ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการสำคัญคือปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น แต่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา เพื่อการบริการวิชาการจะได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 วันที่ 10 มีนาคม 2541 วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 วันที่ 12 ตุลาคม 2542 และวันที่ 26 กันยายน 2543 รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลภายในปี 2545
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐบาล
2. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
3. มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สิน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรือบริจาคให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้
6. สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
7. อธิการบดี คณบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
8. ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปีโดยผู้ประเมินอิสระ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
9. มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัย โดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและให้มีการประเมินอีกทุกห้าปีหรือเร็วกว่านั้นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
10. ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป แต่ต้องแสดงความจำนงภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของทางราชการต่อไป หรือจะสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยหากประสงค์จะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต่อไป ให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัยโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง ถ้าตำแหน่งใดว่างลงให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น และให้เงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้างที่ตั้งไว้สำหรับตำแหน่งนั้นตกเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย ผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่ง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
11. เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ถือว่าข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งสมัคร หรือถือว่าสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. …. ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการสำคัญคือปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น แต่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา เพื่อการบริการวิชาการจะได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 วันที่ 10 มีนาคม 2541 วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 วันที่ 12 ตุลาคม 2542 และวันที่ 26 กันยายน 2543 รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลภายในปี 2545
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนสถานภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นส่วนราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐบาล
2. กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินค่าทดแทน
3. มหาวิทยาลัยสามารถถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ทุกประเภททั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์โดยสามารถซื้อ สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนและจำหน่ายทรัพย์สิน ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรือบริจาคให้ การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยที่ได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาจากการให้หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยหรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย
4. รัฐบาลต้องจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปให้แก่มหาวิทยาลัยโดยตรงเป็นรายปีในจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการของมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
5. ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้
6. สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะสิ้นสุดที่สภามหาวิทยาลัยทั้งด้านบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการ องค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
7. อธิการบดี คณบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
8. ให้มีการประเมินคุณภาพของส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยทุกสี่ปีโดยผู้ประเมินอิสระ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย
9. มหาวิทยาลัยต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาและการวิจัย โดยต้องจัดให้มีการประเมินหลักสูตรเมื่อครบหนึ่งปีหลังจากครบกำหนดเวลาการศึกษาตามหลักสูตรใด โดยผู้ประเมินอิสระซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยและให้มีการประเมินอีกทุกห้าปีหรือเร็วกว่านั้นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
10. ข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ยังคงเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการต่อไป แต่ต้องแสดงความจำนงภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ ว่าประสงค์จะเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของทางราชการต่อไป หรือจะสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยหากประสงค์จะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างต่อไป ให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างผ่านมหาวิทยาลัยโดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง ถ้าตำแหน่งใดว่างลงให้ยุบเลิกตำแหน่งนั้น และให้เงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนและค่าจ้างที่ตั้งไว้สำหรับตำแหน่งนั้นตกเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย ผู้สมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับสิทธิประโยชน์ต่ง ๆ ไม่น้อยกว่าที่เคยรับอยู่
11. เพื่อประโยชน์แห่งการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้ถือว่าข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งสมัคร หรือถือว่าสมัครเข้าเป็นผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-