แท็ก
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติเสนอ เกี่ยวกับเงื่อนไขและประเด็นนโยบายที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืนได้
3 ประเด็น ดังนี้
1. ในระยะสั้น ยังคงต้องดำเนินการใน 3 ส่วนคือ 1) ภาคการเงิน โดยเร่งรัดกระบวนการแก้ไขปัญหา
NPLs และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคง 2) ภาคเศรษฐกิจรายสาขา
ได้แก่ภาคที่ยังคงมีอุปทานส่วนเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ภาคเกษตรที่ต้องดูแลราคา
สินค้าเกษตร และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ 3) ภาคคนและสังคม ภาวะเศรษฐกิจ
ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัวในขณะนี้ยังคงไม่เพียงพอที่จะดูดซับแรงงาน ทั้งนี้ โดยผ่านมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 ซึ่งจะช่วย
กระตุ้นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2. เงื่อนไขของภาวะเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ และกระจายทั่วทุกภาคเศรษฐกิจ
จะต้องมาจากปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงการเพิ่มคุณภาพของกำลังคนทางด้านการศึกษา
ฝีมือแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
3. ประเด็นนโยบายในระยะยาว มี 5 เรื่อง
1) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ทางด้านการคลังต้องเริ่มเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ภาครัฐเกิน
ความจำเป็น โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ส่วนทางด้านการเงินมุ่งสนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่
เหมาะสม
2) นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในให้สามารถรองรับและ
ลดผลกระทบต่อภาคที่มีความอ่อนแอจากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบ
อาฟต้า
3) นโยบายเพิ่มศักยภาพของภาคการผลิต ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ทั่วทุกภาคเศรษฐกิจ
เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย สร้างความสมดุลให้มากขึ้นในภาคเศรษฐกิจ
ชนบทและภาคเศรษฐกิจที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนได้ และปรับปรุงคุณภาพการให้บริการพื้นฐานของรัฐ
4) นโยบายสังคม ปฏิรูประบบการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อให้สังคม
ไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปรับปรุงหลักสูตรที่สำคัญที่สนับสนุนกำลังคนให้กับภาคเศรษฐกิจที่ต้องแข่งขัน สร้างหลัก
ประกันทางสังคม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
5) ธรรมรัฐแห่งชาติ โดยปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐที่เน้นความโปร่งใสและคุณภาพการให้บริการ
ของรัฐที่เท่าเทียมกัน และสร้างวินัยและความโปร่งใสในธรรมาภิบาลเอกชน
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการประเมินและสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543
สรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปีนี้ ได้แก่
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา และการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก
1.1 ผลกระทบของการปรับตัวเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
มีดังนี้
- การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินต่างประเทศ
สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินไทยมากขึ้น แต่ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเงินทุนไหลออกที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว และได้ปรับตัวไปก่อนล่วงหน้าแล้วระดับหนึ่ง
หากภาคเอกชนมีการระดมเงินบาทในประเทศเพื่อชำระหนี้เพิ่มขึ้นก็อาจจะมีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงบ้าง แต่ขณะนี้
แนวโน้มการชำระคืนหนี้ภาคเอกชนยังคงเป็นไปตามระดับเดิม ค่าเงินจึงไม่น่าเปลี่ยนแปลงมากนัก
- ภาวะเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐฯ อยู่ในช่วงวงจรธุรกิจที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ได้ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องกันมานาน ในขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตและ
แรงกดดันเงินเฟ้อจากการจับจ่ายใช้สอยยังมีไม่มากนัก ดังนั้นส่วนต่างดอกเบี้ยที่กว้างขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับภาวะ
เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
- สำหรับกรณีนักลงทุนไทยจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ในต่างประเทศนั้น ในขณะนี้ประเทศไทย
ยังมีข้อห้ามและข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง ดังนั้นเงินทุนประเภทนี้จึงไม่น่าจะไหลออกไปต่างประเทศมากนัก ซึ่งในเรื่อง
นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องติดตามการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยต่อการปรับดอกเบี้ยของสหรัฐฯ รวมทั้งสถานการณ์
ด้านการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
- ในระยะสั้นจะกระทบกับตลาดหุ้นเนื่องจากนักลงทุนหวั่นไหวตามตลาดสหรัฐฯ แต่ในระยะยาว
หากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาแถบเอเชียอาจมีผลบวกต่อตลาดหุ้นไทย ในระยะสั้นดัชนีราคาหุ้นที่ปรับตัวต่ำลงจะส่งผล
ต่อความมั่งคั่ง (Wealth effect) ซึ่งมีผลให้การบริโภคชะลอตัวลงบ้าง แต่ผลดังกล่าวจะไม่มากนักเนื่องจากการ
ออมของครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากมากกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
1.2 ผลกระทบของราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจไทยปี 2543
ผลกระทบของแนวโน้มราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวมปี 2543 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานผลการประเมินผลกระทบของแนวโน้มราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
ปี 2543 ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยได้ทำการศึกษาผลกระทบใน
3 กรณีด้วยกันคือ ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในปี 2543 อยู่ที่ระดับ 22, 24 และ 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล โดย
เปรียบเทียบกับกรณีฐานของการประมาณการเศรษฐกิจปี 2543 ซึ่งตั้งสมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยเป็น 19 ดอลลาร์
สหรัฐฯ ต่อบาเรล ต่อมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วง 2 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
และยังไม่มีข้อตกลงว่าหลังจากที่ข้อตกลงการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 เดือนมีนาคมแล้ว
กลุ่มโอเปกจะเพิ่มปริมาณการผลิตหรือจะขยายระยะเวลาการจำกัดปริมาณการผลิตต่อไปอีก สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้ประมาณผลกระทบของกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาเรล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งกรณี และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2543
การประเมินผลกระทบในกรณีต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
ตารางประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมปี 2543
กรณีฐาน1 กรณี 12 กรณี 23 กรณี 34
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี S (US$ ต่อบาเรล) 19.00 22.00 26.00 29.00
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/เหรียญสหรัฐฯ) 38 38 38 38
การขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 4.4 4.18 3.88 3.66
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.22 -0.52 -0.74
อัตราเงินเฟ้อ (%) 2.0 2.18 2.41 2.59
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน 0.18 0.41 0.59
หมายเหตุ 1. ในกรณีฐาน ใช้สมมติฐานการประมาณการตาม IMF คือราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 7.8 ในปี 2543
2. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 25, 21, 21 และ 21 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
ในไตรมาส 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
3. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล (ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยของ
2 เดือนแรกของปี) ในทุกไตรมาส
4. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล (ซึ่งเป็นราคา ณ ระดับ
สูงสุดของน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี) ทุกไตรมาส
5. เป็นราคาเฉลี่ยของดูไบและเบรนท์
ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม ในกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล จากปัจจัยด้าน
การบริโภคภาคเอกชน การนำเข้า และการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ากว่ากรณีฐาน
ร้อยละ 0.74 นั่นคือ ถ้าหากราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในปี 2543 อยู่ในระดับประมาณ 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
เศรษฐกิจรวมจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 อย่างไรก็ตามกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 22 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาเรลยังคงเป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง โดยที่การส่งออกและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ก็ยังคงยืนยัน
ถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นแนวโน้มราคาน้ำมันขณะนี้จึงยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจโดยรวม
2. ภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัว
2.1 เศรษฐกิจไทยปี 2542 ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในปี 2541 จากที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ติดลบร้อยละ 10.4 และในปี 2542 เศรษฐกิจไทยได้แสดงสัญญาณฟื้นตัวโดยลำดับ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่ม
เป็นบวกตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งเป็นต้นมา และส่งผลให้ทั้งปี 2542 สามารถขยายตัวได้ในอัตราประมาณร้อยละ 4.1
2.2 ภาวะการฟื้นตัวมีความชัดเจนในภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมได้เร่งการผลิตตลอด
ทั้งปีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออก ดังจะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตรา
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นทุกไตรมาส ในขณะที่การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศเป็นการใช้จ่าย
ของภาครัฐผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี และผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 30 มีนาคม 2542 ซึ่ง
มีมูลค่า 53,000 ล้านบาท รวมกับมาตรการด้านภาษีเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจและเพื่อเพิ่มรายได้จับจ่ายใช้สอย
ให้กับประชาชน สำหรับภาคการส่งออก สามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.2 สูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่
กำหนดไว้เดิมคือร้อยละ 4
2.3 ภาคการจ้างงาน ได้ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่การ
สำรวจภาวะการมีงานทำ (สำรวจทุกไตรมาส) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งส่วนที่เป็นการจ้าง
งานระดับล่างและการจ้างบัณฑิตอาสาในโครงการต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากผู้ว่างงานในปี 2542 มีจำนวน 1.38 ล้าน
คน ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีจำนวน 1.42 ล้านคน ในขณะที่อัตราการว่างงานในปี 2542 คิดเป็นร้อยละ 4.2 ลดลง
จากร้อยละ 4.4 ในปี2541
2.4 ภาคการเงิน มีความคืบหน้าด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และ NPLs ได้ลดลงตามลำดับ โดยที่
NPLs ณ เดือนมกราคม 2543 คิดเป็นร้อยละ 38.68 ของปริมาณสินเชื่อทั้งระบบลดลงจากร้อยละ 47 ในช่วงต้น
ปี 2542 ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ณ เดือนมกราคม 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.126 ล้านล้านบาท สูงกว่า
566,000 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2542
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงอีก
ประมาณร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน
จากร้อยละ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และล่าสุดยังคงไม่มีการเปลี่ยน
แปลง ขณะเดียวกันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลดลงร้อยละ 8.25 - 8.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 8.0 -
8.25 ต่อปีเช่นกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นไปตามภาวะสภาพคล่องโดยรวมที่ยังมีอยู่สูง
ถึงแม้จะดึงตัวขึ้นบ้างในช่วงสั้น ๆ ก็ตาม สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเช่นกัน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง
อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย 5 ปีก่อนช่วงวิกฤต ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริง ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่เล็ก
น้อย แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยังคงจะลดลงอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เนื่องจากสภาพคล่องใน
ระบบการเงินยังคงมีอยู่มาก
2.5 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เครื่องชี้ต่าง ๆ ยับแสดงถึงความมั่นคงด้านเสถียรภาพ โดยที่อัตรา
เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.7 ต่ำกว่าเฉลี่ยทั้งปีที่ประมาณการไว้ร้อยละ 2.0 ส่วนค่าเงินบาทยังอยู่ในช่วง 37 - 38 บาท แม้
จะมีค่าแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงต้นปีนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติเสนอ เกี่ยวกับเงื่อนไขและประเด็นนโยบายที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืนได้
3 ประเด็น ดังนี้
1. ในระยะสั้น ยังคงต้องดำเนินการใน 3 ส่วนคือ 1) ภาคการเงิน โดยเร่งรัดกระบวนการแก้ไขปัญหา
NPLs และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคง 2) ภาคเศรษฐกิจรายสาขา
ได้แก่ภาคที่ยังคงมีอุปทานส่วนเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ภาคเกษตรที่ต้องดูแลราคา
สินค้าเกษตร และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ 3) ภาคคนและสังคม ภาวะเศรษฐกิจ
ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัวในขณะนี้ยังคงไม่เพียงพอที่จะดูดซับแรงงาน ทั้งนี้ โดยผ่านมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 ซึ่งจะช่วย
กระตุ้นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
2. เงื่อนไขของภาวะเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้อย่างยั่งยืน มีคุณภาพ และกระจายทั่วทุกภาคเศรษฐกิจ
จะต้องมาจากปัจจัยการเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงการเพิ่มคุณภาพของกำลังคนทางด้านการศึกษา
ฝีมือแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
3. ประเด็นนโยบายในระยะยาว มี 5 เรื่อง
1) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ทางด้านการคลังต้องเริ่มเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ภาครัฐเกิน
ความจำเป็น โดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ส่วนทางด้านการเงินมุ่งสนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่
เหมาะสม
2) นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในให้สามารถรองรับและ
ลดผลกระทบต่อภาคที่มีความอ่อนแอจากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบ
อาฟต้า
3) นโยบายเพิ่มศักยภาพของภาคการผลิต ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ทั่วทุกภาคเศรษฐกิจ
เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย สร้างความสมดุลให้มากขึ้นในภาคเศรษฐกิจ
ชนบทและภาคเศรษฐกิจที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนได้ และปรับปรุงคุณภาพการให้บริการพื้นฐานของรัฐ
4) นโยบายสังคม ปฏิรูประบบการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อให้สังคม
ไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปรับปรุงหลักสูตรที่สำคัญที่สนับสนุนกำลังคนให้กับภาคเศรษฐกิจที่ต้องแข่งขัน สร้างหลัก
ประกันทางสังคม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
5) ธรรมรัฐแห่งชาติ โดยปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐที่เน้นความโปร่งใสและคุณภาพการให้บริการ
ของรัฐที่เท่าเทียมกัน และสร้างวินัยและความโปร่งใสในธรรมาภิบาลเอกชน
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานผลการประเมินและสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543
สรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปีนี้ ได้แก่
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา และการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก
1.1 ผลกระทบของการปรับตัวเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
มีดังนี้
- การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินต่างประเทศ
สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินไทยมากขึ้น แต่ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเงินทุนไหลออกที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากการปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว และได้ปรับตัวไปก่อนล่วงหน้าแล้วระดับหนึ่ง
หากภาคเอกชนมีการระดมเงินบาทในประเทศเพื่อชำระหนี้เพิ่มขึ้นก็อาจจะมีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงบ้าง แต่ขณะนี้
แนวโน้มการชำระคืนหนี้ภาคเอกชนยังคงเป็นไปตามระดับเดิม ค่าเงินจึงไม่น่าเปลี่ยนแปลงมากนัก
- ภาวะเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐฯ อยู่ในช่วงวงจรธุรกิจที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ได้ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องกันมานาน ในขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตและ
แรงกดดันเงินเฟ้อจากการจับจ่ายใช้สอยยังมีไม่มากนัก ดังนั้นส่วนต่างดอกเบี้ยที่กว้างขึ้นจึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับภาวะ
เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
- สำหรับกรณีนักลงทุนไทยจะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ในต่างประเทศนั้น ในขณะนี้ประเทศไทย
ยังมีข้อห้ามและข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง ดังนั้นเงินทุนประเภทนี้จึงไม่น่าจะไหลออกไปต่างประเทศมากนัก ซึ่งในเรื่อง
นี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องติดตามการปรับตัวของเศรษฐกิจไทยต่อการปรับดอกเบี้ยของสหรัฐฯ รวมทั้งสถานการณ์
ด้านการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด
- ในระยะสั้นจะกระทบกับตลาดหุ้นเนื่องจากนักลงทุนหวั่นไหวตามตลาดสหรัฐฯ แต่ในระยะยาว
หากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนมาแถบเอเชียอาจมีผลบวกต่อตลาดหุ้นไทย ในระยะสั้นดัชนีราคาหุ้นที่ปรับตัวต่ำลงจะส่งผล
ต่อความมั่งคั่ง (Wealth effect) ซึ่งมีผลให้การบริโภคชะลอตัวลงบ้าง แต่ผลดังกล่าวจะไม่มากนักเนื่องจากการ
ออมของครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในรูปเงินฝากมากกว่าการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
1.2 ผลกระทบของราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจไทยปี 2543
ผลกระทบของแนวโน้มราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวมปี 2543 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานผลการประเมินผลกระทบของแนวโน้มราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจส่วนรวม
ปี 2543 ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยได้ทำการศึกษาผลกระทบใน
3 กรณีด้วยกันคือ ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในปี 2543 อยู่ที่ระดับ 22, 24 และ 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล โดย
เปรียบเทียบกับกรณีฐานของการประมาณการเศรษฐกิจปี 2543 ซึ่งตั้งสมมติฐานราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยเป็น 19 ดอลลาร์
สหรัฐฯ ต่อบาเรล ต่อมาราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วง 2 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
และยังไม่มีข้อตกลงว่าหลังจากที่ข้อตกลงการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 เดือนมีนาคมแล้ว
กลุ่มโอเปกจะเพิ่มปริมาณการผลิตหรือจะขยายระยะเวลาการจำกัดปริมาณการผลิตต่อไปอีก สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้ประมาณผลกระทบของกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาเรล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งกรณี และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2543
การประเมินผลกระทบในกรณีต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
ตารางประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมปี 2543
กรณีฐาน1 กรณี 12 กรณี 23 กรณี 34
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยทั้งปี S (US$ ต่อบาเรล) 19.00 22.00 26.00 29.00
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/เหรียญสหรัฐฯ) 38 38 38 38
การขยายตัวเศรษฐกิจ (%) 4.4 4.18 3.88 3.66
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน -0.22 -0.52 -0.74
อัตราเงินเฟ้อ (%) 2.0 2.18 2.41 2.59
การเปลี่ยนแปลงจากกรณีฐาน 0.18 0.41 0.59
หมายเหตุ 1. ในกรณีฐาน ใช้สมมติฐานการประมาณการตาม IMF คือราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 7.8 ในปี 2543
2. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 25, 21, 21 และ 21 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
ในไตรมาส 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
3. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 26 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล (ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยของ
2 เดือนแรกของปี) ในทุกไตรมาส
4. ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล (ซึ่งเป็นราคา ณ ระดับ
สูงสุดของน้ำมันดิบเบรนท์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี) ทุกไตรมาส
5. เป็นราคาเฉลี่ยของดูไบและเบรนท์
ผลต่อเศรษฐกิจส่วนรวม ในกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล จากปัจจัยด้าน
การบริโภคภาคเอกชน การนำเข้า และการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่ากว่ากรณีฐาน
ร้อยละ 0.74 นั่นคือ ถ้าหากราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในปี 2543 อยู่ในระดับประมาณ 29 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาเรล
เศรษฐกิจรวมจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.7 อย่างไรก็ตามกรณีราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเป็น 22 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อบาเรลยังคงเป็นกรณีที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับร้อยละ 0.7 ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วง โดยที่การส่งออกและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ก็ยังคงยืนยัน
ถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นแนวโน้มราคาน้ำมันขณะนี้จึงยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจโดยรวม
2. ภาวะเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัว
2.1 เศรษฐกิจไทยปี 2542 ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในปี 2541 จากที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ติดลบร้อยละ 10.4 และในปี 2542 เศรษฐกิจไทยได้แสดงสัญญาณฟื้นตัวโดยลำดับ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่ม
เป็นบวกตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งเป็นต้นมา และส่งผลให้ทั้งปี 2542 สามารถขยายตัวได้ในอัตราประมาณร้อยละ 4.1
2.2 ภาวะการฟื้นตัวมีความชัดเจนในภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมได้เร่งการผลิตตลอด
ทั้งปีตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออก ดังจะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตรา
การใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นทุกไตรมาส ในขณะที่การขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศเป็นการใช้จ่าย
ของภาครัฐผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี และผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 30 มีนาคม 2542 ซึ่ง
มีมูลค่า 53,000 ล้านบาท รวมกับมาตรการด้านภาษีเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจและเพื่อเพิ่มรายได้จับจ่ายใช้สอย
ให้กับประชาชน สำหรับภาคการส่งออก สามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.2 สูงกว่าเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่
กำหนดไว้เดิมคือร้อยละ 4
2.3 ภาคการจ้างงาน ได้ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่การ
สำรวจภาวะการมีงานทำ (สำรวจทุกไตรมาส) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น
ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งส่วนที่เป็นการจ้าง
งานระดับล่างและการจ้างบัณฑิตอาสาในโครงการต่าง ๆ ดังจะเห็นได้จากผู้ว่างงานในปี 2542 มีจำนวน 1.38 ล้าน
คน ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีจำนวน 1.42 ล้านคน ในขณะที่อัตราการว่างงานในปี 2542 คิดเป็นร้อยละ 4.2 ลดลง
จากร้อยละ 4.4 ในปี2541
2.4 ภาคการเงิน มีความคืบหน้าด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และ NPLs ได้ลดลงตามลำดับ โดยที่
NPLs ณ เดือนมกราคม 2543 คิดเป็นร้อยละ 38.68 ของปริมาณสินเชื่อทั้งระบบลดลงจากร้อยละ 47 ในช่วงต้น
ปี 2542 ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ณ เดือนมกราคม 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.126 ล้านล้านบาท สูงกว่า
566,000 ล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2542
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ลงอีก
ประมาณร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน
จากร้อยละ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และล่าสุดยังคงไม่มีการเปลี่ยน
แปลง ขณะเดียวกันได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลดลงร้อยละ 8.25 - 8.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 8.0 -
8.25 ต่อปีเช่นกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นไปตามภาวะสภาพคล่องโดยรวมที่ยังมีอยู่สูง
ถึงแม้จะดึงตัวขึ้นบ้างในช่วงสั้น ๆ ก็ตาม สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลงเช่นกัน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง
อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย 5 ปีก่อนช่วงวิกฤต ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่แท้จริง ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่เล็ก
น้อย แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยังคงจะลดลงอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เนื่องจากสภาพคล่องใน
ระบบการเงินยังคงมีอยู่มาก
2.5 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เครื่องชี้ต่าง ๆ ยับแสดงถึงความมั่นคงด้านเสถียรภาพ โดยที่อัตรา
เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2543 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 0.7 ต่ำกว่าเฉลี่ยทั้งปีที่ประมาณการไว้ร้อยละ 2.0 ส่วนค่าเงินบาทยังอยู่ในช่วง 37 - 38 บาท แม้
จะมีค่าแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องถึงต้นปีนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--