แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
พระราชกำหนด
ทำเนียบรัฐบาล--12 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า เนื่องจากการบัญญัติบทบัญญัติเพื่อปราบปรามการประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีลักษณะใกล้เคียงกับมาตรการปราบปรามการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน จึงเห็นควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการตราและบังคับใช้กฎหมายที่มีลักษณะกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้อำนาจไว้ ตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50
2. แก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 เพื่อให้ครอบคลุมพฤติการณ์การกระทำผิดในลักษณะกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวทางในการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดฉบับนี้
4. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อให้อำนาจแก่พนักงานอัยการในการร้องขอต่อศาลให้สั่งจ่ายเงินรางวัลในการจับกุมผู้กระทำผิด แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้จับ
5. เพิ่มเติมบทสันนิษฐานให้ลูกจ้างหรือพนักงาน และเจ้าของหรือผู้อนุญาตให้ใช้สถานที่ในการกระทำผิดตามพระราชกำหนดฉบับนี้ เป็นผู้ร่วมกระทำผิด
6. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพิ่มโทษในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ รวมถึงให้นำกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศมาใช้บังคับสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นคนต่างด้าว
สำหรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมมาตรา 11 ทวิ มีดังนี้
1. การกำหนดให้จ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้จับ นั้น เห็นว่าน่าจะให้รวมถึงประชาชนผู้ชี้เบาะแสในการนำจับด้วยเพื่อให้การปราบปรามมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. การกำหนดว่า "เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งจ่ายเงินรางวัล …" อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติเพราะเป็นการให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะร้องขอหรือไม่ร้องขอก็ได้ และอาจเป็นปัญหาต่อไปอีกว่ากรณีใดจะร้องขอหรือกรณีใดจะไม่ร้องขอ ซึ่งยังไม่ชัดเจน ฉะนั้น หากจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการร้องขอหรือการสั่งจ่ายเงินรางวัลไว้ด้วยในร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือในกฎหมายลำดับรอง เพื่อให้มีกรอบที่ชัดเจนขึ้นจะเหมาะสมกว่าหรือไม่
3. จะเป็นการสมควรหรือไม่หากจะบัญญัติให้ชัดเจนว่า กรณีตามร่างมาตรานี้หมายถึงกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว หรือผู้กระทำความผิดได้ชำระเงินค่าปรับแล้วเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า เนื่องจากการบัญญัติบทบัญญัติเพื่อปราบปรามการประกอบธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีลักษณะใกล้เคียงกับมาตรการปราบปรามการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน จึงเห็นควรดำเนินการแก้ไขกฎหมายการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการตราและบังคับใช้กฎหมายที่มีลักษณะกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้อำนาจไว้ ตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50
2. แก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 เพื่อให้ครอบคลุมพฤติการณ์การกระทำผิดในลักษณะกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหลอกลวงให้ลงทุนในธุรกิจซื้อขายเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวทางในการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนจากการให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดฉบับนี้
4. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อให้อำนาจแก่พนักงานอัยการในการร้องขอต่อศาลให้สั่งจ่ายเงินรางวัลในการจับกุมผู้กระทำผิด แก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้จับ
5. เพิ่มเติมบทสันนิษฐานให้ลูกจ้างหรือพนักงาน และเจ้าของหรือผู้อนุญาตให้ใช้สถานที่ในการกระทำผิดตามพระราชกำหนดฉบับนี้ เป็นผู้ร่วมกระทำผิด
6. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพิ่มโทษในกรณีที่กระทำความผิดซ้ำ รวมถึงให้นำกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศมาใช้บังคับสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นคนต่างด้าว
สำหรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามร่างมาตรา 5 เพิ่มเติมมาตรา 11 ทวิ มีดังนี้
1. การกำหนดให้จ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้จับ นั้น เห็นว่าน่าจะให้รวมถึงประชาชนผู้ชี้เบาะแสในการนำจับด้วยเพื่อให้การปราบปรามมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. การกำหนดว่า "เมื่อพนักงานอัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งจ่ายเงินรางวัล …" อาจทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติเพราะเป็นการให้อำนาจพนักงานอัยการที่จะร้องขอหรือไม่ร้องขอก็ได้ และอาจเป็นปัญหาต่อไปอีกว่ากรณีใดจะร้องขอหรือกรณีใดจะไม่ร้องขอ ซึ่งยังไม่ชัดเจน ฉะนั้น หากจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการร้องขอหรือการสั่งจ่ายเงินรางวัลไว้ด้วยในร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือในกฎหมายลำดับรอง เพื่อให้มีกรอบที่ชัดเจนขึ้นจะเหมาะสมกว่าหรือไม่
3. จะเป็นการสมควรหรือไม่หากจะบัญญัติให้ชัดเจนว่า กรณีตามร่างมาตรานี้หมายถึงกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้ว หรือผู้กระทำความผิดได้ชำระเงินค่าปรับแล้วเท่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ก.ย. 2543--
-สส-