ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เรื่อง มาตรการป้องกันการซื้อขายเด็ก
2. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521
- เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ การตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอหนังสือเดินทาง
- เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจัดหาเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมคนต่างด้าว
ทั้งนี้ เพื่อยุบเลิกภารกิจการตรวจสอบการออกหนังสือเดินทางให้แก่เด็กและสตรีที่กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับมอบหมายตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแจ้งว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 30 พฤษภาคม 2521, 15 มิถุนายน 2525 และ 30 ธันวาคม 2540 เกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือเดินทางให้แก่เด็กและสตรีแล้ว มีผลสรุปได้ ดังนี้
1. งานตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็ก
- เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เรื่อง มาตรการป้องกันการซื้อขายเด็ก เนื่องจากในขณะนั้นมีการซื้อขายเด็กเพื่อไปเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงมอบให้กรมประชาสงเคราะห์สอบข้อเท็จจริง กรณีมีการขอหนังสือเดินทางให้แก่เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปีบริบูรณ์ ก่อนเสนอต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศ
- ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 ในการลดขั้นตอนการออกหนังสือเดินทางโดยให้ถือปฏิบัติว่า เด็กอายุแรกเกิดถึง 14 ปีบริบูรณ์ ให้ผ่านการตรวจสอบจากกรมประชาสงเคราะห์ ยกเว้นบุตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เด็กที่บิดามารดายินยอมร่วมกันในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรส่งกรมประชาสงเคราะห์พิจารณา จากมติดังกล่าวทำให้จำนวนผู้ขอหนังสือเดินทางลดลงเรื่อย ๆ
- ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก และการป้องกันการค้าเด็กในรูปของรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฉะนั้น การตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็ก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 จึงไม่มีความจำเป็น ประกอบกับวิธีการดังกล่าวซ้ำซ้อนกับการปฏิบัติงานของกระทรวงการต่างประเทศ
2. งานตรวจสอบหนังสือเดินทางสตรี
เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ โดยกรมประชาสงเคราะห์มีหน้าที่ในการตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอหนังสือเดินทางของสตรี อายุระหว่าง 14 - 36 ปี ซึ่งแต่เดิมจะประสานกับกรมตำรวจ ต่อมาในระยะหลังแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบหนังสือเดินทางในส่วนกลาง กระทรวงการต่างประเทศจะส่งเรื่องให้กรมประชาสงเคราะห์พิจารณาโดยตรง เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกหนังสือเดินทาง ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานเฉพาะกรณีสตรีที่สงสัยว่าจะเดินทางไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียในต่างประเทศ มิได้ครอบคลุมสตรีที่ขอหนังสือเดินทางทุกราย ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา สถิติการส่งเรื่องการขอหนังสือเดินทางของสตรีจากกระทรวงการต่างประเทศให้กรมประชาสงเคราะห์พิจารณามีน้อยลงตามลำดับ
จากเหตุผลดังกล่าวประกอบกับแนวทางของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้นำเสนอแผนปฏิบัติการตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนการปรับบทบาทและภารกิจในส่วนของการยุบเลิก งานตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็กและสตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เรื่อง มาตรการป้องกันการซื้อขายเด็ก
2. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521
- เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ การตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอหนังสือเดินทาง
- เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการจัดหาเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรมคนต่างด้าว
ทั้งนี้ เพื่อยุบเลิกภารกิจการตรวจสอบการออกหนังสือเดินทางให้แก่เด็กและสตรีที่กรมประชาสงเคราะห์กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับมอบหมายตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแจ้งว่า ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 30 พฤษภาคม 2521, 15 มิถุนายน 2525 และ 30 ธันวาคม 2540 เกี่ยวกับประเด็นการออกหนังสือเดินทางให้แก่เด็กและสตรีแล้ว มีผลสรุปได้ ดังนี้
1. งานตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็ก
- เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 เรื่อง มาตรการป้องกันการซื้อขายเด็ก เนื่องจากในขณะนั้นมีการซื้อขายเด็กเพื่อไปเป็นบุตรบุญธรรมของชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงมอบให้กรมประชาสงเคราะห์สอบข้อเท็จจริง กรณีมีการขอหนังสือเดินทางให้แก่เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปีบริบูรณ์ ก่อนเสนอต่อไปยังกระทรวงการต่างประเทศ
- ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 ในการลดขั้นตอนการออกหนังสือเดินทางโดยให้ถือปฏิบัติว่า เด็กอายุแรกเกิดถึง 14 ปีบริบูรณ์ ให้ผ่านการตรวจสอบจากกรมประชาสงเคราะห์ ยกเว้นบุตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เด็กที่บิดามารดายินยอมร่วมกันในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเห็นสมควรส่งกรมประชาสงเคราะห์พิจารณา จากมติดังกล่าวทำให้จำนวนผู้ขอหนังสือเดินทางลดลงเรื่อย ๆ
- ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก และการป้องกันการค้าเด็กในรูปของรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฉะนั้น การตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็ก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2520 จึงไม่มีความจำเป็น ประกอบกับวิธีการดังกล่าวซ้ำซ้อนกับการปฏิบัติงานของกระทรวงการต่างประเทศ
2. งานตรวจสอบหนังสือเดินทางสตรี
เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแสวงหาประโยชน์จากหญิงไทยที่ไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียศีลธรรมในต่างประเทศ โดยกรมประชาสงเคราะห์มีหน้าที่ในการตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอหนังสือเดินทางของสตรี อายุระหว่าง 14 - 36 ปี ซึ่งแต่เดิมจะประสานกับกรมตำรวจ ต่อมาในระยะหลังแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบหนังสือเดินทางในส่วนกลาง กระทรวงการต่างประเทศจะส่งเรื่องให้กรมประชาสงเคราะห์พิจารณาโดยตรง เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกหนังสือเดินทาง ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานเฉพาะกรณีสตรีที่สงสัยว่าจะเดินทางไปประกอบอาชีพอันเสื่อมเสียในต่างประเทศ มิได้ครอบคลุมสตรีที่ขอหนังสือเดินทางทุกราย ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา สถิติการส่งเรื่องการขอหนังสือเดินทางของสตรีจากกระทรวงการต่างประเทศให้กรมประชาสงเคราะห์พิจารณามีน้อยลงตามลำดับ
จากเหตุผลดังกล่าวประกอบกับแนวทางของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจึงได้นำเสนอแผนปฏิบัติการตามมาตรการปรับภาคราชการในสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนการปรับบทบาทและภารกิจในส่วนของการยุบเลิก งานตรวจสอบหนังสือเดินทางเด็กและสตรีดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-