ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ขอความร่วมมือจากผู้นำองค์กรภาคเอกชน 3 สถาบัน และผู้แทน กรอ. เข้าร่วมประชุมระดมความเห็น เรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)" สำหรับรูปแบบการระดมความเห็นเป็นการประชุมระดมความเห็นจากกลุ่มเป้าหมายภาคเอกชนโดยเฉพาะ เกี่ยวกับทิศทาง แนวคิด วิสัยทัศน์ ในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนบทบาทของภาครัฐและบทบาทของภาคเอกชนในกระบวนการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549 การประชุมระดมความเห็นจะเป็นการประชุมครึ่งวัน ผู้เข้าประชุมจะประกอบด้วยผู้แทนของ กรอ. จากภาคเอกชน 3 สถาบัน และภาคเอกชนอื่น ๆ รวม 60 คน ซึ่งคาดว่าจะจัดการประชุมที่กรุงเทพมหานคร ประมาณสัปดาห์สุดท้ายเดือนมีนาคม 2543
กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ
1. ขั้นกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมไทยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ โดยคำนึงถึงความหลากหลายของท้องถิ่นและภูมิภาคเพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบระดับชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมไทย
2. ขั้นยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์หลักในขั้นรายละเอียดและประสานแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามกรอบของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. ขั้นอนุมัติแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นกระบวนการอนุมัติเพื่อประกาศใช้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และประสานการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังให้มีการรับฟังและระดมความเห็นจากองค์กรธุรกิจและภาคเอกชนเพิ่มเติมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ขอความร่วมมือจากผู้นำองค์กรภาคเอกชน 3 สถาบัน และผู้แทน กรอ. เข้าร่วมประชุมระดมความเห็น เรื่อง "กรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)" สำหรับรูปแบบการระดมความเห็นเป็นการประชุมระดมความเห็นจากกลุ่มเป้าหมายภาคเอกชนโดยเฉพาะ เกี่ยวกับทิศทาง แนวคิด วิสัยทัศน์ ในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนบทบาทของภาครัฐและบทบาทของภาคเอกชนในกระบวนการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549 การประชุมระดมความเห็นจะเป็นการประชุมครึ่งวัน ผู้เข้าประชุมจะประกอบด้วยผู้แทนของ กรอ. จากภาคเอกชน 3 สถาบัน และภาคเอกชนอื่น ๆ รวม 60 คน ซึ่งคาดว่าจะจัดการประชุมที่กรุงเทพมหานคร ประมาณสัปดาห์สุดท้ายเดือนมีนาคม 2543
กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ
1. ขั้นกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมไทยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ โดยคำนึงถึงความหลากหลายของท้องถิ่นและภูมิภาคเพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบระดับชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคมไทย
2. ขั้นยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นการวางแผนยุทธศาสตร์หลักในขั้นรายละเอียดและประสานแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามกรอบของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. ขั้นอนุมัติแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เป็นกระบวนการอนุมัติเพื่อประกาศใช้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และประสานการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังให้มีการรับฟังและระดมความเห็นจากองค์กรธุรกิจและภาคเอกชนเพิ่มเติมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--