ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
23. เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านปี 2543
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านปี 2543 ครั้งที่ 2543 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. การจ้างบัณฑิตอาสา โครงการจ้างบัณฑิตอาสาฯ ปี 2543 ได้รับอนุมัติให้จ้างบัณฑิตอาสา จำนวน 10,543 คน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบันมีบัณฑิตอาสาปฏบัติงาน จำนวน 10,404 คน (ร้อยละ 98.68) และรอการบรรจุบัณฑิตใหม่ จำนวน 139 คน
2. ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสา ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสา ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2543 ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สรุปได้ดังนี้
ภารกิจที่ 1 การสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านให้เป็นองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง โดยดำเนินการกระตุ้นให้ราษฎรในหมู่บ้านเล็งเห็นความสำคัญของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม อาทิ การจัดหางาน การฝึกอาชีพ การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส โดยผ่านคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
นอกจากนี้บัณฑิตอาสาได้ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยผ่านศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 173,374 คน คิดเป็นเงินที่ได้รับการช่วยเหลือ 111,100,958 บาท จากผลการปฏิบัติงานดังกล่าวจังหวัดได้ดำเนินการประเมินผลการจัดระดับชั้นของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านใน 31 จังหวัด รวม 25,702 ศูนย์ ปรากฏผลดังนี้ ศูนย์ชั้นที่ 1 (ดีเด่น) 3,017 ศูนย์ (ร้อยละ 11.74) ศูนย์ชั้นที่ 2 (ดี) 4,705 ศูนย์ (ร้อยละ 18.31) ศูนย์ชั้นที่ 3 (ปานกลาง) 7,114 ศูนย์ (ร้อยละ 27.68) ศูนย์ชั้นที่ 4 (น้อย) 6,566 ศูนย์ (ร้อยละ 25.55) ศูนย์ชั้นที่ 5 (น้อยที่สุด) 4,300 ศูนย์ (ร้อยละ 16.73) ซึ่งกระทรวงแรงงานฯ จะได้เร่งรัดการพัฒนาศูนย์ชั้นที่ 5,4 และ 3 ให้ดีขึ้น
ภารกิจที่ 2 การกระตุ้นให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นำข้อมูลทะเบียนผู้ประสบปัญหาด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม (ทรส.) และข้อมูลส่งเสริมสวัสดิการสังคมระดับครัวเรือน (สสค.) ไปประกอบการจัดทำแผนด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม ปรากฎว่ามีกิจกรรมด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับการบรรจุในแผนองค์การบริหารส่วนตำบล ปี 2544 จำนวน 2,923 เรื่อง จาก 4,952 ศูนย์ (1,082 อบต.) บรรจุในแผนความต้องการจังหวัดปี 2545 จำนวน 2,074 เรื่อง จาก 5,941 ศูนย์ (1,015 อบต.) บรรจุในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) จำนวน 2,457 เรื่อง จาก 4,741 ศูนย์ (1,094 อบต.)
ภารกิจที่ 3 การสนับสนุนการให้ความรู้ด้านกีฬา และพิษภัยของสิ่งเสพติด บัณฑิตอาสาได้ร่วมรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และจัดงานเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดให้แก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวม 26,488 ครั้ง ใน 19,739 ศูนย์ รวมทั้งร่วมรณรงค์หรือสนับสนุนการกีฬา เพื่อต่อต้านยาเสพติดแก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวม 18,894 ครั้ง ใน 13,927 ศูนย์
ภารกิจที่ 4 การเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ บัณฑิตอาสาได้ร่วมเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญแก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านรวม 32,477 ครั้ง ใน 23,563 ศูนย์
ภารกิจที่ 5 นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวบัณฑิตอาสาได้ดำเนินการติดตามผลโครงการลงทุนเพื่อสังคมปี 2542 รวม 2,257 โครงการ และให้การสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการรวม 1,610 โครงการ ตลอดจนช่วยเหลือสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในการจัดทำโครงการปี 2543 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนลงทุนเพื่อสังคม (SIF) จำนวน 2,286 โครงการ
แนวทางแก้ไข
1. กระทรวงแรงงานฯ มีแผนงานที่จะจัดการประชุมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อชี้แจงให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การแก้ไขปัญหาความยากจนที่จะมีผลสะท้อนมาถึงการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในเรื่องงบประมาณบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนชี้แจงภารกิจของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่สามารถช่วยองค์การบริหารส่วนตำบลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ได้
2. กระทรวงแรงงานฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานโดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ศักยภาพของท้องถิ่นที่มีความเอื้ออาทรมีประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือจากส่วนราชการอื่น ๆ ที่มีการดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน และเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชนเป็นสำคัญ
3. การเบิกจ่ายเงินโครงการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้เบิกจ่ายเงินโครงการฯ ไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย งวดที่ 1 และงวดที่ 2 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2543 รวม 476.68 ล้านบาทโดยเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนกลาง 2.39 ล้านบาท และในส่วนภูมิภาค 474.29 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
23. เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านปี 2543
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านปี 2543 ครั้งที่ 2543 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. การจ้างบัณฑิตอาสา โครงการจ้างบัณฑิตอาสาฯ ปี 2543 ได้รับอนุมัติให้จ้างบัณฑิตอาสา จำนวน 10,543 คน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบันมีบัณฑิตอาสาปฏบัติงาน จำนวน 10,404 คน (ร้อยละ 98.68) และรอการบรรจุบัณฑิตใหม่ จำนวน 139 คน
2. ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสา ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอาสา ตั้งแต่เริ่มโครงการเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2543 ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สรุปได้ดังนี้
ภารกิจที่ 1 การสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านให้เป็นองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง โดยดำเนินการกระตุ้นให้ราษฎรในหมู่บ้านเล็งเห็นความสำคัญของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ที่สามารถช่วยเหลือประชาชนด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม อาทิ การจัดหางาน การฝึกอาชีพ การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส โดยผ่านคณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
นอกจากนี้บัณฑิตอาสาได้ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยผ่านศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 173,374 คน คิดเป็นเงินที่ได้รับการช่วยเหลือ 111,100,958 บาท จากผลการปฏิบัติงานดังกล่าวจังหวัดได้ดำเนินการประเมินผลการจัดระดับชั้นของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านใน 31 จังหวัด รวม 25,702 ศูนย์ ปรากฏผลดังนี้ ศูนย์ชั้นที่ 1 (ดีเด่น) 3,017 ศูนย์ (ร้อยละ 11.74) ศูนย์ชั้นที่ 2 (ดี) 4,705 ศูนย์ (ร้อยละ 18.31) ศูนย์ชั้นที่ 3 (ปานกลาง) 7,114 ศูนย์ (ร้อยละ 27.68) ศูนย์ชั้นที่ 4 (น้อย) 6,566 ศูนย์ (ร้อยละ 25.55) ศูนย์ชั้นที่ 5 (น้อยที่สุด) 4,300 ศูนย์ (ร้อยละ 16.73) ซึ่งกระทรวงแรงงานฯ จะได้เร่งรัดการพัฒนาศูนย์ชั้นที่ 5,4 และ 3 ให้ดีขึ้น
ภารกิจที่ 2 การกระตุ้นให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นำข้อมูลทะเบียนผู้ประสบปัญหาด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม (ทรส.) และข้อมูลส่งเสริมสวัสดิการสังคมระดับครัวเรือน (สสค.) ไปประกอบการจัดทำแผนด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม ปรากฎว่ามีกิจกรรมด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมได้รับการบรรจุในแผนองค์การบริหารส่วนตำบล ปี 2544 จำนวน 2,923 เรื่อง จาก 4,952 ศูนย์ (1,082 อบต.) บรรจุในแผนความต้องการจังหวัดปี 2545 จำนวน 2,074 เรื่อง จาก 5,941 ศูนย์ (1,015 อบต.) บรรจุในแผนพัฒนาตำบล 5 ปี (พ.ศ.2545-2549) จำนวน 2,457 เรื่อง จาก 4,741 ศูนย์ (1,094 อบต.)
ภารกิจที่ 3 การสนับสนุนการให้ความรู้ด้านกีฬา และพิษภัยของสิ่งเสพติด บัณฑิตอาสาได้ร่วมรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และจัดงานเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติดให้แก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวม 26,488 ครั้ง ใน 19,739 ศูนย์ รวมทั้งร่วมรณรงค์หรือสนับสนุนการกีฬา เพื่อต่อต้านยาเสพติดแก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน รวม 18,894 ครั้ง ใน 13,927 ศูนย์
ภารกิจที่ 4 การเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ บัณฑิตอาสาได้ร่วมเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญแก่ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านรวม 32,477 ครั้ง ใน 23,563 ศูนย์
ภารกิจที่ 5 นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวบัณฑิตอาสาได้ดำเนินการติดตามผลโครงการลงทุนเพื่อสังคมปี 2542 รวม 2,257 โครงการ และให้การสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการรวม 1,610 โครงการ ตลอดจนช่วยเหลือสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ในการจัดทำโครงการปี 2543 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนลงทุนเพื่อสังคม (SIF) จำนวน 2,286 โครงการ
แนวทางแก้ไข
1. กระทรวงแรงงานฯ มีแผนงานที่จะจัดการประชุมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อชี้แจงให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การแก้ไขปัญหาความยากจนที่จะมีผลสะท้อนมาถึงการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในเรื่องงบประมาณบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนชี้แจงภารกิจของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่สามารถช่วยองค์การบริหารส่วนตำบลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ได้
2. กระทรวงแรงงานฯ ได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานโดยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ศักยภาพของท้องถิ่นที่มีความเอื้ออาทรมีประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือจากส่วนราชการอื่น ๆ ที่มีการดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน และเน้นการพึ่งพาตนเองของชุมชนเป็นสำคัญ
3. การเบิกจ่ายเงินโครงการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้เบิกจ่ายเงินโครงการฯ ไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย งวดที่ 1 และงวดที่ 2 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม 2543 รวม 476.68 ล้านบาทโดยเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนกลาง 2.39 ล้านบาท และในส่วนภูมิภาค 474.29 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-