ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในชั้นสอบสวน ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในคดีที่ผู้ต้องหาที่อายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้โดยแจ้งไปยังนายกสภาทนายความสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือประธานทนายความจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่น
2. การแจ้งให้จัดหาทนายความให้ทำเป็นหนังสือโดยกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะถามคำให้การ แต่ในกรณีเร่งด่วนจะแจ้งทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นก็ได้ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกการแจ้งไว้
3. พนักงานสอบสวนต้องเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวได้
4. ทนายความที่เข้าฟังการถามคำให้การไม่มีหน้าที่ตอบคำถามแทนผู้ต้องหา เว้นแต่คำถามนั้นไม่ชัดเจนอาจทักท้วงให้พนักงานสอบสวนอธิบายเพิ่มเติมได้ หรือหากเก็นว่าคำถามไม่ชอบด้วยเหตุใด ๆ อาจคัดค้านหรือทักท้วงได้
5. ผู้ต้องหาอาจตั้งรังเกียจทนายความที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนทนายความให้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้กับผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในชั้นสอบสวน ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในคดีที่ผู้ต้องหาที่อายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้โดยแจ้งไปยังนายกสภาทนายความสำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือประธานทนายความจังหวัดสำหรับจังหวัดอื่น
2. การแจ้งให้จัดหาทนายความให้ทำเป็นหนังสือโดยกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะถามคำให้การ แต่ในกรณีเร่งด่วนจะแจ้งทางโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารอื่นก็ได้ แต่พนักงานสอบสวนต้องบันทึกการแจ้งไว้
3. พนักงานสอบสวนต้องเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัวได้
4. ทนายความที่เข้าฟังการถามคำให้การไม่มีหน้าที่ตอบคำถามแทนผู้ต้องหา เว้นแต่คำถามนั้นไม่ชัดเจนอาจทักท้วงให้พนักงานสอบสวนอธิบายเพิ่มเติมได้ หรือหากเก็นว่าคำถามไม่ชอบด้วยเหตุใด ๆ อาจคัดค้านหรือทักท้วงได้
5. ผู้ต้องหาอาจตั้งรังเกียจทนายความที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนทนายความให้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-