ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้ผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ (จำนวน 215 ไร่) เพื่อทำเหมืองแร่สังกะสี ตามคำขอที่ 1/2541 ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ที่ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการเพื่ออนุญาตประทานบัตรต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอตามที่ได้รับรายงานจากกรมทรัพยากรธรณีว่า
1. บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่สังกะสี ตามคำขอที่1/2541 ที่ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ 246 ไร่ 65 ตารางวา พื้นที่คำขอแปลงนี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สอด โดยจำแนกเป็นเขตป่าเพื่อเศรษฐกิจ และอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 215 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่คำขอ เป็นภูเขาและลาดเขามีความสูง 400 - 650 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันเฉลี่ย 15 - 20 องศา มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณโปร่งและป่าไผ่ ซึ่งผ่านการทำไม้มาแล้ว
2. พื้นที่คำขอดังกล่าวอยู่ติดกับพื้นที่ประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทฯ (จำนวน 4 แปลง) ซึ่งได้เปิดการทำเหมืองแร่สังกะสีอยู่แล้วในปัจจุบัน การขอประทานบัตรครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ทำเหมืองเพื่อผลิตแร่ในพื้นที่คำขอใหม่จำนวนประมาณ 416,000 เมตริกตัน และผลิตแร่บริเวณขอบเหมืองที่ได้รับประทานบัตรไว้เดิมจำนวนประมาณ 510,000 เมตริกตัน (ซึ่งเดิมต้องเหลือทิ้งไว้บริเวณขอบเหมืองเพื่อรักษาเสถียรภาพของบ่อเหมือง) หากบริษัทฯ ไม่สามารถขยายพื้นที่ที่ทำเหมืองออกไปได้จะใช้เวลาการทำเหมืองอีกไม่เกิน 5 ปีก็ต้องหยุดการทำเหมือง หากขยายพื้นที่ทำเหมืองก็จะเป็นการขยายเวลาการทำเหมืองออกไปอีกจากปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี
3. กรมทรัพยากรธรณีได้ตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรแปลงนี้แล้วมีความเห็นว่า พื้นที่คำขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ภูเขาและลาดเขาที่ต่อเนื่องกับประทานบัตรเดิม การทำเหมืองต่อจากประทานบัตรไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน การทำเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทฯ เป็นการทำเหมืองหาบมีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดโดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จากการตรวจสอบปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ห้วยแม่ตาว คุณภาพอากาศและดิน ทัศนียภาพ สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนความเป็นอยู่ที่สงบของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง โดยมีการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำดื่มน้ำใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วให้มีสภาพปลอดภัยและคืนสู่สภาพป่าไม้ นอกจากนี้การทำเหมืองแร่ในบริเวณนี้จะทำให้ได้สินแร่สังกะสีที่อยู่ในพื้นที่คำขอ และในพื้นที่ประทานบัตรบริเวณขอบเหมืองเดิมจำนวนรวมประมาณ 926,000 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท เพื่อใช้ในโรงถลุงแร่สังกะสีของบริษัทฯ ที่จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงถลุงแร่สังกะสีแห่งเดียวของประเทศ หากไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ตามคำขอดังกล่าว จะต้องเหลือแร่สังกะสีทิ้งไว้บริเวณขอบบ่อเหมืองเดิม ประมาณ 510,000 เมตริกตัน ซึ่งไม่สามารถขุดออกเพื่อทำเหมืองได้ เนื่องจากต้องรักษาเสถียรภาพของขอบบ่อเหมืองไว้ อันเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ หากอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวก็จะสามารถทำเหมืองเพื่อผลิตแร่ได้ภายในประเทศ อันเป็นการลดการนำเข้าสินแร่สังกะสี และยังจะมีรายได้จากเงินตราต่างประเทศในการส่งออกโลหะสังกะสีอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้ผ่อนผันการใช้พื้นที่ป่าไม้ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ (จำนวน 215 ไร่) เพื่อทำเหมืองแร่สังกะสี ตามคำขอที่ 1/2541 ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ที่ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการเพื่ออนุญาตประทานบัตรต่อไป
กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอตามที่ได้รับรายงานจากกรมทรัพยากรธรณีว่า
1. บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่สังกะสี ตามคำขอที่1/2541 ที่ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เนื้อที่ 246 ไร่ 65 ตารางวา พื้นที่คำขอแปลงนี้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่สอด โดยจำแนกเป็นเขตป่าเพื่อเศรษฐกิจ และอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 215 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่คำขอ เป็นภูเขาและลาดเขามีความสูง 400 - 650 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความลาดชันเฉลี่ย 15 - 20 องศา มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณโปร่งและป่าไผ่ ซึ่งผ่านการทำไม้มาแล้ว
2. พื้นที่คำขอดังกล่าวอยู่ติดกับพื้นที่ประทานบัตรเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทฯ (จำนวน 4 แปลง) ซึ่งได้เปิดการทำเหมืองแร่สังกะสีอยู่แล้วในปัจจุบัน การขอประทานบัตรครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ทำเหมืองเพื่อผลิตแร่ในพื้นที่คำขอใหม่จำนวนประมาณ 416,000 เมตริกตัน และผลิตแร่บริเวณขอบเหมืองที่ได้รับประทานบัตรไว้เดิมจำนวนประมาณ 510,000 เมตริกตัน (ซึ่งเดิมต้องเหลือทิ้งไว้บริเวณขอบเหมืองเพื่อรักษาเสถียรภาพของบ่อเหมือง) หากบริษัทฯ ไม่สามารถขยายพื้นที่ที่ทำเหมืองออกไปได้จะใช้เวลาการทำเหมืองอีกไม่เกิน 5 ปีก็ต้องหยุดการทำเหมือง หากขยายพื้นที่ทำเหมืองก็จะเป็นการขยายเวลาการทำเหมืองออกไปอีกจากปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี
3. กรมทรัพยากรธรณีได้ตรวจสอบพื้นที่คำขอประทานบัตรแปลงนี้แล้วมีความเห็นว่า พื้นที่คำขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ภูเขาและลาดเขาที่ต่อเนื่องกับประทานบัตรเดิม การทำเหมืองต่อจากประทานบัตรไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน การทำเหมืองแร่สังกะสีของบริษัทฯ เป็นการทำเหมืองหาบมีมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดโดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม จากการตรวจสอบปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบดังกล่าว และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ห้วยแม่ตาว คุณภาพอากาศและดิน ทัศนียภาพ สุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนความเป็นอยู่ที่สงบของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง โดยมีการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำดื่มน้ำใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองแล้วให้มีสภาพปลอดภัยและคืนสู่สภาพป่าไม้ นอกจากนี้การทำเหมืองแร่ในบริเวณนี้จะทำให้ได้สินแร่สังกะสีที่อยู่ในพื้นที่คำขอ และในพื้นที่ประทานบัตรบริเวณขอบเหมืองเดิมจำนวนรวมประมาณ 926,000 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท เพื่อใช้ในโรงถลุงแร่สังกะสีของบริษัทฯ ที่จังหวัดตาก ซึ่งเป็นโรงถลุงแร่สังกะสีแห่งเดียวของประเทศ หากไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ตามคำขอดังกล่าว จะต้องเหลือแร่สังกะสีทิ้งไว้บริเวณขอบบ่อเหมืองเดิม ประมาณ 510,000 เมตริกตัน ซึ่งไม่สามารถขุดออกเพื่อทำเหมืองได้ เนื่องจากต้องรักษาเสถียรภาพของขอบบ่อเหมืองไว้ อันเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ หากอนุมัติให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวก็จะสามารถทำเหมืองเพื่อผลิตแร่ได้ภายในประเทศ อันเป็นการลดการนำเข้าสินแร่สังกะสี และยังจะมีรายได้จากเงินตราต่างประเทศในการส่งออกโลหะสังกะสีอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-