ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระหว่างประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยแยกงานบังคับคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 5 (ข) บางส่วน และ (ฉ) เดิม ไปบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 5 ทวิ
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1 (14) ความหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดี และแก้ไขเพิ่มเติมโดยตัดข้อความส่วนท้าย "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล" ของมาตรา 276 วรรคสามออก
3. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยได้ตัดข้อความในมาตรา 139 วรรคสาม"เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล" ออก และยกเลิกความในมาตรา 151 กรณีที่กำหนดให้ศาลสอดส่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งระหว่างประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยแยกงานบังคับคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามมาตรา 5 (ข) บางส่วน และ (ฉ) เดิม ไปบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 5 ทวิ
2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 1 (14) ความหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดี และแก้ไขเพิ่มเติมโดยตัดข้อความส่วนท้าย "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล" ของมาตรา 276 วรรคสามออก
3. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยได้ตัดข้อความในมาตรา 139 วรรคสาม"เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล" ออก และยกเลิกความในมาตรา 151 กรณีที่กำหนดให้ศาลสอดส่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-