คณะรัฐมนตรีรับทราบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามประกาศเมื่อวันที่22 มีนาคม 2544
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
2. "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
"กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง" หมายความว่า กองทุนในระดับชาติ
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนหมู่บ้าน อีกทั้งชุมชนเมือง ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นหมู่บ้านตามระเบียบนี้
"หมู่บ้าน" หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
"ชุมชนเมือง" หมายความว่า ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลในเขตปกครองท้องที่พิเศษและชุมชนอื่น ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ทั้งนี้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
3. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยมีชื่อย่อว่า กทบ. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานคนที่สอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคนที่สาม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกิน 3 คน
ให้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการจำนวนอย่างน้อยสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่างคราวละสองปี และอาจได้รับแต่ตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออกเป็นบุคคลล้มละลาย คณะรัฐมนตรีมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการผู้มีอาวุโสตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการมาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
4. คณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) กำหนดนโยบาย การจัดตั้ง และแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และกองทุน
2) กำหนดแผนการจัดหาเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และแผนการจัดสรรให้แก่กองทุน
3) จัดทำร่างกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
4) กำหนดแผนงาน และออกระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในการจัดตั้ง และแนวทางการบริหารงานกองทุน
5) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน จัดหา และจัดสรรผลประโยชน์ของกองทุน
6) ออกระเบียบเกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และการบริหารกองทุน
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้
8) ออกระเบียบ คำสั่ง และประกาศอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
9) เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน อาจมีคำสั่งให้ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือคณะกรรมการ อาจขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ไปช่วยปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานได้ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามปกติ โดยจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลาบางเวลา หรือนอกเวลาก็ได้ อีกทั้งอาจกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้ไปช่วยปฏิบัติงานด้วยก็ได้
10) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
11) ปฏิบัติหน้าที่อื่น หรือตามที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
2) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ
3) ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการและของกองทุน
4) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงการจัดตั้ง นโยบาย และแนวทางการบริหารกองทุน
5) ดำเนินการและประสานงานกับส่วนราชการและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกองทุน และแนวทางการบริหารกองทุน
6) จัดให้มี หรือสนับสนุนให้มีการประชุมชี้แจงและฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุน
7) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการพิจารณาแผนการบริหารและจัดการกองทุน
8) ให้การสนับสนุน ปรึกษาหารือ และข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบายระเบียบ หลักเกณฑ์ การดำเนินงานกองทุน
9) ดำเนินการหรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการดำเนินการในส่วนการบริหารกองทุน
10) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ
11) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
2. "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
"กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง" หมายความว่า กองทุนในระดับชาติ
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนหมู่บ้าน อีกทั้งชุมชนเมือง ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นหมู่บ้านตามระเบียบนี้
"หมู่บ้าน" หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
"ชุมชนเมือง" หมายความว่า ชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลในเขตปกครองท้องที่พิเศษและชุมชนอื่น ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
"สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ทั้งนี้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
3. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยมีชื่อย่อว่า กทบ. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานคนที่สอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคนที่สาม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จำนวนไม่เกิน 3 คน
ให้มีที่ปรึกษาคณะกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการจำนวนอย่างน้อยสามคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่างคราวละสองปี และอาจได้รับแต่ตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้น ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออกเป็นบุคคลล้มละลาย คณะรัฐมนตรีมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการผู้มีอาวุโสตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการมาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
4. คณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) กำหนดนโยบาย การจัดตั้ง และแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และกองทุน
2) กำหนดแผนการจัดหาเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และแผนการจัดสรรให้แก่กองทุน
3) จัดทำร่างกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
4) กำหนดแผนงาน และออกระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในการจัดตั้ง และแนวทางการบริหารงานกองทุน
5) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน จัดหา และจัดสรรผลประโยชน์ของกองทุน
6) ออกระเบียบเกี่ยวกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และการบริหารกองทุน
7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้
8) ออกระเบียบ คำสั่ง และประกาศอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
9) เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน อาจมีคำสั่งให้ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือคณะกรรมการ อาจขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ไปช่วยปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานได้ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามปกติ โดยจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลาบางเวลา หรือนอกเวลาก็ได้ อีกทั้งอาจกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้ไปช่วยปฏิบัติงานด้วยก็ได้
10) รายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งฐานะการเงินของกองทุนให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
11) ปฏิบัติหน้าที่อื่น หรือตามที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
2) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการ
3) ศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการและของกองทุน
4) ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงการจัดตั้ง นโยบาย และแนวทางการบริหารกองทุน
5) ดำเนินการและประสานงานกับส่วนราชการและองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกองทุน และแนวทางการบริหารกองทุน
6) จัดให้มี หรือสนับสนุนให้มีการประชุมชี้แจงและฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุน
7) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการพิจารณาแผนการบริหารและจัดการกองทุน
8) ให้การสนับสนุน ปรึกษาหารือ และข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับนโยบายระเบียบ หลักเกณฑ์ การดำเนินงานกองทุน
9) ดำเนินการหรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการดำเนินการในส่วนการบริหารกองทุน
10) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ
11) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-