คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานความก้าวหน้ากรณีการเกิดรอยร้าวในอาคารโรงเรียน 4 แห่งที่จังหวัดสตูล ผลการสำรวจในส่วนที่กรมทรัพยากรธรณีดำเนินการเพิ่มเติม มีดังนี้
1. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาโพรงใต้ดินในส่วนใต้อาคารโรงเรียนบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งมีรอยร้าว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนด้านทิศใต้ มีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยู่ลึกประมาณ 12 เมตรจากผิวดิน โพรงใต้ดินดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคารเรียน และอาจมีผลกระทบต่อเนื่องต่ออาคารที่อยู่ถัดไปทางทิศเหนือ ในขณะที่อาคารเรียนทางทิศตะวันตกได้พบรอยร้าวในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถมดินไม่แน่นก่อนการก่อสร้างอาคาร เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว จึงทำให้เสาเข็มในแต่ละจุดทรุดตัวในอัตราที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดรอยร้าวตามตัวอาคาร
2. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารโรงเรียนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ ที่อยู่ใต้อาคารลึกประมาณ 10 เมตรจากผิวดิน โดยมีเพดานเป็นหินแข็งวางปิดทับบนโพรงใต้ดินหนาประมาณ 5-7 เมตร หากมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเพดานโพรงใต้ดินดังกล่าว เกิดการแตกร้าวและยุบตัวได้
3. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล และบ้านของประชาชนที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร ซึ่งเกิดรอยร้าวในอาคารเรียนและอาคารบ้านเรือนเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้อาคารลึกประมาณ 12 เมตรจากผิวดิน โดยมีเพดานเป็นหินแข็งวางปิดทับบนโพรงใต้ดินหนาประมาณ 7 เมตร หากมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเพดานโพรงใต้ดินดังกล่าว เกิดการแตกร้าวและยุบตัวได้
สำหรับกรณีระงับการใช้อาคารโรงเรียนบ้านกาแนะและโรงเรียนบ้านควนนั้น กรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งให้จังหวัดสตูลระงับการใช้อาคารโรงเรียนบ้านกาแนะและโรงเรียนบ้านควนเป็นการถาวร พร้อมทั้งเร่งสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความปลอดภัยจากการยุบตัวของชั้นดิน เพื่อหาสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนถาวรต่อไป นอกจากนั้น กรมทรัพยากรธรณีกำลังเร่งดำเนินการสำรวจในพื้นที่โรงเรียนอื่น ๆ ในเขตจังหวัดสตูล และจังหวัดอื่นที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้เพิ่มเติมอีกต่อไป ส่วนกรณีโรงเรียนบ้านทุ่งและโรงเรียนบ้านตูแตหรำ กรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาสั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ร่วมกันตรวจสอบสภาพความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคารโรงเรียนและบ้านของประชาชน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีอีกครั้งหนึ่ง ในกรณีที่พบว่าไม่ปลอดภัยจะได้ระงับการใช้อาคารเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมประกาศเป็นพื้นที่อันตรายต่อไป ปัจจุบันนักเรียนของทั้งสองโรงเรียนได้ย้ายไปเรียนในมัสยิดหรืออาคารอื่นเป็นการชั่วคราวแล้ว
อนึ่ง กรมทรัพยากรธรณีได้รายงานว่า การประกาศระงับใช้อาคารเรียนทั้ง 4 แห่ง ได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก เพราะการย้ายไปเรียนในสถานที่อื่น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งด้านการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนของนักเรียนและครู กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอย่างเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อหาโพรงใต้ดินในส่วนใต้อาคารโรงเรียนบ้านควน ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งมีรอยร้าว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนด้านทิศใต้ มีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินที่อยู่ลึกประมาณ 12 เมตรจากผิวดิน โพรงใต้ดินดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของอาคารเรียน และอาจมีผลกระทบต่อเนื่องต่ออาคารที่อยู่ถัดไปทางทิศเหนือ ในขณะที่อาคารเรียนทางทิศตะวันตกได้พบรอยร้าวในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถมดินไม่แน่นก่อนการก่อสร้างอาคาร เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว จึงทำให้เสาเข็มในแต่ละจุดทรุดตัวในอัตราที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดรอยร้าวตามตัวอาคาร
2. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารโรงเรียนบ้านทุ่ง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเกิดรอยร้าวเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ ที่อยู่ใต้อาคารลึกประมาณ 10 เมตรจากผิวดิน โดยมีเพดานเป็นหินแข็งวางปิดทับบนโพรงใต้ดินหนาประมาณ 5-7 เมตร หากมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเพดานโพรงใต้ดินดังกล่าว เกิดการแตกร้าวและยุบตัวได้
3. กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจโพรงใต้ดินบริเวณอาคารโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล และบ้านของประชาชนที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร ซึ่งเกิดรอยร้าวในอาคารเรียนและอาคารบ้านเรือนเป็นแนวยาวมากกว่า 10 แนว พบว่ารอยแตกร้าวของอาคารเรียนที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้อาคารลึกประมาณ 12 เมตรจากผิวดิน โดยมีเพดานเป็นหินแข็งวางปิดทับบนโพรงใต้ดินหนาประมาณ 7 เมตร หากมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเพดานโพรงใต้ดินดังกล่าว เกิดการแตกร้าวและยุบตัวได้
สำหรับกรณีระงับการใช้อาคารโรงเรียนบ้านกาแนะและโรงเรียนบ้านควนนั้น กรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งให้จังหวัดสตูลระงับการใช้อาคารโรงเรียนบ้านกาแนะและโรงเรียนบ้านควนเป็นการถาวร พร้อมทั้งเร่งสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความปลอดภัยจากการยุบตัวของชั้นดิน เพื่อหาสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนถาวรต่อไป นอกจากนั้น กรมทรัพยากรธรณีกำลังเร่งดำเนินการสำรวจในพื้นที่โรงเรียนอื่น ๆ ในเขตจังหวัดสตูล และจังหวัดอื่นที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้เพิ่มเติมอีกต่อไป ส่วนกรณีโรงเรียนบ้านทุ่งและโรงเรียนบ้านตูแตหรำ กรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งให้จังหวัดสตูลพิจารณาสั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ร่วมกันตรวจสอบสภาพความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคารโรงเรียนและบ้านของประชาชน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีอีกครั้งหนึ่ง ในกรณีที่พบว่าไม่ปลอดภัยจะได้ระงับการใช้อาคารเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมประกาศเป็นพื้นที่อันตรายต่อไป ปัจจุบันนักเรียนของทั้งสองโรงเรียนได้ย้ายไปเรียนในมัสยิดหรืออาคารอื่นเป็นการชั่วคราวแล้ว
อนึ่ง กรมทรัพยากรธรณีได้รายงานว่า การประกาศระงับใช้อาคารเรียนทั้ง 4 แห่ง ได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก เพราะการย้ายไปเรียนในสถานที่อื่น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งด้านการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนของนักเรียนและครู กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวอย่างเร่งด่วน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--