเนินคดีอาญาไปแล้ว) กรณีดังกล่าว ถ้ามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือตามระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและตามคู่มือการตรวจสอบ น่าจะพบว่าผู้ประกอบการนั้นไม่ได้ประกอบการจริง ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการทุจริตเป็นเงินจำนวนมาก
2.3 การเลือกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรวจสอบ
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งติดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ผู้มีอำนาจจะคัดเลือกแบบฯ อีกครั้ง โดยให้เหมาะสมกับอัตรากำลังที่มีอยู่จริง รวมถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ว่าจะถูกต้องตามระเบียบ แต่ควรมีความชัดเจนโปร่งใส โดยมีเอกสารหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบได้
2.4 การควบคุมการปฏิบัติงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากการสอบทานขั้นตอนในการคืนภาษีตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเห็นว่าการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมิใช่เกิดจากขั้นตอนการคืนภาษีที่มีจุดอ่อนอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นมา ได้มีการทุจริตมากน้อยแตกต่างกัน แต่ขั้นตอนการคืนภาษีของกรมสรรพากรไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีสาระสำคัญในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระบบและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามปกติที่ใช้อยู่ในขณะน้นไม่สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดนั้นได้ทันกาล ทำให้พิจารณาได้ว่าระบบการควบคุมการตรวจสอบและระบบข้อมูลภายในหน่วยงานยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะป้องกันการทุจริตได้
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ ดังนี้
1. ในการมอบหมายงาน ถ้ามีการส่งและรับมอบเอกสารหลักฐานการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบควรมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเหล่านั้นว่าครบถ้วนถูกต้องตามที่รับไว้หรือไม่ทันที กรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบได้หรือตรวจสอบแล้วไม่ครบถ้วนถูกต้อง ควรแจ้งปัญหาอุปสรรคให้ผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นไปรับทราบ
อนึ่ง การจัดทำทะเบียนก็ดี เอกสารหลักฐานอื่นที่ต้องจัดทำตามที่กำหนดในขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ดี ควรจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์การปฏิบัติงาน นอกเหนือจากสำนวนที่ตรวจสอบแล้ว
2. กรมสรรพากรควรกำชับเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบฯ และคู่มือการปฏิบัติงานโดยเคร่งครัด และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นควรสอบทานและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
3. ในการคัดเลือกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อตรวจสอบผู้มีอำนาจในการคัดเลือกควรมีความชัดเจนโปร่งใส โดยมีเอกสารหลักฐานรองรับการใช้ดุลยพินิจและพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
4. กรมสรรพากรควรมีการเพิ่มข้อมูลว่าผู้ประกอบการแต่ละรายมีสถิติผ่านการตรวจสอบมาแล้วเช่นใดในระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลถาวร ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจต่อการจัดเก็บและคืนภาษีได้ นอกจากนี้กรมสรรพากรควรจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละสำนักงานสรรพากรพื้นที่และจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ โดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นหรือในหน่วยงานเดียวกันแต่ทำหน้าที่อื่น ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการปฏิบัติงานตามขั้นตอนให้ถูกต้องอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 รวม 2 ครั้ง ดังนี้
1. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีระยะที่ 3
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบสำนวนผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักที่กรมสรรพากรค้างนำส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบจาก 2 ครั้งก่อน สรุปได้ดังนี้
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก)
กรมสรรพากรแจ้งรายละเอียดความเสียหายเบื้องต้นว่าเป็นเงินจำนวน 3,071.54 ล้านบาท แต่จากการสอบทานตัวเลขความเสียหายตามรายละเอียด รวมได้จริง 3,017.59 ล้านบาท ต่ำกว่าที่แจ้งให้คณะรัฐมนตรีและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบ เป็นเงิน 53.95 ล้านบาท กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบ 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,552.12 ล้านบาท ยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ตรวจสอบอีก 465.47 ล้านบาท จากการตรวจสอบจากเอกสารที่ได้รับครั้งนี้ พบว่ามีการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก จำนวน 72.49 ล้านบาท รวมตรวจพบทั้ง 3 ครั้งพบว่ามีความเสียหายจริง 1,229.81 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ได้รับเอกสาร 1,322.31 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.81 ของมูลค่าความเสียหายที่ส่งให้ตรวจสอบ สาเหตุสำคัญที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบความเสียหายได้ในจำนวนต่ำกว่า เนื่องจากกรมสรรพากรรายงานข้อมูลที่ทำขึ้นเฉพาะกิจและเป็นตัวเลขความเสียหายเบื้องต้น โดยใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงพบความเสียหายจากสำนวนการตรวจภาษีของกรมสรรพากรเพียงบางส่วนเท่านั้น
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
มูลค่าความเสียหายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรแจ้งนั้น เป็นข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช่มูลค่าความเสียหายที่มาจากผลการตรวจสอบจริงของกรมสรรพากร และจากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินพบว่ามูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายที่กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบประมาณร้อยละ 48.19 ดังนั้นมูลค่าความเสียของภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงควรลดลงตามอัตราส่วนที่มูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักลดลงดังกล่าว
2. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ระยะที่ 4
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานว่า เนื่องจากในการตรวจสอบระยะที่ 4 กรมสรรพากรไม่สามารถจัดส่งสำนวนที่คงค้างการตรวจไปให้ตรวจสอบได้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงตรวจสอบขั้นตอนในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับการทุจริตการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน โดยมีผลการตรวจสอบและข้อสังเกต สรุปได้ดังนี้
2.1 จุดอ่อนการส่งมอบเอกสาร
จากการที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยขอเอกสารหลักฐานในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการคืนภาษีในช่วงปี 2535 - 2539 ทั้งที่อยู่ในกรอบที่รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และนอกกรอบรายงานแต่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 15 และ 16 (สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 8 เดิม) ไม่สามารถจัดส่งให้ตรวจสอบได้ เนื่องจากในช่วงจัดบ่งโครงสร้างภายในของกรมสรรพากรใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นระยะเวลาเดียวกับที่ตรวจพบการทุจริตการคืนภาษีเป็นจำนวนมาก เอกสารหลักฐานบางส่วนเจ้าหน้าที่ไม่ทราบว่าได้รับการตรวจสอบแล้วหรือไม่ และหรือนำไปเก็บไว้ที่ใด ส่วนเอกสารที่รับมอบแล้วก็ไม่สามารถตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องได้ ทั้งนี้ มีสาเหตุที่สำคัญจากการส่งมอบเอกสารไม่มีหลักฐานพอที่จะทำให้สามารถค้นหาหรือทราบได้ว่าเอกสารหลักฐานนั้นอยู่ที่ใด
2.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริต
จากการตรวจสอบพบว่ามีผู้ประกอบการบางรายเพิ่งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ได้ประกอบการจริงแล้วขอคืนภาษีในเดือนเดียวกัน เป็นเงิน 4.65 ล้านบาท โดยไม่พบหลักฐานว่าการคืนภาษีดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบแล้วหรือไม่ ทั้งที่เป็นการคืนภาษีเป็นครั้งแรกและเป็นเงินจำนวนมาก และมีบางรายที่มิได้ประกอบการจริง แต่ยื่นแบบขอคืนภาษี โดยมีหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้มีการตรวจปฏิบัติการและลงความเห็นว่าควรคืนภาษีให้ผู้ประกอบการได้ ทำให้เกิดการทุจริตไปประมาณ 44.40 ล้านบาท (ซึ่งกรมสรรพากรได้ส่งดำเนินคดีอาญาไปแล้ว) กรณีดังกล่าว ถ้ามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือตามระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่มและตามคู่มือการตรวจสอบ น่าจะพบว่าผู้ประกอบการนั้นไม่ได้ประกอบการจริง ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการทุจริตเป็นเงินจำนวนมาก
2.3 การเลือกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรวจสอบ
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งติดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ผู้มีอำนาจจะคัดเลือกแบบฯ อีกครั้ง โดยให้เหมาะสมกับอัตรากำลังที่มีอยู่จริง รวมถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ซึ่งกรณีดังกล่าวแม้ว่าจะถูกต้องตามระเบียบ แต่ควรมีความชัดเจนโปร่งใส โดยมีเอกสารหลักฐานพร้อมให้ตรวจสอบได้
2.4 การควบคุมการปฏิบัติงานการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากการสอบทานขั้นตอนในการคืนภาษีตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเห็นว่าการทุจริตในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมิใช่เกิดจากขั้นตอนการคืนภาษีที่มีจุดอ่อนอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นมา ได้มีการทุจริตมากน้อยแตกต่างกัน แต่ขั้นตอนการคืนภาษีของกรมสรรพากรไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีสาระสำคัญในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ระบบและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามปกติที่ใช้อยู่ในขณะน้นไม่สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดนั้นได้ทันกาล ทำให้พิจารณาได้ว่าระบบการควบคุมการตรวจสอบและระบบข้อมูลภายในหน่วยงานยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะป้องกันการทุจริตได้
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ ดังนี้
1. ในการมอบหมายงาน ถ้ามีการส่งและรับมอบเอกสารหลักฐานการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ผู้รับมอบควรมีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเหล่านั้นว่าครบถ้วนถูกต้องตามที่รับไว้หรือไม่ทันที กรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบได้หรือตรวจสอบแล้วไม่ครบถ้วนถูกต้อง ควรแจ้งปัญหาอุปสรรคให้ผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นไปรับทราบ
อนึ่ง การจัดทำทะเบียนก็ดี เอกสารหลักฐานอื่นที่ต้องจัดทำตามที่กำหนดในขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ดี ควรจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์การปฏิบัติงาน นอกเหนือจากสำนวนที่ตรวจสอบแล้ว
2. กรมสรรพากรควรกำชับเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามระเบียบฯ และคู่มือการปฏิบัติงานโดยเคร่งครัด และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นควรสอบทานและควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
3. ในการคัดเลือกแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อตรวจสอบผู้มีอำนาจในการคัดเลือกควรมีความชัดเจนโปร่งใส โดยมีเอกสารหลักฐานรองรับการใช้ดุลยพินิจและพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
4. กรมสรรพากรควรมีการเพิ่มข้อมูลว่าผู้ประกอบการแต่ละรายมีสถิติผ่านการตรวจสอบมาแล้วเช่นใดในระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลถาวร ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจต่อการจัดเก็บและคืนภาษีได้ นอกจากนี้กรมสรรพากรควรจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของแต่ละสำนักงานสรรพากรพื้นที่และจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ โดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นหรือในหน่วยงานเดียวกันแต่ทำหน้าที่อื่น ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการปฏิบัติงานตามขั้นตอนให้ถูกต้องอีกทางหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 พฤษภาคม 2543--
-สส-