แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
อสังหาริมทรัพย์
กระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย
ค่าธรรมเนียม
มาตรการภาษี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการภาษีในการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยทั้ง 3 ฉบับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นพร้อมทั้งร่างประกาศฯ ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วของกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาด้วย และให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการร่างประกาศทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไปโดยด่วน
กระทรวงการคลังแจ้งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการให้หักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดและการให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ นั้นกระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับกรมที่ดินแล้ว เห็นสมควรให้เพิ่มเติมมาตรการการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนอกเหนือจากการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. เพิ่มเติมให้ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่ดินอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรืองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดิน
2. เพิ่มเติมให้ลดค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุดจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุด
3. เพิ่มเติมให้มีการลดค่าจดทะเบียนโอนอาคารสำนักงาน โดยอาคารสำนักงานต้องเป็นอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างเป็นอาคารสำนักงานตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร
4. ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดปัจจุบันจากสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2544 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545
การดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการให้หักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดและการให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ เห็นควรให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2542 และลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2543และยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุด ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2542 และลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 และยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยใหม่ กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 3 ฉบับ คือ
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์)
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนและจำนองห้องชุด)
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนอาคารสำนักงาน)
สำหรับผลกระทบในการดำเนินการตามมาตรการภาษีในการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้มีการโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดเพิ่มมากขึ้น ช่วยบรรเทาภาระค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้กู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตลอดจนช่วยลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่จะสูญเสียรายได้ค่าจดทะเบียนการจำนองประมาณ 400 ล้านบาท ค่าจดทะเบียนโอนที่อยู่อาศัยประมาณ 730 ล้านบาท ที่ดินเปล่าประมาณ 100 ล้านบาท และอาคารสำนักงานประมาณ 1,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,230 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
กระทรวงการคลังแจ้งว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการให้หักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดและการให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ นั้นกระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับกรมที่ดินแล้ว เห็นสมควรให้เพิ่มเติมมาตรการการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนอกเหนือจากการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ที่จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. เพิ่มเติมให้ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่ดินอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน หรือที่ดำเนินการจัดสรรที่ดินโดยทางราชการหรืองค์การของรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการจัดสรรที่ดิน
2. เพิ่มเติมให้ลดค่าจดทะเบียนการจำนองห้องชุดจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุด หรือห้องชุดในอาคารชุด
3. เพิ่มเติมให้มีการลดค่าจดทะเบียนโอนอาคารสำนักงาน โดยอาคารสำนักงานต้องเป็นอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างเป็นอาคารสำนักงานตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร
4. ขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดปัจจุบันจากสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2544 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545
การดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับการให้หักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดและการให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ เห็นควรให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2542 และลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2543และยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุด ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2542 และลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 และยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยใหม่ กระทรวงการคลังจึงเสนอร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 3 ฉบับ คือ
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์)
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีสนับสนุนการซื้อขายห้องชุดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนและจำนองห้องชุด)
3. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีสนับสนุนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ลดค่าจดทะเบียนโอนอาคารสำนักงาน)
สำหรับผลกระทบในการดำเนินการตามมาตรการภาษีในการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้มีการโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดเพิ่มมากขึ้น ช่วยบรรเทาภาระค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้กู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ตลอดจนช่วยลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่จะสูญเสียรายได้ค่าจดทะเบียนการจำนองประมาณ 400 ล้านบาท ค่าจดทะเบียนโอนที่อยู่อาศัยประมาณ 730 ล้านบาท ที่ดินเปล่าประมาณ 100 ล้านบาท และอาคารสำนักงานประมาณ 1,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,230 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-