คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และกลไกการบริหารจัดการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. แผนงาน/โครงการ มีกำหนดระยะเวลาดำเนินการประมาณ 10 ปี (2544 - 2553) ใช้งบประมาณ10,652.5 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1.1 แผนระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยแผนงาน/โครงการที่มีกำหนดดำเนินการแล้วเสร็จก่อนเดือนพฤศจิกายน 2544 (ก่อนฤดูฝนปี 2544) หรือเป็นโครงการที่จำเป็นเร่งด่วนต้องเริ่มดำเนินการในปี 2544 งบประมาณรวม 3,856.8 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่จะต้องใช้ในปี 2544 จำนวน 409.26 ล้านบาท โดยเป็นงบได้รับจัดสรรแล้วจำนวน 8.9 ล้านบาท (ประกอบด้วย 2.9 ล้านบาท ของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท และ 6.0 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และงบที่จะขอรับจัดสรรเพิ่มเติมในปี 2544 จำนวน 400.4 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 3,447.5 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรในปี 2545 - 2548 ประกอบด้วย 4 แผนงานหลัก ได้แก่
1) แผนปรับปรุงระบบเร่งระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำ การไหล และสภาพน้ำท่วม และการติดตั้งระบบเตือนภัย
- การจัดหาที่ดิน สำรวจออกแบบ และขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 2 สาย (โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เพื่อผันน้ำบางส่วนในคลองอู่ตะเภาและคลองเตย ไม่ให้ผ่านตัวเมือง ดำเนินการโดยกรมชลประทานงบประมาณ 3,360.0 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรในปี 2544 จำนวน 64.2 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 502.0 ล้านบาท และปี 2546 - 2548 จำนวน 2,793.8 ล้านบาท
- การขุดลอกคลองระบายน้ำและคลองธรรมชาตินอกตัวเมืองหาดใหญ่ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน งบประมาณ 91.0 ล้านบาท
- การจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำ การไหล และสภาพน้ำท่วม และการติดตั้งระบบเตือนภัยดำเนินการโดย กรมชลประทานร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่และกรมอุตุนิยมวิทยา มี 2 โครงการ งบประมาณ 119.0ล้านบาท ประกอบด้วยท โครงการของกรมชลประทานร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ (ประสานกับโครงการของกรมอุตุนิยมวิทยา) งบประมาณ 100.0 ล้านบาท กำหนดขอรับจัดสรรในปี 2544 จำนวน 19.5 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 42.0 ล้านบาท และปี 2546 จำนวน 38.5 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ด้านตะวันออกให้แล้วเสร็จใช้งานได้เบื้องต้นก่อนเดือนพฤศจิกายน 2544 และดำเนินการส่วนที่เหลือในปีต่อไปท โครงการเตือนอุทกภัยลุ่มน้ำอู่ตะเภาของกรมอุตุนิยมวิทยา งบประมาณ 19.0 ล้านบาท กำหนดรับจัดสรรปี 2544
2) แผนป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมตัวเมืองหาดใหญ่
- การปรับปรุงและก่อสร้างระบบป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมเมืองและการระบายน้ำขังในตัวเมืองหาดใหญ่ ดำเนินการโดย เทศบาลนครหาดใหญ่ งบประมาณ 177.4 ล้านบาท
3) แผนปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางระบายน้ำ โดยกรมทางหลวง กรมโยธาธิการ กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย งบประมาณ 95.4 ล้านบาท โดยได้รับจัดสรรในปี 2544 แล้ว จำนวน8.9 ล้านบาท และจะขอรับจัดสรรเพิ่มเติมในปี 2544 จำนวน 17 ล้านบาท และปี 2545 จำนวน 69.5 ล้านบาท
4) แผนสำรวจข้อมูลและกำหนดมาตรการบังคับใช้ผังเมืองรวม กำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน และการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมการผังเมือง และกรมพัฒนาที่ดิน งบประมาณ 14.0 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรปี 2544 จำนวน 12.3 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 1.7 ล้านบาท
1.2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนงานที่มีกำหนดดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2548 งบประมาณรวม 1,265.6 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรในปี 2545 จำนวน 465.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะขอรับจัดสรรในปี 2546 - 2548 ประกอบด้วย
1) แผนสำรวจและออกแบบอ่างเก็บน้ำบนลำน้ำสาขาคลองอู่ตะเภา 6 แห่ง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน งบประมาณ 19.0 ล้านบาท กำหนดดำเนินการปี 2545 - 2548
2) แผนก่อสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบป้องกันน้ำท่วมและน้ำท่วมขังในเมือง ดำเนินการโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ มี 3 แผนงาน งบประมาณ 1,241.1 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี 2545 - 2547
3) แผนปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองหาดใหญ่และกำหนดมาตรการบังคับใช้ ดำเนินการโดยกรมการผังเมือง มี 1 โครงการ งบประมาณ 5.5 ล้านบาท กำหนดดำเนินการในปี 2545 - 2546
1.3 แผนระยะยาว เป็นแผนงานที่มีกำหนดดำเนินการระหว่างปีให้แล้วเสร็จภายหลังปี 2548 ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและการฟื้นฟูอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อประโยชน์ในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำบางส่วนไว้ไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ตอนล่าง งบประมาณรวม 5,530.1 ล้านบาท ประกอบด้วย
1) แผนจัดหาที่ดินและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ รวม 6 แห่ง บนลำน้ำสาขาของคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมชลประทาน มี 1 แผนงาน งบประมาณ 5,430.0 ล้านบาท
2) แผนปลูกป่าและจัดระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ มี 1 โครงการงบประมาณ 100.1 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณปกติของกรมป่าไม้
2. กลไกการบริหารจัดการ
2.1 จากการประมาณการของภาครัฐและภาคเอกชน ความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีมูลค่าสูงถึง 17,000 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง ประกอบกับแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาที่จัดเตรียมขึ้นตามข้อ 1 เป็นแผนงานระยะยาวขนาดใหญ่ที่มีลักษณะผสมผสานเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งในระหว่างการก่อสร้างยังมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องโยกย้ายประชาชนประมาณ 1,700 ครอบครัว หรือ 5,400 คน ทั้งจากการโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ก่อสร้างคลองระบายสายใหม่จำนวน 120 ครอบครัว หรือ 400 คน และการโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง จำนวน 1,580 ครอบครัว หรือ 5,000 คน จึงให้พิจารณากำหนดรูปแบบการบริหารงาน โดยใช้กลไกคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำลังเสนอพิจารณาปรับปรุงโดยยุบรวมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางและบริหารแผนงานในภาพรวมได้อย่างมีเอกภาพคล้ายคลึงกับกลไกการพัฒนาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และให้คณะกรรมการชุดอื่น ๆ ที่มีอยู่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเช่นเดิม แต่ปรับเพิ่มภารกิจในการประสานงานกับคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะนี้ พร้อมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับปฏิบัติและระดับพื้นที่เพื่อช่วยปฏิบัติงานให้เกิดความชัดเจนในทุกขั้นตอน และบังเกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว มีประสิทธิภาพ รวม 6 ชุด ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับมวลชน จัดทำแนวนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจกับมวลชนในพื้นที่โครงการ
- คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน พิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการจัดหาที่ดินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ
- คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการก่อสร้าง จัดทำแผนปฏิบัติการทั้งแผนงานและแผนการเงินแบบผสมผสาน และประสานการปฏิบัติตามแผน
- คณะอนุกรรมการประสานการจัดระเบียบผังเมือง ปรับปรุงผังเมืองรวมหาดใหญ่ เสนอแนะแผนการใช้ที่ดิน และกำหนดวิธีการควบคุมบังคับใช้ผังเมืองรวมและแผนการใช้ที่ดินที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ของพื้นที่
- คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและจัดที่ทำกินสำหรับผู้อพยพ จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณ เพื่อการจัดตั้งถิ่นฐานและส่งเสริมอาชีพผู้ต้องโยกย้ายถิ่นจากการก่อสร้างของโครงการ
- คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ผู้แทนจาก 3 ฝ่าย คือ ภาคราชการ ภาควิชาการ มหาวิทยาลัย และภาคประชาชนและองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่
2.2 ให้ปรับปรุงรูปแบบกลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติหรืออุบัติภัยที่เกิดขึ้น ให้มีเอกภาพในการตัดสินใจ และสั่งการแบบครบวงจร ทั้งด้านการเตือนภัยก่อนเกิดเหตุการณ์ การปฏิบัติตามแผนกู้ภัยระหว่างเกิดเหตุการณ์และการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์สงบ ให้มีความสอดคล้องผสมผสานกันระหว่างหน่วยปฏิบัติที่มาจากหลายกระทรวง ทบวง กรม และภาคเอกชน
2.3 การดำเนินงานตามแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา จำเป็นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงและส่วนใหญ่เป็นงานโยธา ซึ่งภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง และภาครัฐมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้จ่ายงบประมาณ จึงให้พิจารณาแนวทางเผื่อเลือกระหว่างการใช้แรงงานคนกับการใช้เครื่องจักรกล เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ในการก่อสร้างแต่ละโครงการ ทั้งนี้ โดยให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาที่จะต้องสอดคล้องกับฤดูกาลและโครงการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้สำนักงบประมาณประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการตามความจำเป็นเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-
1. แผนงาน/โครงการ มีกำหนดระยะเวลาดำเนินการประมาณ 10 ปี (2544 - 2553) ใช้งบประมาณ10,652.5 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1.1 แผนระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยแผนงาน/โครงการที่มีกำหนดดำเนินการแล้วเสร็จก่อนเดือนพฤศจิกายน 2544 (ก่อนฤดูฝนปี 2544) หรือเป็นโครงการที่จำเป็นเร่งด่วนต้องเริ่มดำเนินการในปี 2544 งบประมาณรวม 3,856.8 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่จะต้องใช้ในปี 2544 จำนวน 409.26 ล้านบาท โดยเป็นงบได้รับจัดสรรแล้วจำนวน 8.9 ล้านบาท (ประกอบด้วย 2.9 ล้านบาท ของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท และ 6.0 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) และงบที่จะขอรับจัดสรรเพิ่มเติมในปี 2544 จำนวน 400.4 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 3,447.5 ล้านบาท จะขอรับจัดสรรในปี 2545 - 2548 ประกอบด้วย 4 แผนงานหลัก ได้แก่
1) แผนปรับปรุงระบบเร่งระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำ การไหล และสภาพน้ำท่วม และการติดตั้งระบบเตือนภัย
- การจัดหาที่ดิน สำรวจออกแบบ และขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ 2 สาย (โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เพื่อผันน้ำบางส่วนในคลองอู่ตะเภาและคลองเตย ไม่ให้ผ่านตัวเมือง ดำเนินการโดยกรมชลประทานงบประมาณ 3,360.0 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรในปี 2544 จำนวน 64.2 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 502.0 ล้านบาท และปี 2546 - 2548 จำนวน 2,793.8 ล้านบาท
- การขุดลอกคลองระบายน้ำและคลองธรรมชาตินอกตัวเมืองหาดใหญ่ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน งบประมาณ 91.0 ล้านบาท
- การจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำ การไหล และสภาพน้ำท่วม และการติดตั้งระบบเตือนภัยดำเนินการโดย กรมชลประทานร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่และกรมอุตุนิยมวิทยา มี 2 โครงการ งบประมาณ 119.0ล้านบาท ประกอบด้วยท โครงการของกรมชลประทานร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ (ประสานกับโครงการของกรมอุตุนิยมวิทยา) งบประมาณ 100.0 ล้านบาท กำหนดขอรับจัดสรรในปี 2544 จำนวน 19.5 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 42.0 ล้านบาท และปี 2546 จำนวน 38.5 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ด้านตะวันออกให้แล้วเสร็จใช้งานได้เบื้องต้นก่อนเดือนพฤศจิกายน 2544 และดำเนินการส่วนที่เหลือในปีต่อไปท โครงการเตือนอุทกภัยลุ่มน้ำอู่ตะเภาของกรมอุตุนิยมวิทยา งบประมาณ 19.0 ล้านบาท กำหนดรับจัดสรรปี 2544
2) แผนป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมตัวเมืองหาดใหญ่
- การปรับปรุงและก่อสร้างระบบป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมเมืองและการระบายน้ำขังในตัวเมืองหาดใหญ่ ดำเนินการโดย เทศบาลนครหาดใหญ่ งบประมาณ 177.4 ล้านบาท
3) แผนปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่กีดขวางทางระบายน้ำ โดยกรมทางหลวง กรมโยธาธิการ กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย งบประมาณ 95.4 ล้านบาท โดยได้รับจัดสรรในปี 2544 แล้ว จำนวน8.9 ล้านบาท และจะขอรับจัดสรรเพิ่มเติมในปี 2544 จำนวน 17 ล้านบาท และปี 2545 จำนวน 69.5 ล้านบาท
4) แผนสำรวจข้อมูลและกำหนดมาตรการบังคับใช้ผังเมืองรวม กำหนดรูปแบบการใช้ที่ดิน และการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมการผังเมือง และกรมพัฒนาที่ดิน งบประมาณ 14.0 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรปี 2544 จำนวน 12.3 ล้านบาท ปี 2545 จำนวน 1.7 ล้านบาท
1.2 แผนระยะปานกลาง เป็นแผนงานที่มีกำหนดดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2548 งบประมาณรวม 1,265.6 ล้านบาท โดยขอรับจัดสรรในปี 2545 จำนวน 465.5 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะขอรับจัดสรรในปี 2546 - 2548 ประกอบด้วย
1) แผนสำรวจและออกแบบอ่างเก็บน้ำบนลำน้ำสาขาคลองอู่ตะเภา 6 แห่ง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน งบประมาณ 19.0 ล้านบาท กำหนดดำเนินการปี 2545 - 2548
2) แผนก่อสร้างเสริมประสิทธิภาพระบบป้องกันน้ำท่วมและน้ำท่วมขังในเมือง ดำเนินการโดยเทศบาลนครหาดใหญ่ มี 3 แผนงาน งบประมาณ 1,241.1 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี 2545 - 2547
3) แผนปรับปรุงผังเมืองรวมเมืองหาดใหญ่และกำหนดมาตรการบังคับใช้ ดำเนินการโดยกรมการผังเมือง มี 1 โครงการ งบประมาณ 5.5 ล้านบาท กำหนดดำเนินการในปี 2545 - 2546
1.3 แผนระยะยาว เป็นแผนงานที่มีกำหนดดำเนินการระหว่างปีให้แล้วเสร็จภายหลังปี 2548 ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและการฟื้นฟูอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ เพื่อประโยชน์ในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำบางส่วนไว้ไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ตอนล่าง งบประมาณรวม 5,530.1 ล้านบาท ประกอบด้วย
1) แผนจัดหาที่ดินและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ รวม 6 แห่ง บนลำน้ำสาขาของคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมชลประทาน มี 1 แผนงาน งบประมาณ 5,430.0 ล้านบาท
2) แผนปลูกป่าและจัดระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ มี 1 โครงการงบประมาณ 100.1 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณปกติของกรมป่าไม้
2. กลไกการบริหารจัดการ
2.1 จากการประมาณการของภาครัฐและภาคเอกชน ความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีมูลค่าสูงถึง 17,000 ล้านบาท และมีผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง ประกอบกับแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาที่จัดเตรียมขึ้นตามข้อ 1 เป็นแผนงานระยะยาวขนาดใหญ่ที่มีลักษณะผสมผสานเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งในระหว่างการก่อสร้างยังมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องโยกย้ายประชาชนประมาณ 1,700 ครอบครัว หรือ 5,400 คน ทั้งจากการโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ก่อสร้างคลองระบายสายใหม่จำนวน 120 ครอบครัว หรือ 400 คน และการโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง จำนวน 1,580 ครอบครัว หรือ 5,000 คน จึงให้พิจารณากำหนดรูปแบบการบริหารงาน โดยใช้กลไกคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำลังเสนอพิจารณาปรับปรุงโดยยุบรวมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เข้าด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางและบริหารแผนงานในภาพรวมได้อย่างมีเอกภาพคล้ายคลึงกับกลไกการพัฒนาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และให้คณะกรรมการชุดอื่น ๆ ที่มีอยู่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเช่นเดิม แต่ปรับเพิ่มภารกิจในการประสานงานกับคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะนี้ พร้อมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับปฏิบัติและระดับพื้นที่เพื่อช่วยปฏิบัติงานให้เกิดความชัดเจนในทุกขั้นตอน และบังเกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว มีประสิทธิภาพ รวม 6 ชุด ประกอบด้วย
- คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับมวลชน จัดทำแนวนโยบายและแผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจกับมวลชนในพื้นที่โครงการ
- คณะอนุกรรมการจัดหาที่ดิน พิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณด้านการจัดหาที่ดินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ
- คณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการก่อสร้าง จัดทำแผนปฏิบัติการทั้งแผนงานและแผนการเงินแบบผสมผสาน และประสานการปฏิบัติตามแผน
- คณะอนุกรรมการประสานการจัดระเบียบผังเมือง ปรับปรุงผังเมืองรวมหาดใหญ่ เสนอแนะแผนการใช้ที่ดิน และกำหนดวิธีการควบคุมบังคับใช้ผังเมืองรวมและแผนการใช้ที่ดินที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ของพื้นที่
- คณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและจัดที่ทำกินสำหรับผู้อพยพ จัดทำแผนปฏิบัติการและงบประมาณ เพื่อการจัดตั้งถิ่นฐานและส่งเสริมอาชีพผู้ต้องโยกย้ายถิ่นจากการก่อสร้างของโครงการ
- คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ผู้แทนจาก 3 ฝ่าย คือ ภาคราชการ ภาควิชาการ มหาวิทยาลัย และภาคประชาชนและองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่
2.2 ให้ปรับปรุงรูปแบบกลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติหรืออุบัติภัยที่เกิดขึ้น ให้มีเอกภาพในการตัดสินใจ และสั่งการแบบครบวงจร ทั้งด้านการเตือนภัยก่อนเกิดเหตุการณ์ การปฏิบัติตามแผนกู้ภัยระหว่างเกิดเหตุการณ์และการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์สงบ ให้มีความสอดคล้องผสมผสานกันระหว่างหน่วยปฏิบัติที่มาจากหลายกระทรวง ทบวง กรม และภาคเอกชน
2.3 การดำเนินงานตามแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา จำเป็นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงและส่วนใหญ่เป็นงานโยธา ซึ่งภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง และภาครัฐมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้จ่ายงบประมาณ จึงให้พิจารณาแนวทางเผื่อเลือกระหว่างการใช้แรงงานคนกับการใช้เครื่องจักรกล เพื่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ในการก่อสร้างแต่ละโครงการ ทั้งนี้ โดยให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมของระยะเวลาที่จะต้องสอดคล้องกับฤดูกาลและโครงการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้สำนักงบประมาณประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการตามความจำเป็นเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 24 เม.ย.2544
-สส-